หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับคำถาม ไปถึง ไหน ได้อะไร และเมื่อไร?
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับคำถาม ไปถึง ไหน ได้อะไร และเมื่อไร?
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับคำถาม ไปถึง ไหน ได้อะไร และเมื่อไร?
บทความ
 
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับคำถาม ไปถึง ไหน ได้อะไร และเมื่อไร?

คำว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ “e-Government” นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในแง่ของคำบอกเล่าในเรื่องของเนื้อข่าวและเวทีสัมมนาต่างๆ ของทางภาครัฐ กับจินตนาการการใช้บริการภาครัฐผ่านโลกออนไลน์ ที่อาจใช้ได้จริงแล้วในหน่วยงานราชการบางหน่วยงาน อาทิ การจ่ายภาษี แต่ก็ไม่ได้บูรณาการทั้งระบบในระดับ“Government” อย่างแท้จริง 

 

 

อันที่จริงแนวคิดในเรื่องดังกล่าวมีมากว่าทศวรรษและมีความพยายามจะผลักดันให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย หากก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากจะเป็นการให้บริการเฉพาะหน่วยงาน ทำให้ภาพที่คนส่วนใหญ่นึกถึง “e-Government” ยังจำกัดอยู่เพียงหน้าเว็บไซต์เป็นฉากหน้า แต่ไม่เห็นโครงสร้างเบื้องหลัง จึงยากที่จะเข้าใจว่า เพราะเหตุใดแนวคิดนี้จึงไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างเสียที

 

 

นางมณีรัตน์ ผลิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที  ในฐานะกระทรวงเจ้าภาพในการผลักดัน e-Government ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ตอบคำถามเกี่ยวกับความล่าช้านี้ว่า ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า e-Government เป็นโครงการ แต่ความจริงแล้วเป็นพัฒนาการของการทำงานหน่วยงานภาครัฐมากกว่า เป็นการนำอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เป็นเครื่องมือ นับว่ายากพอสมควรที่จะเปลี่ยนการทำงานในรูปแบบเดิมๆ มาใช้เทคโนโลยี อีกประการหนึ่ง แรกเริ่มที่มีการนำแนวคิดนี้จากต่างประเทศเข้ามาก็ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานตั้งแต่ต้น ทำให้เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ และสิ่งสำคัญคือการขาดโครงสร้างพื้นฐานที่ดีมารองรับ

 

 

ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ ทุกคนใหญ่หมด เราต้องผ่านความขัดแย้งมานาน ทะเลาะกันมาเป็นสิบๆ ปี ทำให้ e-Government ช้า แต่นับจากนี้จะเกิดขึ้นได้จริง เพราะเริ่มมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายสื่อสารไปแล้วร้อยกว่าส่วนราชการในกรุงเทพ และต่อไปทุกส่วนจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน ต้องทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ สามารถแชร์ข้อมูล แชร์ทรัพยากรถึงกันได้ โดยไอซีทีจะเป็นผู้เข้าไปเสริมและเชื่อมโยงทุกส่วนเข้าหากันรองปลัดกระทรวงไอซีที กล่าว

 

 

ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษากำกับและบริหารโครงการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เสริมว่า ตอนนี้ไอซีทีวางระบบเครือข่ายสื่อสารไปได้กว่าครึ่งแล้ว แต่ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ หรือที่เรียกว่า GIN (Government Information Network) อย่างเดียวเท่านั้น หากยังมีเรื่องของข้อมูลและระบบความปลอดภัยด้วย

 

 

ที่ปรึกษากำกับและบริหารโครงการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ อธิบายย้อนถึงกรอบการทำงานให้ฟังว่า โครงการดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนงานสำคัญ คือ 1. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network) มาตรฐานข้อมูล (Information) และระบบความปลอดภัย (Security) 2. การบริการ (Services) ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงทุกส่วนราชการและมีเว็บไซต์กลาง คือ http://www.egov.th/ ที่มีแนวคิดว่าจะเป็น First stop service นำไปสู่ one stop service และ non stop service ในที่สุด 3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยตอนนี้ยังติดปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ แต่ก็เชื่อว่าอยู่ในขั้นตอนของการผลักดันแล้ว และ 4. การตั้งหน่วยงาน E-government Agency ภายใต้กระทรวงไอซีที โดยหน่วยงานนี้จะเป็นผู้ประสานงานหลัก อย่างไรก็ตาม การทำงานที่ผ่านมาเป็นการทำในกรอบของแผนงานจำนวน 2 แผน จากทั้งหมด 15 แผน เท่านั้น คิดเป็น 3% ของการทำ e-government ของประเทศโดยรวม

 

 

ในเรื่องนี้ปัญหาทางเทคนิคไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เป็นห่วงเรื่องการจัดการ และการเมืองที่เป็นปัจจัยหลักมากกว่า ทั้งในส่วนที่จะเป็นตัวผลักดันและฉุดรั้งความคืบหน้า คือถ้าสถานการณ์เป็นบวกการดำเนินการก็จะเป็นไปได้เร็ว แต่ถ้าเป็นลบก็จะยิ่งทำให้ช้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าแม้แต่ประเทศแคนาดาที่ถือว่าเป็นประเทศที่มีระบบ e-government ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกและดำเนินการมากว่า 6 ปี เขาก็ยังบอกว่าเพิ่งทำเสร็จไปเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น e-government จึงไม่ใช่เรื่อง่ายที่จะทำเสร็จกันใน 1-2 ปีดร.ศุภชัย สรุปถึงข้อกังวลในการผลักดันโครงการ

 

 

ด้าน เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการด้านการพัฒนาเครือข่าย นายพฤฒิพงศ์ พัวศิริ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ กระทรวงไอซีที เล่าถึงสภาพการทำงานที่ผ่านมาว่า ที่ผ่านมามีความขัดแย้งค่อนข้างมาก เพราะหลายหน่วยงานทำเรื่องนี้ไปก่อนแล้ว และบางครั้งในการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่หน่วยงานราชการ บางองค์กรก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร จึงต้องพยายามขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ มากยิ่งขึ้น และในลำดับต่อไปนั้น หลังจากวางระบบเครือข่ายเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการกำหนดสเปกในการจัดซื้อหรือจัดหาทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางและเชื่อมโยงการทำงานของทุกแห่งเข้าหากันได้ แต่ส่วนนี้ก็คงต้องอาศัยเวลาสักระยะหนึ่งกว่าที่โครงสร้างพื้นฐานไอทีในแต่ละหน่วยงานจะเป็นไปในมาตราฐานเดียวกันทั้งหมด และคงจะยากหากหน่วยงานต่างๆ ไม่ให้ความร่วมมือ

 

 

ท้ายที่สุด นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ในฐานะผู้กุมนโยบาย ยอมรับว่า ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีก็เห็นว่า e-government คืบหน้าช้ามา และการดำเนินการในลักษณะที่ก่อให้เกิดการใช้งานได้จริงยังมีอยู่น้อย แต่ถ้าโครงการนี้สำเร็จประชาชนก็จะได้ประโยชน์อย่างมาก และมีความสะดวกสบายมากขึ้นในการใช้บริการของรัฐ นอกจากนี้ e-government ยังอาจช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้ในระดับหนึ่ง แม้จะเป็นเพียงระดับรากหญ้า ไม่ถึงระดับนโยบายก็ตาม

 

 

รมว. ไอซีที ฝากด้วยว่า กว่าที่ e-government จะสำเร็จนั้น อย่างน้อยคงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4 ปี และในการทำรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีอยู่ 2 ทางด้วยกัน คือ 1. ให้แต่ละหน่วยงานเดินหน้าทำเฉพาะหน่วยงาน แล้วสุดท้ายให้หน่วยงานกลางเป็นผู้แปรข้อมูลให้เชื่อมโยงหากันได้ หรือ 2. ให้หน่วยงานกลาง ในที่นี้คือกระทรวงไอซีที เป็นผู้วางแผน กำหนดว่าหน่วยงานไหนควรทำอย่างไร แต่ก็เป็นเรื่องยาก เพราะย่อมต้องมีการต่อต้านเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ดังนั้น จึงหวังให้ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือ และทำงานในส่วนรับผิดชอบของตนให้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด เพื่อพร้อมที่จะเชื่อมโยงเข้าหากันได้

 

 

ทั้งหมดเป็นภาพรวมและความพยายาม ตลอดจนอุปสรรคปัญหาในช่วงที่ผ่านมาของ e-government ไทย แต่ไม่ว่าโครงการใหญ่ของกระทรวงไอซีทีรวมถึงหน่วยงานราชการทุกองค์กรนี้จะเป็นมหากาพย์เรื่องยาวสักเพียงไหน หรือจะต้องใช้งบประมาณเพิ่มจากยอด 465 ล้านบาทที่ค่อยๆ หมดไปสักเท่าใด กรอบสำคัญก็คือ ท้ายที่สุดแล้ว คนไทยจะต้องได้ใช้บริการภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวกสบาย รวดเร็ว และมั่นใจในความปลอดภัย ให้คุ้มค่ากับภาษีที่ทุ่มให้กับการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเน็ตเวิร์คไปแล้วกว่าครึ่งทาง รวมถึงค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการสัมมนาครั้งแล้วครั้งเล่านับหลายปีที่ผ่านมา

 

 

ปาจารีย์ พวงศรี
Itdigest@thairath.co.th


 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี