หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > เกาะติดมือทวิตเตอร์ไทยบนสังคมออนไลน์
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > เกาะติดมือทวิตเตอร์ไทยบนสังคมออนไลน์
เกาะติดมือทวิตเตอร์ไทยบนสังคมออนไลน์
บทความ
 
เกาะติดมือทวิตเตอร์ไทยบนสังคมออนไลน์

Pic_27768

 

ไปรู้จักที่มาที่ไปของ “@sugree” นักทวิตผู้มีชีวิตชีวา แห่งโลกไซเบอร์ กับแรงบันดาลใจแค่อยากเล่นตามฝรั่ง จนเปิดโลกกว้างสร้างสังคมใหม่ให้ชีวิต....

ท่ามกลางกระแสของความนิยมในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Networking ที่นับวันจะยิ่งขยายจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค (Facebook) และทวิตเตอร์ (Twitter) ที่เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย จากกระแสที่มาจาก ดารา นักร้อง บุคคลสำคัญในสังคม เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (PM_Abhisit) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นต้น

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา วงการอินเทอร์เน็ตไทยเริ่มมีสีสันมากขึ้น เมื่อนักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งภาครัฐบาล และฝ่ายค้าน และกลุ่มอดีตรัฐบาล ต่างหันมาใช้ช่องทางสื่อต่างๆ เพื่อเข้าถึงมวลชนในวงกว้าง ทั้งสื่อภาครัฐ เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และเว็บไซต์ จากจุดเริ่มต้นของเว็บไซต์พรรคการเมือง มาสู่เว็บไซต์ส่วนตัวของนักการเมืองเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง และก้าวสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ใน 2 ปีที่ผ่านมากับบนเว็บไซต์ไฮไฟว์ (Hi5.com) ที่ต่อมาก้าวขึ้นมาใช้เฟซบุ๊คจนเป็นที่แพร่หลาย ลามมาสู่ทวิตเตอร์ที่เพิ่งเข้ามาสู่เมืองไทยได้ไม่นาน

ทวิตเตอร์ คือ อะไร ตามข้อมูลของ http://th.wikipedia.org/wiki/ทวิตเตอร์ ระบุว่า เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ส่วนคำว่า “ทวีต” (tweet หรือ เสียงนกร้อง)

เว็บไซต์ทวิตเตอร์ก่อตั้งโดยบริษัท Obvious Corp เมื่อเดือน มี.ค. 2549 ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรูปแบบริการเป็นข้อความอับเดทที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์ จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นก็เลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บทวิตเตอร์ อีเมล์ เอสเอ็มเอส เมสเซนเจอร์ (IM) RSS, หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific, Twhirl ได้

ขณะนี้ ทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสใน 3 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักร โดยความสำเร็จของทวิตเตอร์ส่งผลให้มีบริการคล้ายคลึงกันออกมาเป็นจำนวนมาก เช่น Jaiku หรือ Noknok ของไทย

เว็บไซต์แห่งหนึ่งถึงกับรวบรวมบริการแบบเดียวกับ ทวิตเตอร์ได้ถึง 111 แห่ง และปัจจุบันนักพัฒนาเว็บแอพลิเคชัน ต่างพัฒนาให้ทวิตเตอร์เชื่อมโยงเข้ากับเว็บอื่น เช่น เฟซบุ๊ค หรือติดตั้งเป็นปลั๊กอินแอดออนไปกับโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ อย่างไฟร์ฟอกซ์ เป็นต้น

ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจสงสัยว่า ทวิตเตอร์ เขาเล่นอะไรกัน สนุกหรือไม่ เล่นแล้วมีประโยชน์อย่างไร จึงเป็นโอกาสดีที่ IT Digest จะได้แนะนำมือทวิตเตอร์อันดับต้นๆ ของไทย เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจสังคมออนไลน์ จนก้าวมาสู่โลกทวิตเตอร์ มาดูกันว่าหลังจากทวิตเตอร์เข้ามาในชีวิต รูปแบบการดำเนินชีวิต และการทำงานของเขาเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร

นายสุกรี พัฒนภิรมย์ หรือ “@sugree” นักวิจัยและนักวิชาการศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ แต่อีกมุมหนึ่งเขาคือ ผู้ริเริ่มการจัดประชุมบาร์แคมป์ และผู้ใช้งานสังคมออนไลน์ จนเกือบได้เป็นมิสเตอร์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย อธิบายถึงที่มาของการใช้ทวิตเตอร์ว่า มาจากการพบเพื่อนนักพัฒนาโอเพนซอร์สชาวสหรัฐอเมริกาคนหนึ่งที่วางแผนทางรอบโลก 7 ทวีป ภายใน 7 เดือน โดยชวนเขามานอนที่บ้าน เพราะอยากหารือการจัดงานบาร์แคมป์ ก็มาสังเกตว่าผู้ชายคนนี้มีเวลาว่างไม่ได้ ต้องจับมือถือมากดไปมาตลอด พอสอบถามเลยรู้ว่า เขาเล่นทวิตเตอร์ผ่านมือถือ เพื่อส่งข่าวความเคลื่อนไหวกลับบ้าน และเพื่อนที่อยู่ในสหรัฐฯ 

นักวิจัยและนักวิชาการศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ บอกว่า จากนั้นมาจึงลองเล่นทวิตเตอร์กับเพื่อนในวงการ และชาวต่างประเทศ จนสามารถจัดงานบาร์แคมป์ บางกอกได้ครั้งแรก และได้เลือกหัวข้อทวิตเตอร์มาพูดในงาน สำหรับประเทศไทยทวิตเตอร์น่าจะเข้ามาช่วงปี 2549 ในกลุ่มคนสังคมแคบๆ

ต่อมาเมื่อมีการเสนอข่าวว่า นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขณะที่หาเสียงเลือกตั้งได้ใช้ทวิตเตอร์ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับประชาชน หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่นักข่าวชาวต่างประเทศถูกจับกุมในประเทศอียิปต์ นักข่าวคนนั้นก็ใช้ทวิตเตอร์แจ้งเหตุ จนได้รับการช่วยเหลือให้รอดจากคุกได้ในเวลาต่อมา

นายสุกรี อธิบายอีกว่า แม้แต่การนำเอาทวิตเตอร์มาใช้รายงานอุบัติภัย เช่น เหตุเพลิงไหม้ร้านซานติก้าผับ ที่เอกมัย ตัวเองก็ได้รับข่าวจากทวิตเตอร์ ก่อนที่สื่อโทรทัศน์ หรือ วิทยุจะรายงานข่าว เพราะมีคนที่รู้จักอยู่ข้างในทวิตแจ้งเหตุก่อนที่จะหนีออกมา หรือช่วงเหตุการชุมนุมปิดถนนของกลุ่มคนเสื้อแดงช่วงเดือนเมษายน 2552 ก็มีการใช้ทวิตเตอร์รายงานสภาพการจราจร การปิดถนน เช่นกัน สำหรับการเลือกตาม Follow นั่นเลือกจากกลุ่มเพื่อนด้วยกันก่อน มีเพื่อนหลายๆ คนเคยลองเล่นแล้วเลิกไป ก็หันกลับมาเล่นใหม่

นักวิจัยและนักวิชาการศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ อธิบายเสริมว่า การที่คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะ Follow ตัวเองนั้น คงเพราะลีลาการทวิตที่เป็นธรรมชาติ มีชีวิตชีวา เทคโนโลยีบ้าง เรื่องเฮฮา ไร้สาระบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม การเล่นทวิตเตอร์หลักๆ จะเน้นการใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกันในหมู่เพื่อน และทีมงานในการถาม-ตอบปัญหาต่างๆ ที่คนทั่วไปจะรู้ได้ว่าถ้าส่งมาที่ @sugree คือ นายสุกรีจริงๆ ที่ตอบไม่ใช่คนอื่นๆมาตอบ หากจะเลือกใช้เว็บบอร์ดหลายคนอาจไม่สะดวก เพราะต้องยุ่งยากเข้ามาหน้าเว็บ แล้วเลือกกระทู้ แต่ทวิตเตอร์ถามตอบกันตรงๆ

“ตั้งแต่เล่นทวิตเตอร์ชีวิตก็เปลี่ยนไป หันมาใช้มือถือมากขึ้น ถือว่าใช้งานได้คุ้มค่าตามประสิทธิภาพของเครื่อง เพราะลงมือเขียนโปรแกรมลงมือถือเพื่อใช้ทวิตเตอร์ได้ หรือทำโปรแกรมประหยัดค่าโทรศัพท์ เป็นต้น เวลานี้ต้องเลือกโปรโมชั่นใช้ GPRS/EDGE ไม่จำกัด แต่ไม่ถึงกับต้องดูตลอดเวลา ทวิตเตอร์ทำให้ตัวเองได้เข้าสังคมมากขึ้น จากเดิมที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์คนเดียว แต่กลับเป็นว่ามีคนเข้ามาในชีวิตมากมาย โลกกว้างขึ้น จนจำคนที่มาทักกันไม่ได้ แต่ทุกคนเข้ามาคุยกัน เป็นเพื่อนกันได้ โดยเร็วๆ นี้ กำลังจะจัดงานรวมพลคนทวิตเตอร์ จะได้มาเจอกันคุยกันจริงๆ บ้าง บางครั้งการเล่นทวิตเตอร์ทำให้ได้พบกับธาตุแท้ของคนๆนั้นด้วยเช่นกัน” นายสุกรี กล่าว

ด้าน นายกิตตินันท์ หิรัฐวงษ์ หรือ “น้องตง” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร หนึ่งในนักศึกษาที่เข้าอบรมโครงการพิราบดิจิตอล รุ่นที่ 7 ของชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อธิบายถึงเหตุผลที่ใช้งานทวิตเตอร์ว่า เป็นเพราะคนที่อยู่ในเว็บไซต์บล็อกนอน (Blognone.com) ชุมชนออนไลน์ที่เข้าไปคลุกคลีด้วยบ่อยๆ ใช้กันแทบทุกคน อีกส่วนที่เป็นเหตุผลคือ ความอยากลอง ส่วนเหตุผลที่คนมาตาม Follow นั้น น่าจะมาจากการที่เป็นคนที่คุยเล่น ในเรื่องที่ชอบคล้ายๆ กัน หรือเป็นคนในสายงานข่าวไอที

น้องตง กล่าวด้วยว่า หลังจากที่เริ่มเล่นทวิตเตอร์ได้สักระยะพบว่า การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปเล็กน้อย เพราะทวิตเตอร์ทำให้สังคมของตัวเองได้เปิดกว้างมากขึ้น ทำลายกำแพงกั้นที่เป็นระยะทาง และความไม่คุ้นเคย ตรงนี้ดูจะลดลงไปมากพอสมควร ส่วนเนื้อหาที่ใช้ทวิตส่วนมากจะเป็นเรื่องที่สนใจ แนวคิดต่าง ๆ ที่เห็นว่าขัดกับอะไรบางอย่าง แล้วอยากได้ความคิดเห็นจากคนอื่นๆ แต่ส่วนมากเรื่องที่ทวิตไปนั้นจะเป็นเรื่องไร้สาระมากกว่า

จะเห็นได้ว่าในบางครั้งทวิตเตอร์กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพ หากนำไปใช้ในการถาม-ตอบได้ตรงตัวผู้ตอบ หรือ ตรงกลุ่มผู้ใช้งาน เป็เครื่องมือกระชับความสัมพันธ์ของคนในสังคมแบบเรียลไทม์ แต่ไม่กว้างเหมือนโปรแกรมสนทนาทั่วไป หรือเป็นเครื่องมือยามเหงา ใช้ระบายความรู้สึก แบ่งปันความคิด แลกเปลี่ยนทรรศนะ และการประชาสัมพันธ์

สิ่งเหล่านี้ เป็นประโยชน์จากการใช้ทวิตเตอร์ ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้อย่างไร และกับใคร แต่ที่สำคัญคือ สังคมออนไลน์ย่อมทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าตัวคุณจะใช้งานแบบไหน....


จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี