หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ห้องแก๋งโฮ๊ะ
เว็บบอร์ด » ห้องแก๋งโฮ๊ะ
รายละเอียดของห้อง : พูดคุยกันเรื่องทั่วๆ ไป, สัพเพเหระ, อยากถาม อยากตอบ
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
หอสมุดแห่งชาติลำพูน . สิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์ ที่เลือนหาย

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
หอสมุดแห่งชาติลำพูน . สิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์ ที่เลือนหาย
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 09 ก.พ. 60 เวลา 22:10:48 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV



ลิงก์ผู้สนับสนุน
ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

วันนี้ มินโน้ต ได้ เข้าไปอ่านบทความของ ดร.Pensupa Sukkata  เป็นบทความที่เขียนเมื่อปี 2553 เป็นปีที่ ลำพูนได้ถูกยุบ "หอสมุดแห่งชาติลำพูน" ที่ได้เก็บเรื่องราวมากมายของลำพูนไว้  แต่เนื่องด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม ที่ หอสมุดแห่งชาติลำพูน ได้ถูกยุบไป  ผมในฐานะคนลำพูน แสนเสียดาย ที่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ และไม่มีโอกาสได้ป้องป้องมัน

และปัจจุปันหอสมุดแห่งชาติลำพูน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดแห่งชาติหริภุญไชย ทม.ลำพูน   อยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองลำพูน ซึ่งตั้งอยู่ยนชั้น2 ของโรงเรียนสันป่ายางหลวง

หวังว่าสักวัน หอสมุดแห่งชาติลำพูน  จะถูกยกให้มีความสำคัญยิ่ง เพราะในแผ่นดินแดนแห่งอารยธรรมแห่งนี้ คือดินแดนที่เคยรุ่งเรือง   ดินแดนนี้ คือ บ้านของพวกเรา และประวัติศาสตร์ จะทำให้เรารู้ว่า "เราคือใคร" สืบไปจนชั้วลูกหลาน

 

บทความที่ ดร.เพ็ญฯ เขียนไว้ด้วยความอัดอั้นตันใจ โดยมีใจความดังนี้

VVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVV

ฉากสุดท้ายของหอสมุดแห่งชาติลำพูน

25 พฤศจิกายน 2010 เวลา 20:35 น.

            ในที่สุดวาระสุดท้ายของหอสมุดแห่งชาติลำพูนก็มาถึงจนได้ เป็นการแอบปิดตัวแบบเงียบๆ ไม่เป็นข่าวคราวอะไรกับใครเขา ไม่ต่างอะไรไปจากสมัยที่ยังดำรงอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร ก็เป็นหน่วยราชการที่เงียบๆ ไม่มีความเคลื่อนไหวหรือบทบาทใดๆ ในชุมชนท้องถิ่นลำพูน

            หลายคนถามว่ามีหอสมุดแห่งชาติลำพูนด้วยหรือ ตั้งอยู่ที่ไหน เปิดบริการอย่างไร มีหนังสืออะไรน่าสนใจบ้าง อ้าวแล้วจู่ๆ ก็ปิดตัวแล้วหรือ ตอนเปิดยังไม่เห็นรู้เรื่องเลย

            อันที่จริงหอสมุดแห่งชาติลำพูน มีประวัติความเก่าแก่รุ่นราวคราวเดียวกันกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย กล่าวคือถือกำเนิดขึ้นปี พ.ศ.๒๔๗๐ เหมือนกัน แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “หอสมุดแห่งชาติมณฑลพายัพ” อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ใช้สถานที่คืออาคารยุพราช เชียงใหม่ เมื่อโรงเรียนยุพราชมีความประสงค์จะใช้อาคารเป็นสถานศึกษา หอสมุดแห่งชาติมณฑลพายัพจึงจำเป็นต้องย้ายมาอยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูนเปิดทำการในปี ๒๕๒๑ โดยพระธรรมโมลีพระสุเมธมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดขณะนั้นเป็นผู้จัดหาสถานที่ให้ โดยใช้อาคารศรีจำปา พื้นที่เพียง ๓๙๐ ตารางเมตรเท่านั้น

               สิ่งที่น่าสนใจในหอสมุดแห่งนี้คือการเก็บรวบรวมหนังสือเก่าหนังสือหายากที่จัดพิมพ์ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๖ และ ๗ ไว้มากมายหลายร้อยเล่ม ผนวกกับหนังสือวิชาการแทบทุกเล่มที่ผลิตโดยกรมศิลปากร ซึ่งไม่ค่อยมีวางจำหน่ายที่ใด อีกจำนวนมหาศาล

            เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปีกลาย ราวเดือนพฤษภาคม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม คุณปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ได้ปรารภว่า เห็นสมควรยุบหอสมุดแห่งชาติลำพูนเสีย ด้วยสาเหตุ ๓ ข้อ คือ
๑. ด้านสถานที่ เล็กคับแคบ ขยายไม่ได้ อาศัยพื้นที่ของวัดพระธาตุหริภุญชัยอยู่ในอาคารศรีจำปา ไม่โอ่โถงสมกับเป็นหน่วยงานระดับชาติ
๒. งบประมาณไม่ได้รับการจัดสรรให้ทำกิจกรรมเชิงรุก งานที่ทำเป็นรูทีนบริการหนังสือให้พระเณรโรงเรียนเมธีวุฒิกรยืมอ่านไปวันๆ ผิดกับหลักการของหอสมุดแห่งชาติ ที่ควรเน้นการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระดับชาติจริงๆ และควรมีหน่วยบริการเคลื่อนที่สู่ประชาชน ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายเช่น วันนักอ่าน วันนักเขียน เปิดถนนคนเดิน เปิดมุมหนังสือทำมือ เป็นต้น
๓. หัวหน้าหน่วยงานยังเป็นแค่พนักงานหอสมุด ระดับซี ๕ ไม่ใช่บรรณารักษ์ระดับ ๗ ฉะนั้นบุคลากรในหน่วยงานไม่ต้องพูดถึง ก็คงมีแค่พนักงานธุรการอีก ๑ นักการอีก ๑  เพิ่งเปิดรับสมัครบรรณารักษ์ได้ ๒ ปีก่อนยุบ แต่เป็นแค่พนักงานราชการ ไม่มีบทบาทในการบริหารองค์กร

            ในขณะที่ปริมาณของหนังสือนั้นเพิ่มมากขึ้นๆ ทุกวัน สถานที่เบียดแน่นไม่มีชั้นหิ้ง ตู้จะจัดเก็บหนังสือ ผู้ตรวจปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล จึงมีหนังสือสั่งการผ่านกระทรวงวัฒนธรรมและจังหวัดลำพูนว่าเห็นสมควรถ่ายโอนหอสมุดแห่งชาติลำพูนให้แก่หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนนี้เสีย เมื่อหน่วยงานยุบ จะได้คืนตำแหน่งต่างๆ สามอัตราเกลี่ยคืนกลับเชียงใหม่

            การที่ดิฉันต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็เพราะเป็นจังหวะที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมศิลปากรให้เข้าไปรักษาการตำแหน่งหัวหน้าหอสมุดลำพูนอยู่ช่วงระยะหนึ่งนานกว่าแปดเดือน เนื่องจากหัวหน้าหอสมุดลำพูนคนก่อน คุณยุพิน สมบัติศิริ เออร์ลี่รีไทร์ก่อนเกษียณจริงหนึ่งปี ทำให้ปี ๒๕๕๒ เป็นช่วงที่ปลอดหัวหน้าคนใหม่ ยังไม่มีการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งแทน ดิฉันจึงต้องทำหน้าที่เป็นแม่งานหลักในการเชิญทุกฝ่ายมาหารือเรื่องหอสมุดแห่งชาติลำพูน ที่ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์หริภุญไชย นับแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เจ้าคณะจังหวัด  ธนรักษ์พื้นที่ ที่ดินจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน กศน. อบจ.  เทศบาลเมืองลำพูน ปราชญ์ชาวบ้าน คนเข้าประชุมกว่า ๕๐ คน ประเด็นในการหารือมีอยู่ว่า

            เมืองลำพูนจะเอาหรือไม่เอาหอสมุดแห่งชาติลำพูนแห่งนี้ เพราะโตก็ไม่ได้ ขยายก็ไม่ได้ จะยุบก็ไม่รู้จะยุบอย่างไรไม่ให้น่าเกลียด หาสถานที่สร้างใหม่ก็ไม่รู้จะหางบประมาณมาจากไหน ผลสรุปสุดท้ายก็คือ ทุกฝ่ายไม่อยากให้หอสมุดแห่งชาติถูกยุบหรือโอนให้ท้องถิ่น แต่อยากให้มีการพัฒนาขยายให้เติบโต
แต่ละฝ่ายจึงพยายามช่วยกันสืบเสาะค้นหาสถานที่สำหรับขยับขยายหอสมุดแห่งชาติลำพูนแหล่งใหม่ อาทินำเสนออาคารเก่าไม่ใช้งานแล้วของ กระทรวงศึกษาธิการ เช่นบ้านพักศึกษาธิการจังหวัด (เพราะตำแหน่งนี้ยุบไปเป็นวัฒนธรรมจังหวัดแล้ว) หรือประสานเจ้านายฝ่ายเหนือสกุล ณ ลำพูน ให้สรรหาที่ดินบริจาคเพื่อจะได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติออกมาเป็นเอกเทศ ดำริกันแม้กระทั่งประเด็นเรื่องจะขออนุญาตใช้อาคารของศาลากลางจังหวัดลำพูน เพราะทราบมาว่าในอนาคตจะต้องมีการย้ายไปสร้างศาลากลางใหม่ที่ศูนย์ราชการ แถบ ต.ศรีบัวบาน เราวางแผนกันถึงขนาดว่า อาจให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยย้ายไปอยู่ศาลากลางจังหวัด แล้วหอสมุดแห่งชาติลำพูนก็มาใช้อาคารของพิพิธภัณฑ์แทนอีกต่อหนึ่ง พวกเราต่างคิดและวางแผนสารพัดเพื่อมิให้หอสมุดแห่งชาติลำพูนต้องถึงกาลอวสาน

            เมื่อ ดร.ปรีชา กันธิยะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรมคนใหม่ หยิบเรื่องนี้มาปัดฝุ่นสืบต่อจากผู้ตรวจปริศนา กลับมีนโยบายไม่อยากให้โอนย้ายไปท้องถิ่นด้วยคำพูดคมๆ ที่ว่า “การก่อกำเนิดนั้นยาก แต่การจบอวสานนั้นง่าย” เพราะจะยิ่งเป็นการคุมกำเนิด ไม่ให้หน่วยงานด้านวัฒนธรรมสามารถเติบโต จะยิ่งแคระแกร็นไปกันใหญ่แต่ท่านผู้ตรวจปรีชาเข้ามาช้าไป เพราะนโยบายของกรมศิลปากร โดยรองอธิบดี บวรเวท รุ่งรุจี ผู้รับผิดชอบสำนักหอสมุดแห่งชาติ กลับมีแผนการที่จะยุบหอสมุดแห่งชาติ ๕ แห่ง คือที่ลำพูน ที่อินทร์บุรี ที่ภูเก็ต ที่สงขลา และที่บุรีรัมย์ เนื่องจากเป็นหอสมุดขนาดเล็ก อาศัยสถานที่ของวัด ไม่สง่างามเหมาะสมกับคำว่า National ผู้บริหารระดับสูงของกรมศิลปากรจึงมิได้สนใจรายงานสรุปที่พิพิธภัณฑ์ได้นำเสนอผลการประชุมหารือว่าชาวลำพูนไม่ปรารถนาที่จะให้ยุบหอสมุดระดับชาติ และขณะนี้แต่ละฝ่ายก็กำลังช่วยกันเสาะหาสถานที่และแหล่งทุนกันอยู่ เอกสารหนาปึกกว่าแปดสิบหน้ามิได้รับการพิจารณาแต่อย่างใด

            ชะตากรรมของหอสมุดแห่งชาติอีกสี่แห่ง ถูกถ่ายโอนไปอยู่กับใครบ้างนั้น ดิฉันไม่สามารถรับรู้ บางแห่งอาจยกให้วัดดูแล บางแห่งก็ยุบแล้วเอาหนังสือกลับเข้าส่วนกลาง บางแห่งอาจมี อบจ. เทศบาล หรือ อบต. มาเทคโอเวอร์ อย่างเช่นของลำพูน เป็นการส่งมอบหนังสือทั้งหมดจำนวนหลายแสนเล่มให้แก่เทศบาลเมืองลำพูนไปบริหารจัดการดูแล โดยที่เทศบาลได้ดำเนินการสร้างอาคารหอสมุดขึ้นมาใหม่สองชั้นในบริเวณโรงเรียนวัดสันป่ายางหลวง และเพิ่งเปิดรับสมัครบรรณารักษ์สองคน กำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนบริหารจัดการ

            นี่คือฉากสุดท้ายของหอสมุดแห่งชาติลำพูน และอีกสี่แห่ง ที่กรมศิลปากรสุดวิสัยจะเยียวยา จึงถ่ายโอนให้ท้องถิ่นดูแล และทราบมาว่านโยบายของกรมศิลปากร ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ ๔๔ แห่งทั่วประเทศนั้น มีแผนว่าจะค่อยๆ ยุบหรือถ่ายโอนภารกิจไปให้ท้องถิ่นบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่เล็งไว้มีจำนวนมากถึง ๒๘ แห่ง (พิพิธภัณฑ์หริภุญไชย จะอยู่ในข่ายเตรียมเด็ดหัวทิ้งกับเขาด้วยหรือไม่ไม่อาจทราบได้) โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ที่อาศัยวัดอยู่ทั้งหลาย เช่นพิพิธภัณฑ์พระพุทธชินราชพิษณุโลก พิพิธภัณฑ์วัดมัชฌิมาวาสสงขลา พิพิธภัณฑ์วัดมหาสมณารามโคราช พิพิธภัณฑ์วัดอินทร์บุรี สิงห์บุรี หรือพิพิธภัณฑ์วัดชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท เป็นต้น
            มีคำถามจากหลายฝ่ายตามมาว่า ก่อนที่จะตัดสินใจยุบหรือถ่ายโอน นั้นกรมศิลปากรได้ถามท้องถิ่นแล้วหรือยังว่ามีความพร้อมเพียงไหน ได้คุยกับทางเทศบาลเมืองลำพูน ทางเทศบาลเองก็ต้องการพี่เลี้ยงหรือผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากรอย่างยิ่งยวด ไม่ใช่ยกกองหนังสือสูงท่วมหัวมาให้ แล้วบอกว่าเชิญเอาไปบริหารจัดการตามสะดวก เรื่องการบริหารหอสมุดเป็นเรื่องใหม่ถอดด้ามของเทศบาล ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน
หากมองในแง่การคุ้มทุน หมายถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาใช้บริการนั้น และวัดความสำเร็จกันที่จำนวนผู้มาใช้บริการถือว่ายังคงเป็นปัญหาหนัก  ขนาดระดับหอสมุดแห่งชาติ ยังไปไม่รอด คนยังเข้าน้อย ทั้งๆ ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์และศาลากลางจังหวัดแท้ๆ คราวนี้ยิ่งไปสร้างหอสมุดหลบอยู่ในรูในเลี้ยวลึกลับ และใช้พื้นที่ของโรงเรียนเทศบาลระดับประถมอีก ในขณะที่หนังสือแต่ละเล่ม ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. ๒๔๖๐ อย่างนี้ เป็นหนังสือหายากก็มาก จะมีคนแวะเข้าไปอ่านในแต่ละวันสักกี่มากน้อย

            ช่วงนี้ทำไมมีแต่เรื่องเศร้าใจจัง รถรางก็ยกให้เทศบาล เมื่อเขาเอาไปเขาก็ทิ้งพิพิธภัณฑ์ ทิ้งวัดพระยืน และนี่ยกหนังสือหลายแสนเล่มของหอสมุดแห่งชาติลำพูนไปให้เทศบาลเมืองลำพูนบริหารจัดการอีก ยิ่งไม่อาจรู้ชะตากรรมได้เลยว่าจะหมู่หรือจะจ่า

            นึกแล้วสะท้อนใจ หวนคิดถึงนโยบายของประเทศฝรั่งเศส มีอยู่ว่าใครก็ตามที่มาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จะต้องมีโปรเจคท์สร้าง Museum หรือ Library ระดับชาติขนาดมหึมาทุกยุคโดยไร้ข้อแม้ คิดดูสิ! ของเขามีแต่เพิ่ม ของเรามีแต่ลด แล้วประชาชนจะเอาก้อนมันสมองจากไหนมาพัฒนาตนเองและความเจริญในสังคมได้เล่า?

 


ตัวอย่างปกหนังสือเก่า หนังสือหายากที่เก็บในหอสมุดแห่งชาติลำพูน ซึ่งมีหนังสือประเภทนี้มากกว่าหอสมุดแห่งชาติเชียงใหม่เสียอีก เนื่องจากหอสมุดลำพูนพัฒนามาจากหอสมุดมณฑลพายัพ

 

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 4917

แสดงความคิดเห็น โดย ตนข่าว IP: Hide ip , วันที่ 09 ก.พ. 60 เวลา 22:10:48
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี