หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ไอทีบนยอดดอย เมื่อธรรมชาติ ต้อง ก้าวพร้อมการท่องเที่ยว
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ไอทีบนยอดดอย เมื่อธรรมชาติ ต้อง ก้าวพร้อมการท่องเที่ยว
ไอทีบนยอดดอย เมื่อธรรมชาติ ต้อง ก้าวพร้อมการท่องเที่ยว
บทความ
 
ไอทีบนยอดดอย เมื่อธรรมชาติ ต้อง ก้าวพร้อมการท่องเที่ยว

เมื่อเมืองทวีความวุ่นวายมากขึ้น คนก็ยิ่งโหยหาและไขว่คว้าธรรมชาติมากเป็นเงาตามตัว ภูผา ป่าไม้ และดอยสูงจึงเป็นเป้าหมายหลักในวันพักผ่อน โดยหวังให้ความสดชื่นของแมกไม้สีเขียวเข้ามาลบเลือนความเหนื่อยล้าที่เผชิญมาตลอดทั้งปี หากในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติย่อมมีความสามารถในการรองรับเพียงระดับหนึ่ง ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างความต้องการในธุรกิจท่องเที่ยวและความเปราะบางของระบบนิเวศจึงเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง

 

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นผืนป่าอีกแห่งหนึ่งที่จำเป็นต้องหาสมดุลของความต้องการทั้งสองส่วน เนื่องจากความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ประกอบกับเป็นจุดสูงสุดของสยามได้ดึงดูดคลื่นนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลขึ้นมาแออัดยัดเยียดรับลมหนาวช่วงเทศกาลปีใหม่อยู่ไม่เว้นแต่ละปี จนน่าเป็นห่วงว่าอาจหนักเกินกว่าที่ธรรมชาติจะรับได้

 

 

ดร.สินธุ์ สโรบล ผู้ประสานงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค กล่าวถึงปัญหาในส่วนนี้ว่า ขีดความสามารถในการรองรับ (CC: Caring Capacity) ของธรรมชาติตามหลักการมักขัดกับความต้องการท่องเที่ยวในความเป็นจริง หากยึดในหลักการก็ไม่ตอบสนองนักท่องเที่ยว แต่ถ้ายึดสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงก็เสี่ยงต่อความเปราะบางทางธรรมชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องหาจุดกึ่งกลางระหว่างสองขั้ว

 

 

ความพยายามดังกล่าวสะท้อนออกมาในรูปโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ (Area based) เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและสนับสนุนการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อย่างยั่งยืน ที่บูรณาการงานวิจัยต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมดึงคุณประโยชน์ด้านไอทีมาเป็นตัวกลางประสานความต้องการของการท่องเที่ยวเข้ากับการรักษาไว้ซึ่งความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ

 

 

นายวิทยา นวปราโมท หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการวางแผนจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หนึ่งในชุดโครงการเครือข่ายและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (ครส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บอกเล่าถึงโครงการนี้ว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการสร้างระบบจัดการข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่ดอยอินทนนท์ ตลอดจนทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงมาช่วยในการศึกษา โดยจะเป็นส่วนที่เข้ามาช่วยคนดูแลทรัพยากรในการบริหารและตัดสินใจ

 

 

หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องระบบภูมิสารสนเทศฯ อธิบายว่า ฐานข้อมูลที่ได้จะเริ่มตั้งแต่ด้านกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เรื่อยไปจนถึงเรื่องของคุณภาพชีวิต โดยเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เชื่อมโยงกับรายละเอียดต่างๆ ก็จะนำไปสู่การบริการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์และใความยั่งยืน  เช่น ใช้ในการวิเคาะห์และตัดสินใจว่าหากจะสร้างทางเดินเข้าไปชมดงกุหลาบพันปีแหล่งใหม่ จะกระทบต่อระบบนิเวศหรือไม่ เพราะต้องผ่านผืนป่าขนาดใหญ่ เป็นต้น

 

 

นอกเหนือจากงานวิจัยในด้านการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกระทบต่อความยั่งยืนน้อยที่สุดในฝั่งของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลและผู้มีอำนาจตัดสินใจในเชิงนโยบายแล้ว การบริหารความต้องการด้านการท่องเที่ยวก็มีความสำคัญไม่ต่างกัน

 

 

นายอิสระ ศิริไสยาสน์ หัวหน้าโครงการวิจัย แนวทางพัฒนาระบบสารสนเทศ (ระบบบริการข้อมูล) เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อีกหนึ่งโครงการบูรณาการงานวิจัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ www.doiinthanon.com ผลงานที่เกิดขึ้นว่า จากปัญหานักท่องเที่ยวแออัดที่ดอยอินทนนท์ประสบมาทุกปี ยกตัวอย่างเช่นตัวเลขเมื่อปลายปี 2548 ซึ่งพบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางขึ้นดอย 105,275 คน สูงกว่าตัวเลขในเดือนเดียวกันของปี 2547 ถึง 69,510 คน โดยปีนี้คาดว่าสถานการณ์จะหนักลงกว่าเก่า เนื่องจากงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และความไม่สงบทางภาคใต้อันจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมามากขึ้น

 

 

ทั้งนี้ ในส่วนของวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนั้น หัวหน้าโครงการวิจัย แนวทางพัฒนาระบบสารสนเทศ กล่าวย้อนถึงวัตถุประสงค์ให้ฟังว่า เป็นการประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนท่องเที่ยว และทำให้การท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศบนดอยน้อยที่สุด โดยข้อมูลที่ให้บริการบนเว็บไซต์จะประกอบด้วย จำนวนนักท่องเที่ยว สภาพอากาศ บ้านพัก สถานการณ์บนดอยอินทนนท์ แผนที่และข้อมูลเชิงวิชาการ รวมถึงบริการถามตอบ ตลอดจนเน้นการให้บริการข้อมูลท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเป็นการกระจายนักท่องเที่ยวไปยังจุดอื่นๆ

 

 

สำหรับความสำเร็จของเว็บไซต์ที่ผ่านมานั้น นายอิสระ ระบุว่า ในปี 2548 มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการถึง 50,000 ราย มียอดใช้สูงสุดราว 3,700 รายในวันที่ 24 ธ.ค. และสำหรับปี 2549 นี้ ได้มีการพัฒนาการให้บริการเพิ่มขึ้น โดยจัดทำรูปแบบที่เหมาะสำหรับระบบ GPRS เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ผ่านทาง www.doiinthanon.com/gprs/i.htm และ www.doiinthanon.com/light/index.html พร้อมเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารออนไลน์ 24 ชั่วโมง ในช่วงที่จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวหนาแน่น ราววันที่ 25 ธ.ค. 2549 5 ม.ค. 2550  นอกจากนี้ ในลำดับต่อไปจะขยายผลโครงการไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ อาทิ ดอยสุเทพ ดอยปุย และห้วยน้ำดังด้วย

 

 

นายชิติพัทธ์ โพธิรักษา ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ในฐาะผู้ที่คลุกคลีกับปัญหาและใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ให้ความคิดเห็นว่า เว็บไซต์จะเป็นช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลว่าสถานการณ์บนดอยอินทนนท์เป็นอย่างไร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้วางแผนล่วงหน้า ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว แต่ปัญหาส่วนใหญ่ก็มักจะมาจากกลุ่มคนที่ไม่มีการวางแผน และคงจะไม่หมดไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่ยังเป็นเช่นนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไปก่อน

 

 

ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เสริมว่า สำหรับประโยชน์ในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีการวางแผนก่อนการท่องเที่ยว เพื่อลดความแออัดบนยอดดอยแล้ว เว็บไซต์ยังทำหน้าที่ในการเผยแพร่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวของชาวบ้านเป็นที่รู้จัก อาทิ ชุมชนแม่กลางหลวง อ่างกาน้อย บ้านผาหมอน บ้านหนองหล่ม ทำให้ชาวบ้านมีทางเดินไปหาลูกค้า ซึ่งผลที่ได้รับอีกประการหนึ่งก็คือช่วยให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ของอุทยานที่เคยอยู่คนละฟากประสานเข้าหากัน

 

 

งานวิจัยที่เกิดขึ้นนี้เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นในการดึงศักยภาพด้านไอทีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการและรักษาสมดุลให้ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติก้าวไปพร้อมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ

 

 

หากความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้คงยากจะไปถึง ถ้าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักท่องเที่ยว และคนในชุมชน ไม่เข้าไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้น สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญเหนือกว่า การเริ่มต้น เพื่อก้าวไปให้ถึงจุดหมาย ก็คือ การสานต่อ นั่นเอง

 

 

ปาจารีย์ พวงศรี
itdigest@thairath.co.th



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี