หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านไอที เก่งอย่างเดียวไม่พอต้องทุนหนา
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านไอที เก่งอย่างเดียวไม่พอต้องทุนหนา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านไอที เก่งอย่างเดียวไม่พอต้องทุนหนา
บทความ
 
ในขณะที่คนไอทีในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ใต้หวัน สิงคโปร์และมาเลเซียล้วนมีความคุ้นเคยค่อนข้างดีกับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านไอทีทั้งในการรับใบประกาศฯ สาขาต่างๆ การเข้ารับการฝึก   อบรมเพื่อเตรียมตัวเข้าสอบและการเข้าสอบเพื่อรับใบประกาศฯ แต่ถ้าย้อนกลับมามองคนไอทีในประเทศไทยแล้ว เรื่องดังกล่าว เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น

 

 

 

ด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปของคนไอทีไทยที่จะสนใจในเรื่องนี้ แต่ความสำคัญของมันก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจเพิกเฉยได้ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์ปาร์ค จึงร่วมกับเจ้าของเทคโนโลยีและสำนักฝึกอบรมที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอที กำหนดจัดงาน ไอที เซอร์ติฟิเคชั่น เดย์” (IT Certification Day) ขึ้น ในวันที่ 21 ก.ย. 2549 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า กรุงเทพฯ 

 

 

 

โดยวัตถุประสงค์หลักของงานจะมุ่งให้ผู้เข้าร่วมงานเห็นความสำคัญของใบประกาศฯ ในฐานะที่เป็นใบรับรองความรู้ความ สามารถระดับสากลที่ทุกๆ คน ให้การยอมรับ พร้อมกันนั้น ยังกระตุ้นและเปิดโอกาสให้คนไอทีไทยรุ่นใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการสอบใบประกาศฯ ได้ค้นหาข้อมูลเจ้าของเทคโนโลยีและสำนักฝึกอบรมที่เข้าร่วมงานเพื่อเพิ่มจำนวนคนไอทีไทยที่ได้รับใบประกาศฯ สาขาต่างๆ

 

 

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังจะได้รับฟังการเสวนาเจาะใจผู้บริหารองค์กรซอฟต์แวร์ในเรื่อง การบริหารจัดการและรักษาคนไอทีในยุคปัจจุบันด้วย แต่ดูเหมือนว่า เรื่องดังกล่าว จะหาข้อสรุปได้ยากสำหรับการเสวนาในครั้งนี้ เพราะจากจำนวนคนไอทีไทยที่ได้รับใบประกาศฯ ประเภทต่างๆ ยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพด้านไอทีที่ใกล้เคียงกัน หรือ เหนือกว่า ประเทศไทยนั่นเอง

 

 

 

นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์ปาร์ค ให้ความกระจ่างในประเด็นนี้ ว่า ด้วยข้อจำกัดในหลายๆ เรื่อง ทำให้ไม่ทราบจำนวนคนไอทีไทยที่ได้ใบประกาศฯ ในสาขาต่างๆ แต่จากการรวบรวมข้อมูลหลังการจัดงานไอที เซอร์ติฟิเคชั่น เดย์ครั้งที่ผ่านมา พบว่า จากจำนวนคนไอทีไทยทุกระดับที่มีอยู่ประมาณ 35,000 คน มีผู้ที่ได้รับใบประกาศฯ ในสาขาต่างๆ ประมาณ 10,000 คน โดยมากกว่า 90% เป็นใบประกาศฯ ระดับพื้นฐาน

 

 

 

ผ.อ. ซอฟต์แวร์ปาร์ค กล่าวต่อว่า กระนั้นใช้ว่า คนไอทีไทยจะเพิกเฉยกับการสอบใบประกาศฯ จนไม่สนใจติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ดังเช่นในปีที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์ปาร์คจะให้ทุนอุดหนุนในการฝึกอบรมและสอบให้ได้ใบประกาศฯ ในสาขาที่ขาดแคลน เช่น สาขาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ การบริหารโครงการ การตรวจสอบคุณภาพและการทดสอบระบบ จำนวน 62 ทุน แต่มีผู้สนใจสมัครเข้าแข่งขันจำนวนหลายร้อยคน

 

 

 

กับคำถามที่ว่า เมื่อมีคนไอทีไทยจำนวนมากสนใจที่จะสอบใบประกาศฯ แต่ทำไมถึงไม่สอบให้ได้ใบประกาศฯ นางสุวิภา กล่าวว่า เพราะยังมีข้อจำกัดใน 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ทักษะด้านภาษาอังกฤษที่จำเป็นจะต้องใช้ในการฝึกอบรม ประสบการณ์ในการทำงานที่ใบประกาศฯ แต่ละสาขากำหนดไว้ไม่เท่ากันและที่สำคัญเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง อย่างเช่นใบประกาศฯ ของไมโครซอฟท์ที่เกือบทุกระดับต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท

 

 

 

ในกรณีดังกล่าว ผ.อ.ซอฟต์แวร์ปาร์ค เปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์ปาร์คจะพยายามเพิ่มจำนวนทุนอุดหนุน พร้อมกับขอรับการสนับสนุนจากเจ้าของเทคโนโลยีและสำนักฝึกอบรมเพื่อให้การสนับสนุน นอกจากนั้น ในปีหน้าซอฟต์แวร์ปาร์คยังจะเปลี่ยนแนวทางในการจัดงานไอที เซอร์ติฟิเคชั่น เดย์ โดยจะเน้นจัดงานให้บ่อยครั้งขึ้น เจาะลึกในใบประกาศฯ สาขาต่างๆ และกระจายงานออกสู่ภูมิภาคที่มีสำนักงานสาขาของซอฟต์แวร์ปาร์คตั้งอยู่

 

 

ส่วนภาคเอกชนที่หมายถึงบรรดาเจ้าของเทคโนโลยี สำนักฝึกอบรมและนักธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอที นายยิค จุน โฮ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและยุทธศาสตร์แพลตฟอร์มองค์กร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ มีนักพัฒนาของไทย จำนวน 1,032 คน ที่ได้รับเซอร์ติฟายด์ MCAD รองจากประเทศออสเตรเลีย ที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาของคนไอทีไทยอันจะทำให้คนไอทีกลุ่มนี้ ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

 

นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด และกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ เอทีซีไอ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนบุคลากรที่ได้ใบประกาศฯ นัก พัฒนาจาวามีมากกว่า 1,000 คน ดูแล้วเติบโตได้ค่อนข้างดี แต่ต้องเร่งส่งเสริมในส่วนของระดับงานสถาปัตยกรรมระบบที่ถือเป็นใบประกาศฯ ในระดับสูง

 

 

 

ผ.อ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซันฯ และกรรมการเอทีซีไอ ยังอ้างผลสำรวจของเอทีซีไอว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมีคนไอทีในระดับโปรเฟสชั่นนัลประมาณ 30,000 คน และมีนิสิตนักศึกษาที่จบการศึกษาในสาขานี้ เฉลี่ยปีละประมาณ 3,000 คน ทำให้ในแต่ละปีประเทศไทยมีคนไอทีเพิ่มขึ้นพอสมควร แต่จะต้องเร่งสนับสนุนและผลักดันการยกระดับคนไอทีกลุ่มนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนด้านไอทีในประเทศไทย

 

 

 

ด้าน นายปริญญา หอมเอนก ประธานกรรมการ บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ประมาณการณ์ว่า ในอุตสาหกรรมไอทีไทยมีผู้ที่ได้รับเซอร์ติฟายด์ทั้งในระดับผู้ เชี่ยวชาญเฉพาะค่ายเทคโนโลยีและกลุ่มสาขาเทคโนโลยี 10,000 คน แต่ในสาขาความปลอดภัยยังมีน้อยมาก เช่น เซอร์ติฟายด์ CISSP จากสถาบัน ISC2 ที่มีเพียง 60 คน จากตลาดทั่วโลกที่มีประมาณ 60,000 คน 

 

 

ประธานกรรมการ บริษัท เอซิสฯ บอกว่า ขณะนี้ หน่วยงานขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น กรมสรรพากร บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่เปิดประมูลโครงการต่างๆ ได้เริ่มระบุให้ผู้ที่จะเข้าเสนองานจะต้องมีบุคลากรที่ได้รับเซอร์ติฟายด์ด้านความปลอดภัยทั้ง CISA และ CISSP เพิ่มขึ้น เพราะให้ความสำคัญกับการเพิ่มขึ้นของภัยอินเทอร์เน็ตและอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ๆ

 

 

 

นพ.สมิทธิ์ สุขสมิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจคอมพิวเตอร์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กล่าวว่า จำนวนและคุณภาพของบุคลากรไอทีที่ไม่เพียงพอทำให้ประเทศไทยขาแรงดึงดูดการจ้างงานด้านไอทีจากต่างประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดจากการจัดอันดับโกลบอลเอาท์ซอร์สซิ่งระบุว่า ประเทศไทยอยู่ในดับดับที่ 16 มาเลเซียอยู่อันดับที่ 14 ตามมาติดๆ ด้วยเวียดนามในอันดับที่ 17

 

 

 

ขณะที่ นางนงลักษณ์ บุญผ้าทิพย์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัทจัดหางาน ไอเอสเอ็ม เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ในอนาคตมีแนวโน้มที่องค์กรขนาดใหญ่จะต้องการบุคลากรด้านไอทีที่มีใบประกาศฯ หรือ เซอร์ติฟายด์ ในระดับและสาขาต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะธนาคาร ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและค้าปลีก ขณะเดียวกันบุคลากรด้านไอทีที่มีใบประกาศฯ ก็จะได้งานที่ดีและเหมาะสมกับตัวเอง

 

 

 

ทั้งหมดนี้ คงพอจะเป็นภาพคร่าวๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของใบประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านไอทีที่ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่คนไอทีทุกคนจะสามารถสอบได้ใบประกาศฯ เพราะความยากง่ายของแต่ละเทคโนโลยีและสำนักฝึกอบรมต่างๆ แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคสำคัญเรื่องค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการสอบที่ยังค่อนข้างสูง เฉลี่ยแต่ทุกระดับในแต่ละสาขาต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ไม่รวมค่าฝึกอบรม

 

 

 

อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า ถ้ามีองค์กรใด หรือ ใครที่มีทุนมากพอช่วยสนับสนุนให้คนไอทีไทยก้าวผ่านอุปสรรคเรื่องค่าใช้จ่ายไปได้ ด้วยความรู้ความสามารถของคนไอทีไทยที่มีอยู่ยอมจะสอบผ่านและรับใบประกาศฯ ทุกระดับในแต่ละสาขาได้ไม่ยากเกินความสามารถ อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไอทีไทยและสร้างความมั่นใจให้ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในอนาคต...  


 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี