หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > RFID จุดเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อ อุตสาหกรรม-โลจิสติกส์ไทย
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > RFID จุดเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อ อุตสาหกรรม-โลจิสติกส์ไทย
RFID จุดเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อ อุตสาหกรรม-โลจิสติกส์ไทย
บทความ
 


เป็นที่ทราบกันดีถึงประโยชน์ที่หลากหลาย ของการนำเอาเทคโนโลยี อาร์เอฟไอดี (RFID: Radio Frequency Identification) เข้ามาใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการนำเอาประโยชน์จากคลื่นความถี่มาใช้ทางทหาร และงานด้านความมั่นคง ในช่วง ค.ศ. 1970 ที่รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศูนย์วิจัยแห่งชาติ ลอส อลามอส นำ RFID มาใช้ติดตามวัตถุนิวเคลียร์ให้กับกระทรวงพลังงาน ด้วยนำเอาป้าย (Tag) ติดกับรถบรรทุก และติดเครื่องอ่านไว้ที่ประตูทางเข้า-ออกภายในศูนย์วิจัย และจากนั้นทีมวิจัยของลอส อลามอสก็ได้แยกตัวมาเปิดบริษัท และนำไปสู่การพัฒนาระบบเก็บค่าทางด่วนอัตโนมัติในเวลาต่อมา

 

 

 ด้วยประโยชน์จากการใช้คลื่นความถี่ที่หลากหลาย ได้แก่ ความถี่ต่ำ (LF) 125-134 กิโลเฮิรตซ์ (KHz) ความถี่สูง (HF) 13.56 เมกะเฮิรตซ์ (GHz) และความถี่สูงยิ่ง (UHF) 433 และ 900 MHzรวมถึงการใช้ไมโครเวฟ 2.4 GHz มาอ่านข้อมูลจากป้ายที่ติดชิป RFID และมีสายอากาศ โดยใช้เครื่องอ่านข้อมูลที่มีทั้งแบบมือถือ หรือ แฮนด์เฮลด์ พีดีเอ และ เครื่องอ่านขนาดใหญ่ เช่น แบบอุโมงค์ หรือประตู เป็นต้น ทั้งนี้ ชิปแต่ละตัวจะมีรหัสเฉพาะตัวที่ถูกตั้งไว้ เมื่อมีการอ่านระบบจะไปค้นข้อมูลผ่านแอพลิเคชันที่เขียน และดึงข้อมูลตามรหัสที่ระบุไว้จากฐานข้อมูลมาแสดง

 

 

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ระบุว่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเอา RFID มาใช้งานค่อนข้างหลากหลาย อาทิ การจัดการด้านห่วงโซ่อุปทาน การกระจายสินค้า โลจิสติกส์ สายพานการผลิตในโรงงาน ระบบการจัดเก็บในคลังสินค้า งานด้านสาธารณสุข สำหรับตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ และตรวจฉลากยา การใช้ด้านเกษตรกรรม สำหรับตรวจสอบย้อนหาที่มาของอาหาร หรือ Food Traceability และระบบติดตามตัวสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม รวมไปถึงการใช้แทนบัตรเข้า-ออกอาคาร บัตรโดยสารรถไฟฟ้า และกุญแจอิเล็กทรอนิกส์

 

 

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิบายถึงการจัดการโลจิสติกส์สมัยใหม่ว่า ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพา ระบบเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย หรือเรียกรวมกันว่า โลจิสติกส์ โดยการจัดการในเรื่องนี้เป็นปัญหากันมานาน ระบบ RFID เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยบริหารงาน 4 เรื่องข้างต้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวดเร็ว และทำให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ ในสภาวะการที่ตลาดเปลี่ยนแปลงไป เพราะลูกค้ามีความหลากหลาย ไม่ซื้อของคราวละมากๆ อีกทั้งมีโอกาสเลือกมากขึ้นเหนือกว่าผู้ผลิต

 

 

ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ฯ ให้ความเห็นว่า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการวางแผนการดำเนินงาน ควบคุมการทำงานขององค์กรและเอาใจใส่ต่อเรื่องทั้ง 4 ที่กล่าวมา ได้แก่ การเลือกสินค้าให้ตรงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย การผลิตในปริมาณที่เหมาะสม มีเงื่อนไขเหมาะสม ถูกที่ ถูกเวลา และราคาที่เหมาะสม โดยจากเดิมโลจิสติกส์ถูกพัฒนาเพื่อลดต้นทุน ก็กลายมาเป็นลดเวลาในการขนส่ง และก้าวสู่การพัฒนาคุณภาพบริการ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่เอามาใช้นั้นต้องใช้ได้จริง และไม่ติดขัดกับระเบียบข้อบังคับ สามารถลดความเสี่ยง ป้องกันความเสียหายที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ

 

 

ดร.พงษ์ชัย ให้ความเห็นต่อว่า กลยุทธ์ในการเอาโลจิสติกส์มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ภาคอุตสาหกรรมต้องนำเอาระบบไอทีมาใช้ วันนี้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่นห้างวอลล์มาร์ท ในสหรัฐฯ บังคับให้สินค้าที่จะเข้าไปจำหน่ายต้องติด RFID ทางประเทศญี่ปุ่นก็มีความร่ววมือทางเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงอุสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และผู้นำในวงการอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า นำเอา RFID มาใช้กับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน การนำเอาโลจิสติกส์และ RFID มาใช้กับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ที่ช่วยเชื่อมโยงการทำงานแต่ละขั้นตอนให้ตรงเวลา หรือเรียกว่า มิลค์ รัน (Milk Run)

 

 

ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ฯ ให้ความเห็นอีกว่า ในส่วนของห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชน การนำเอา RFID มาใช้จะช่วยให้การจัดการเห็นภาพรวมทั้งหมดของตลาด และสามารถทำเรื่อง Vendrer Manage Inventory ที่ช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบในอุตสาหกรรม เห็นคลังสินค้าของลูกค้าด้วยตัวเอง ทำให้ส่งขอไปเติมได้ทันที่โดยที่ไม่ต้องรอลูกค้าสั่งตัดปัญหาสินค้าขาดช่วง เช่นเดียวกับที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใหย๋ใช้ทำสต็อกสินค้าอัตโนมัติอยู่นั่นเอง ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างการเอาโลจิสติกส์ และ RFID มาใช้แบบเกิดประโยชน์จริงๆ

 

 

ด้าน ดร.ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการโรเซ็ตต้าเน็ต ประเทศไทย เนคเทค ให้ความเห็นว่า จากสถานการณ์ของต้นทุนด้านโลจิสติกเมืองไทยแม้จะมีแนวโน้มที่ลดลงจาก 21% เหลือ 16% ของราคาสินค้า แต่ก็ยังสูงกว่าสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯ ผนวกกับการที่ไทยเข้าสู่องค์การค้าโลก ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกเริ่มถูกมาตรการณ์กีดกันทางการค้า อาทิ ภาษีนำเข้า มาตรการด้านความปลอดภัย จึงจำเป็นที่ต้องนำเอาเทคโนโลยี RFID เข้ามาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ต่างชาติตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หาที่มาสินค้าเท่ากับว่าเป็นการเพิ่มการมองเห็น หรือ Visibility ของผู้นำเข้าสินค้า     

 

 

ผอ.โรเซ็ตต้าเน็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในด้านโลจิสติกส์ที่จะเห็นชัดเจน ได้แก่ ระบบอี-ซีล (e-Sealed) ที่ติดกับตู้คอนเทนทเนอร์ ที่ใช้ร่วมกับการทำอี-พอร์ท เพื่อติดตามตู้สินค้าว่ามีการเปิดระหว่างทางหรือไม่ การใช้ RFID ตรวจสอบสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง หรือแม้แต่การที่กรมศุลกากรดำเนินการพัฒนาระบบไร้เอกสาร หันมาใช้การส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ ebXML นั่น คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (Cutting Edge) นับว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพแก่ระบบโลจิสติกส์ ให้แข่งขันกับตลาดโลกได้

 

 

“RFID เป็นเทคโนโลยีที่คนจำนวนมากคาดหวังไว้สูงว่า จะช่วยภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจของประเทศไทยได้ ดังนั้นจึงไม่อยากให้ทุกคนมองว่า ตัวเทคโนโลยี RFID เป็นของหรูหรา ใช้แล้วทันสมัย แต่อยากให้มองที่การนำเอาข้อมูลที่ได้จากการอ่านไปใช้ทุกส่วนของธุรกิจ ไม่ใช่ว่ามีระบบ RFID แล้วจะสามารถแข่งขันได้ดี สิ่งสำคัญจากนี้ไปไม่ได้อยู่ที่ชิป หรือเครื่องอ่าน แต่อยู่ที่ข้อมูลที่เมื่ออ่านออกมาแล้วจะเอาไปทำอะไรต่อไป จะต่อยอดอย่างไรเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานได้จริง ดร.ชยกฤต กล่าวทิ้งท้าย

 

 

วันนี้ เป็นที่น่ายินดีที่เทคโนโลยี RFID ได้ถูกนำมาใช้งานจริงจัง และยังสามารถผลิตชิป เครื่องอ่าน และเขียนซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานได้เองด้วย ทำให้ลดการนำเข้าเทคโนโลยี ขณะที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะถ้ากลุ่มโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตของไทยหันมาให้ความสำคัญ และนำเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้งาน โดยถ้า RFID ถูกนำมาใช้ก็จะช่วยให้ระบบการกระจาย จัดเก็บ รวบรวม และเคลื่อนย้ายของไทยมีประสิทธิภาพ ไม่ล่าช้า

 

 

 

ติดอยู่แค่เรื่องเดียว คือ คนที่จะมาพัฒนาซอฟต์แวร์ยังมีน้อย อย่างที่นักวิชาการได้กล่าวบอกไปแล้ว ตัวชิปและเครื่องอ่านไม่ใช่สิ่งสำคัญ หากแต่เป็นข้อมูลที่ได้จากการอ่าน เท่ากับว่าการอ่านข้อมูลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ก็อยู่ที่คนเขียนซอฟต์แวร์จะประยุกต์ได้หลากหลายเพียงใด ยิ่งเขียนได้มาก ธุรกิจอื่นๆ ก็มีโอกาสได้ใช้มาก และจะทำให้เกิดการผลักดันใช้ต่อเนื่องเป็นห่วงโซ่จนครบทุกภาคส่วนนั่นเอง...

 

 

จุลดิส รัตนคำแปง

 

itdigest@thairath.co.th

 



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี