หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ห้องแก๋งโฮ๊ะ
เว็บบอร์ด » ห้องแก๋งโฮ๊ะ
รายละเอียดของห้อง : พูดคุยกันเรื่องทั่วๆ ไป, สัพเพเหระ, อยากถาม อยากตอบ
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
ถอดหัวใจเขียนทั้งน้ำตา แด่คุณพ่อมณี พยอมยงค์ รฦก-คารวาลัย "สามปราชญ์แห่งล้านนา(1)

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
ถอดหัวใจเขียนทั้งน้ำตา แด่คุณพ่อมณี พยอมยงค์ รฦก-คารวาลัย "สามปราชญ์แห่งล้านนา(1)
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 06 ก.ค. 56 เวลา 09:06:39 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

โดย Pensupa Sukkata Jai Inn  เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2013 เวลา 13:39 น.



 

 เมื่อ วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ ณ อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดย ดร. นคร   พงษ์น้อย ผู้อำนวยการอุทยานฯ ได้จัดงานรำลึกถึง "สามปราชญ์แห่งล้านนา" ผู้มีคุณูปการต่องานวิชาการจัดทำสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ และพจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง โดยมีผู้ร่วมงานอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

 

ปราชญ์ทั้งสามได้ล่วงลับไประหว่างปี 2552-2554 กอปรด้วย ศ. ดร. มณี พยอมยงค์ - ศ. ดร. อุดม รุ่งเรืองศรี - ดร. ฮันส์ เพนธ์ คงเหลือแต่คุณงามความดีให้จารจำ

 

ดิฉันเองก็มีประสบการณ์ตรงที่เคยได้ร่วมงาน สัมผัส "ความคิดอ่าน" รวมทั้งปัญหาสารทุกข์สุกดิบของปราชญ์ทั้งสามอย่างลึกซึ้ง แม้จักไม่มีโอกาสได้ถ่ายทอดความในใจ บนเวทีอุทยานแม่ฟ้าหลวง แต่จักขอใช้พื้นที่คอลัมน์นี้ร่วม “รฦก-คารวาลัย" แทน

 

 

พ่อครู "มณี พยอมยงค์คือพ่อ ผู้เป็น "รัตนมณีศรีล้านนา"

 

โดยเกียรติ ศักดิ์ศรี ความรู้ ความสามารถส่งผลให้ปราชญ์ท่านแรกนี้มีคำนำหน้าต่อเติมขึ้นมาอีกสองสถานะนั่น คือ ...ศาสตราจารย์เกียรติคุณ และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

 

แต่สำหรับชาวล้านนาในวงกว้างแล้ว ยังคงเพรียกขานท่านด้วยภาษาพื้นเมืองว่า "พ่อครู" ...คำที่สื่อถึงความรู้สึกผูกพันถึงความเป็น "ครู" ผู้ทุ่มเทจิตวิญญาณมีเมตตาต่อศิษย์อย่างใกล้ชิด เหนือสถานภาพเชิงวิชาการใดๆ

 

ทว่าสำหรับดิฉันแล้ว ไม่เคยเรียกท่านว่าศาสตราจารย์ ท่านอาจารย์ หรือพ่อครูเลย แต่กลับเรียกว่า "คุณพ่อ"

 

เรียกด้วยความรู้สึกอบอุ่น ทุกครั้งยามอยู่ใกล้ เรียกเพราะสัมผัสถึงกระแสเมตตาธรรมเปี่ยมท้นที่ท่านส่งแผ่มายังอนุชนลูกหลาน ทุกคนอย่างไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นชาวล้านนาหรือคนต่างถิ่น ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงหรือตาสีตาสา

 

การเดินสายร่วมงานบุญในฐานะประธานทำพิธีกรรมผูกข้อมือ ฮ้องขวัญ สืบชาตาให้กับชาวบ้าน ทั้งที่รู้จัก-ไม่รู้จัก ทั้งในเชียงใหม่หรือไกลถึงน่าน-แม่ฮ่องสอน คือกิจวัตรประจำวันหลักของท่านโดย "คุณพ่อมณี" เคยบอกดิฉันว่า

 

“ตราบที่พ่อยังมีเรี่ยวมีแรง ใครเขาต้องการให้พ่อช่วยพ่อก็จะไป พ่อไม่เกี่ยงหรอกว่างานใหญ่หรือเล็ก ยิ่งเป็นชาวบ้านเรายิ่งต้องเอื้อเฟื้อ ในเมื่อเขามีศรัทธาต่อเรา เราจะปฏิเสธเขาได้อย่างไร"

 

น่าจะเป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของคนที่เป็น "ยอดคน" ได้เท่านั้น ลักษณะ "พ่อพระ" เช่นนี้ถือเป็นจุดเด่นที่สร้างความประทับใจให้แก่ชาวล้านนา และใช่ว่าจักปรากฏอยู่ในตัวนักวิชาการทั่วไปไม่

 

 

ภาพคุ้นชินเจนตา ในฐานะคล้าย "ปู่จ๋าน" ผู้ทำพิธีกรรมงานบุญต่างๆ ให้แก่ประชาชน

 
เห็น ได้จากงานสวดศพและงานพระราชทานเพลิงศพ มีผู้คนหลามไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ แน่นขนัดทุกคืน ชาวบ้านที่ท่านเคยไปช่วยเป็นขวัญและกำลังใจในงานพิธีต่างๆ พากันยกข้าวหม้อแกงหม้อมาร่วมงาน คนนับหมื่นสะอื้นไห้อาดูร จนแยกไม่ออกระหว่างสายน้ำตากับสายฝน
 

 

ความเป็นปราชญ์ของคุณพ่อมณีอยู่ที่ไหน ขอละไว้ที่จะไม่สาธยายถึงคุณลักษณะของ "พหูสูต" ทั้งหลายที่เรารู้กันดีว่า ความเป็นเลิศของคนเหล่านี้ได้มาด้วยหนทางแห่ง "สุ จิ ปุ ลิ" หรือฟัง (สุต-โสต) คิด (จินต) ถาม (ปุจฉา) เขียน (ลิขิต)

 

ลำพังแค่คุณสมบัติ "ฟัง คิด ถาม เขียน" ก็คงไม่เพียงพอสำหรับการหล่อหลอมเพื่อให้ได้ "รัตนมณี" นาม "มณี พยอมยงค์" ที่ผู้คนยกย่อง ด้วยจุดเด่นในความเป็นนักวิชาการของคุณพ่อมณี ก็คือ "การปราศจากอคติ ไร้อัตตา" และ "มีหัวใจที่พร้อมจะเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง" อยู่เสมอ

 

คิดถึงบรรยากาศยามไปเยี่ยมเยือนคุณพ่อที่บ้าน แถวแม่ริม ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสารพัดความรู้

 

ยามดิฉันติดขัดข้อมูลเชิงลึก ต้องการสืบค้นเรื่องราวศิลปวัฒนธรรมประเพณีล้านนาครั้งใด ดิฉันมักยกหูโทรศัพท์ขอความรู้จากท่านทันที เพราะรู้ดีว่าคำอธิบายจากปากท่านโดยตรงนั้น ช่วยสร้างความกระจ่างชนิด "เคลียร์คัท" หายคาใจ ยิ่งกว่าค้นคว้าจากสารานุกรมเล่มใด 

 

ด้วย ความรู้สึกเกรงใจทุกครั้งที่ยกหู ตั้งใจว่าจะขอสัมภาษณ์แค่ 5-10 นาทีก็คงเพียงพอแล้ว เราคุยกันอย่างอร่อยรส ท่านไม่ยอมให้ดิฉันวางหูง่ายๆ

 

แต่สิ่งหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่งเสียกว่า "ความเป็นสารานุกรมเคลื่อนที่ได้" ของคุณพ่อมณี ก็คือความเป็นคนทันสมัยพร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งอย่างสุดขั้ว ของนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ โดยไม่รู้สึกหงุดหงิด เสียหน้าอับอาย กล่าวให้ง่ายก็คือ ช่างเป็นปราชญ์ที่น้ำจิตน้ำใจกว้างเสียเหลือเกิน กล้าที่จะละวางเหตุผลเดิมๆ ที่เคยเชื่อถือยึดติดกันมา

 

ดิฉันขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมสองกรณี


กรณีแรกเมื่อคราวที่ดิฉันได้เปิดเวทีถกเถียงเรื่อง "ปริวรรตภาษาชื่อบ้านนามเมือง"หริ ภุญชัย-หริภุญไชย" ตัวไหนถูก-ผิด นิยามความหมายเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงสะกดแตกต่าง ระหว่าง "วัดพระธาตุหริภุญชัย" กับ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย"

 

ตามความเชื่อของคนล้านนาพื้นถิ่น ยึดเอกสารฝ่ายวัดเพียงทฤษฎีเดียวว่า "หริภุญชัย" นั้นถูกต้องแล้ว ตามที่่ตำนานกล่าวว่าหมายถึง "การฉันผลสมอ(ของพระพุทธเจ้า)” โดย "หริตกี=ลูกสมอ" และ "ภุญชะ=กิน/ฉัน"

 

(ต้องขอประทานโทษที่ไม่อาจลงรายละเอียดของบทวิวาทะ "หริภุญชัย-หริภุญไชย" นี้ได้ทั้งหมด เกรงจะเยิ่นเย้อขอแยกไว้เปิดประเด็นเฉพาะอีกต่างหาก ในที่นี้ขอสรุปจำเพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณพ่อมณี)

 

แต่ครั้นเมื่อดิฉันเสนอว่า "หริภุญไชย" น่าจะเป็นคำดั้งเดิม เพราะสอดคล้องกับคำในศิลาจารึกและเป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า "หอยสังข์ของพระนารายณ์" (หริ=พระนารายณ์, ภุญไชยหรือปัญจไชย =หอยสังข์) อันตรงกันกับผังเมืองของลำพูน ก่อนจะถูกเปลี่ยนจากคติฮินดูมาเป็นเมืองพุทธเถรวาทและใช้ "ชัย" แบบบาลีในภายหลัง

 

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2545 โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาเกินกว่าครึ่ง "รับไม่ได้" เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทรรศนะของดิฉันอย่างรุนแรง พากันโมโหโกรธา ว่าไปขุดเอา "พราหมณ์" มาจากไหน ในเมื่อลำพูนเป็นเมือง "พุทธ" ด้วยสายตาที่พวกเขามองจากแว่นปัจจุบัน

 

คู่ ชีวิต เป็นดั่งเงาของกันและกันในยามยาก คุณแม่บุญยิ่ง จะคอยบอกบท และจดบันทึกให้คุณพ่อมณี ยามขึ้นเวที เนื่องจากปัญหาด้านสายตาของท่านในบั้นปลายชีวิต มองเห็นเพียงรางๆ

 

เรามักพบมิตรแท้ในยามยาก ท่ามกลางความโกลาหลปรากฏว่า คุณพ่อมณีเป็นนักวิชาการเพียงคนเดียวที่ยืนเคียงข้างดิฉัน ซึ่งดูจากบทบาทภายนอก ท่านเป็นโลโก้ของสารานุกรมด้านประเพณีวัฒนธรรมโบราณแล้วหลายคนคิดว่าท่านน่า จะหัวอนุรักษ์นิยม

 

คุณพ่อมณี พูดขึ้นกลางที่ประชุม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ว่า ข้อเสนอของดิฉันนั้นอาจดูใหม่แผลง จนเกือบพิเรนทร์

 

แน่ นอนว่าย่อม "ช็อค" ผู้รับฟัง ไม่ว่ามันจะผิดหรือถูก ก็ควรปล่อยให้กระบวนการทางวิชาการทำหน้าที่ตัดสินและชำระสะสางกันต่อไป ไม่ควรประณามคนที่มีความคิดแปลกใหม่ แยกเขา-แยกเรา 

 

อย่า อ้างว่านักวิชาการที่ไม่ได้เกิดและโตในล้านนา จักมาอวดรู้ดีไปกว่าคนล้านนาได้อย่างไร หากพวกเราชาวล้านนาขีดเส้นแบ่งขั้วกีดกัน "คนนอก" เราก็จัก "ง่าว" อยู่อย่างนี้ตลอดไป

 

“ผมขอเอาเกียรติยศเป็นประกัน ว่าสตรีผู้นี้หาใช่ศัตรูผู้มีพิษภัยต่อชาวล้านนาไม่ ประคับประคองเธอให้ดี ปล่อยให้เธอพิสูจน์ฝีมือ ในการเจียระไนตัวเองสักระยะ เชื่อว่าวันหนึ่ง พวกเราชาวล้านนาจักได้ "เพชรล้านนา" มาประดับวงวิชาการอีกหนึ่งเม็ด"

 

ดิฉันน้ำตาไหลพราก ท่านกอดดิฉัน และบอกว่า

 

"ลูก เอ๋ย สู้ต่อไปนะ อย่าท้อถอย เพราะสิ่งที่ลูกพูดนั้น พ่อก็อยากพูดมานานแล้ว แต่น้ำมันท่วมปาก พูดไม่ได้บางครั้งความจริงมันเป็นสิ่งเจ็บปวด หากมนุษย์ไม่สามารถแยกแยะสภาวะของตัวเองออกได้ ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน"

 

ทุกครั้งที่มีคนถามดิฉันว่า ไปขุดเอาเรื่องพิสดารพันลึกของล้านนาพวกนี้จากไหนมาเขียน เพราะมันไม่เหมือนกับตำนาน หนังสือ เอกสารอ้างอิง ที่คนล้านนาเขาเคยอ่านกัน ดิฉันอยากตอบคนเหล่านั้นว่า

 

“ก็เพราะได้กำลังใจ จากคุณพ่อมณี พยอมยงค์ คนนี้แหละที่ทำให้ดิฉันกล้าหาญ มั่นใจที่จะสืบค้น ปริศนาด้านประวัติศาสตร์ล้านนา ในทุกหลืบซอกมุมเร้นลับ ทั้งด้านมืดและด้านสว่าง โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานทางโบราณคดีในทุกมิติ"

 


ถ่าย ร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือ สืบสาย "ตุงคนาคร" และ ณ ลำพูน ลูกหลานเจ้ายอดเรือน พร้อมอธิบดีกรมศิลป์ สหวัฒน์ แน่นหนา สมัยเป็น ผอ.สำนักศิลปากรที่ 8 ชม.


อีกกรณีหนึ่ง ที่คุณพ่อมณีได้หยิบยื่นน้ำใจ เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยประเด็นวิวาทะ ท่ามกลางหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือมิให้เกิดความบาดหมาง 

 

สืบ เนื่องมาจากความคลางแคลงใจเกี่ยวกับ "คำนำหน้านามของเจ้ายอดเรือน" ผู้เป็นชายาองค์สุดท้ายของเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ว่าท่านควรเป็นเพียง "หม่อม" หรือ "ชายา"

 

หากท่านสืบเชื้อสายมาจากเจ้านาย ก็ย่อมเป็นชายา แต่หากเป็นสามัญชนก็สมควรเรียกหม่อม

 

ก็ทั้งๆ ที่เจ้ายอดเรือนมีเจ้าปู่คือ "เจ้าราชภาติกวงษ์" ผู้สืบสายทางมารดามาจากเจ้าหลวงลำพูนองค์ที่ 4 และสายทางบิดานั้นเป็นเจ้านายฝ่ายเชียงตุง ซึ่งสายเชียงตุงนั้น ก็คือลูกหลานของพระญามังรายอีกเช่นกัน

 

เรื่องนี้ดิฉันเคยเขียนรายละเอียดไว้แล้วในปริศนาโบราณคดีฉบับก่อนๆ ผู้สนใจติดตามหาอ่านได้ในบันทึกเฟสบุ๊กของดิฉัน

 

การหยิบยกมาอ้างถึงในที่นี้ ก็เพราะต้องการจะบอกว่า แม้หลักฐานด้านราชสกุลวงศ์จะมีความชัดเจน แต่ก็เป็นเรื่องยากยิ่ง ที่จะให้ทายาทของเจ้ายอดเรือนลุกขึ้นมาชี้แจงกรณีเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้บุคคลผู้มี "บารมี" เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย มาพูดแทนทายาท มิใช่ "นักวิชาการที่ไหนก็ได้" ด้วยเหตุด้วยผลที่เป็นกลางว่าไปตามเนื้อผ้า

 

แน่นอนว่าบุรุษผู้มีทั้งบารมี เมตตาธรรม สามารถยุติข้อขัดแย้งลงอย่างนิ่มนวล คงมีเพียงแต่คุณพ่อมณีเท่านั้นที่สวมบทบาทนี้ได้ เพราะท่านต้องยืนยันวางเกียรติยศของท่านเป็นเดิมพันอีกครั้ง ด้วยประโยคที่สร้างความสะเทือนใจยิ่งนักให้แก่ชาวลำพูน

 

“ไม่ผิดเลยหากจะเรียกขานท่านว่า "เจ้า" หรือ "เจ้าหญิง" ยอดเรือน เพราะท่านเป็นทายาทสายตรงของเจ้าหลวงเมืองเชียงตุง บวกกับสายของเจ้าหลวงลำพูนองค์ที่ 4 อีก จึงถือว่าเป็นสายเลือดเข้มข้นแบบยกกำลังสองด้วยซ้ำ สิ่งที่อาภัพก็เพียงแต่ท่านไม่มีลูกสืบสายสกุล ผิดกับชายาองค์อื่นๆ จึงทำให้เรื่องราวของท่านเลือนหายไปจากทำเนียบชายา

 

แต่ช่างเถอะ ประเด็นปัญหาของสังคมมนุษย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะเสียเวลามาถกเถียงช่วงชิงความเป็น "เจ้า" หรือ "ไม่ใช่เจ้า" แต่ควรตั้งคำถามว่าไม่ว่า "เจ้า" หรือ "ไพร่" นั้น ใครทำคุณความดีสร้างประโยชน์อันใดให้แก่มวลมนุษยชาติให้สมค่าที่เกิดมา มากกว่า"

 

คำพูดของคุณพ่อมณี พยอมยงค์ ผู้เป็น "มหาปราชญ์-รัตนมณีศรีล้านนา" จักยังกึกก้องอยู่กลางใจลูก ไม่มีวันจางหาย ลูกขอกราบ"รฦก-คารวาลัย"

 

มติชนสุดปสัดาห์ ฉบับวันวันที่ 5-12 กค.56

ปริศนาโบราณคดีตอนที่ 137


ฉบับหน้าเตรียมอ่านความในใจต่อ ดร.ฮันส์ เพนธ์
 

 


ภาพประวัติศาสตร์ ครั้งสุดท้ายที่คุณพ่อมณี พยอมยงค์ มาร่วมงานที่ลำพูน ณ คุ้มเจ้ายอดเรือน

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 2280

แสดงความคิดเห็น โดย โน้ต cmprice IP: Hide ip , วันที่ 06 ก.ค. 56 เวลา 09:06:39
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี