หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ไนท์พลาซ่า
เว็บบอร์ด » ไนท์พลาซ่า
รายละเอียดของห้อง : ท่องเที่ยว, ที่กิน ที่เที่ยว, ผับ บาร์ ร้านอาหาร, เที่ยวเมืองเหนือ
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
ปรีญาแมนชั่น บริการ ที่พัก ห้องพักสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง 300 - 700 บาท อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
ปรีญาแมนชั่น บริการ ที่พัก ห้องพักสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง 300 - 700 บาท อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
โพสต์โดย ปรีญาแมนชั่น อ.ฝาง เชียงใหม่ , วันที่ 08 ก.ค. 52 เวลา 11:52:49 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

ปรีญาแมนชั่น

บริการห้องพักสะอาดตลอด  24  ชั่วโมง
ห้องเตียงเดี่ยวนอนได้  2  คน
ห้องเตียงคู่นอนได้      4  คน
ในห้องมี น้ำอุ่น ทีวี ตู้เย็น แอร์ พัดลม พร้อมอินเตอร์เน็ตฟรี  และสัณญาณวายเล็ต
อัตราค่าห้องพัก  300 - 700  บาท

ติดต่อสอบถามได้ที่ 
053 - 452593 085 - 6539659 081 - 2874582
ที่ตั้ง  222/1  หมู่  3  ตำบล  เวียง  อำเภอ  ฝาง  จังหวัด  เชียงใหม่  50110






แหล่งท่องเที่ยวใน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตท้องที่ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าและของป่าหลายชนิด มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงาม เช่น ถ้ำห้วยบอน บ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ และสามารถเดินทางเข้าไป เที่ยวได้โดยสะดวกสบาย มีเนื้อที่ประมาณ หรือ 327,500 ไร่ หรือ 524 ตารางกิโลเมตร
     ความเป็นมา : ในปี พ.ศ. 2511 สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและดำเนินการตกแต่งให้ เป็น สถานที่พักผ่อนในเขตท้องที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2524 กรมป่าไม้ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็น “วนอุทยานบ่อน้ำร้อน” พ.ศ. 2531
     ส่วนอุทยานแห่งชาติได้จัดเจ้าหน้าที่ของส่วนอุทยานแห่งชาติ มารับงานวนอุทยาน บ่อน้ำร้อนฝาง เพื่อดำเนินการสำรวจและจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำฝางเขตท้องที่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง” มีเนื้อที่ประมาณ 524 ตารางกิโลเมตร หรือ 237,500 ไร่ ตามที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่า ลุ่มน้ำแม่ฝางในท้องที่ ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลมะลิกา ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลเวียง ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง และตำบลปงตำ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/12952 ลงวันที่ 27 กันยายน 2542 แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราช-กฤษฎีกากำหนดบริเวณดัง กล่าวข้างต้นแล้ว และได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมทั้งแจ้งว่าพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 213 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 การทับซ้อนดังกล่าวสมควรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดำเนินการออกกฎ กระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในส่วนที่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายสองฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายคลึงกันในพื้นที่เดียวกัน
     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือที่ กษ 0712.3/15437 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2543 มีความเห็นให้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดดังกล่าว สำหรับการเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่จะกำหนดเป็น อุทยานแห่งชาติเห็นควรดำเนินการหลังจาก พระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติประกาศใช้แล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/1169 ลงวันที่ 6 กันยายน 2543 แจ้งว่า ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 81 ก วันที่ 4 กันยายน 2543 ให้ที่ดินป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ในท้องที่ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลมะลิกา ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลเวียง ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง และตำบลปงตำ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543
     ลักษณะภูมิประเทศ
     พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนซึ่งเป็นเทือกเขาแดนลาว ระดับความสูงในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ฝางประมาณ 400-2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีภูเขาที่สำคัญคือ ดอยผ้าห่มปก ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ ดอยปู่หมื่น ดอยแหลม ดอยอ่างขาง อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ฝางเป็นแนวเทือกเขาแดนลาว จากอำเภอฝางถึงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตพื้นที่ทิศเหนือจดสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติเชียงดาว ในเขตท้องที่ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออกจด 5 ตำบลของอำเภอฝาง คือ ตำบลเวียง ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลแม่สูน และตำบลแม่งอน 4 ตำบลของอำเภอแม่อาย คือ ตำบลมัลลิกา ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว และตำบลท่าตอน และ 2 ตำบลของอำเภอไชยปราการ คือ ตำบลหนองบัว และตำบลปงตำ ทิศตะวันตกจดสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
     ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 องศาเซสเซียล มีอากาศหนาวเย็นในช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 14-19 องศาเซสเซียล ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39 องศาเซสเซียล และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,184 มิลลิเมตร
     พืชพรรณและสัตว์ป่า
     สภาพป่าโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ตะแบก มะไฟป่า จำปีป่า มณฑาดอย อบเชย ตะแบก สัก และก่อชนิดต่างๆ ฯลฯ ที่สำคัญยังมีพรรณไม้ที่หายากของเมืองไทย อาทิ เทียนหาง พิมพ์ใจ และบัวทอง ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณดอยผ้าห่มปก
     ด้วยสภาพป่าเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งติดต่อกับพื้นที่ของประเทศพม่า จึงทำให้มีสัตว์ป่าต่างๆ ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวางป่า หมี หมูป่า เสือไฟ หมาไม้ หมีควาย หมาไน รวมทั้งนกปีกแพรสีม่วง ซึ่งมีเฉพาะป่าดิบเขาทางภาคเหนือ นกติ๊ดหัวแดง นกขัติยา นกประจำถิ่นหายาก เลียงผา อันเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งของไทย และผีเสื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทยแล้ว คือ ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล (Teinopalpus imperialis)

การเดินทาง
จาก ตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ถึงฝางแล้วไปตามถนนฝาง-ม่อนปิ่น ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามถนน รพช. 4055 อีกประมาณ 8 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
 


น้ำตกนามะอื้น
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อยู่บริเวณกลางป่าทึบในตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้นใหญ่ๆ มีน้ำไหลตลอดปี
     กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก


น้ำตกห้วยเฮี่ยน
ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อยู่ทางตอนเหนือของลำห้วยเฮี้ยน ห่างจากถ้ำห้วยบอน ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตกใหญ่มีประมาณ 3 ชั้น ชั้นที่สวยงามที่สุดมีความสูงกว่า 15 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี
     กิจกรรม - เที่ยวน้ำตก



น้ำตกโป่งน้ำดัง


ตั้ง อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็กที่สวยงามมีการไหลของน้ำที่สม่ำเสมอ ชั้นบนสุดมีความสูงกว่า 10 เมตร บริเวณน้ำตกมีถ้ำขนาดเล็กๆ พอให้คนเข้าไปนั่งเล่นได้ 3-4 คน เพดานถ้ำมีน้ำหยดตลอดเวลาและเกิดเป็นหินงอกเล็กๆ ไปทั่ว ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มฝ.3 (น้ำตกโป่งน้ำดัง) บ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง ต้องเดินตามเส้นทางเดินป่าไปสู่น้ำตก ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางผ่านป่าดิบแล้งที่ร่มครึ้มด้วยไม้ใหญ่ บางช่วงต้องเดินข้ามลำธารที่มีน้ำใสไหลเย็น
     กิจกรรม - ชมพรรณไม้ - ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก


ห้วยแม่ใจ


ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลมากตลอดปี น้ำใสสะอาด เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่ห่างจากบ่อน้ำร้อนประมาณ 300 เมตร
     กิจกรรม - แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์


โป่งน้ำร้อน


ตั้ง อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซสเซียล มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร) อุทยานแห่งชาติได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่าป่าเบญจพรรณ มาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร
     กิจกรรม - อาบน้ำแร่ - ชมทิวทัศน์

 

 


ถ้ำห้วยบอน


ตั้ง อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก มีความลึกจากปากถ้ำหนึ่งถึงอีกปากถ้ำหนึ่งประมาณ 324 เมตร กว้างประมาณ 20-30 เมตร ภายในถ้ำไม่มีจุดอันตรายต่อผู้เข้าชม ประมาณกลางถ้ำจะพบโถงถ้ำใหญ่ซึ่งจุคนได้ประมาณ 40-50 คน สภาพถ้ำเต็มไปด้วยเสาหินและหินงอกหินย้อยขนาดต่างๆ และบริเวณใกล้เคียงมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยประมาณ 10 ถ้ำ อยู่ห่างจากอำเภอฝางประมาณ 12 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางเท้าจากบ่อน้ำร้อนระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
     กิจกรรม - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา


ดอยผ้าห่มปก


ดอย ผ้าห่มปก เป็นดอยที่สูงอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูงประมาณ 2,285 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดดอยสูงสุดเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณีวิทยาที่มีชั้นดินตื้น ชั้นหินเป็นหินแกรนิต ประกอบกับอากาศมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งปี จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ทะเลหมอก และถนนบนสันเขา ขนานกับชายแดนไทย-พม่า ซึ่งถือเป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ ส่วนสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำ ป่าดิบเขา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมดุลและหลากหลายทางชีวภาพ ดังเช่นจะพบพันธุ์พืช สัตว์ป่าหายากและที่น่าสนใจนานาชนิด อาทิ เทียนหาง บัวทอง ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล ผีเสื้อมรกตผ้าห่มปก ผีเสื้อหางติ่งแววเลือน ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น ในฤดูหนาวมีนกอพยพมาอาศัย เช่น นกเดินดงคอแดง นกเดินดงดำปีกเทา นกเดินดงสีน้ำตาลแดง ฯลฯ

ลักษณะภูมิประเทศ
    ดอยผ้าห่มปก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มากจึงได้รับการปกป้องไว้ เพื่อเป็นป่าต้นน้ำ

ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพ อากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 องศาเซสเซียล มีอากาศหนาวเย็นในช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 14-19 องศาเซสเซียล ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39 องศาเซสเซียล และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,184 มิลลิเมตร

พืชพรรณและสัตว์ป่า
      สภาพป่าโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ตะเคียน ตะแบก มะไฟป่า จำปีป่า มณฑาดอย อบเชย ตะแบก สัก และก่อชนิดต่างๆ ฯลฯ ที่สำคัญยังมีพรรณไม้ที่หายากของเมืองไทย อาทิ เทียนหาง พิมพ์ใจ และบัวทอง ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณดอยผ้าห่มปก ด้วยสภาพป่าเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งติดต่อกับพื้นที่ของประเทศพม่า จึงทำให้มีสัตว์ป่าต่างๆ ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวางป่า หมี หมูป่า เสือไฟ หมาไม้ หมีควาย หมาไน รวมทั้งนกปีกแพรสีม่วง ซึ่งมีเฉพาะป่าดิบเขาทางภาคเหนือ นกติ๊ดหัวแดง นกขัติยา นกประจำถิ่นหายาก เลียงผา อันเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งของไทย และผีเสื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทยแล้ว คือ ผีเสื้อไกเซอร์อิมพิเรียล (Teinopalpus imperialis)

การเดินทาง
รถยนต์
เริ่ม จากจังหวัดเชียงใหม่มาตามถนนหลวง (หมายเลข 107) ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอ แม่แตง อำเภอเชียงดาว ถึงอำเภอฝาง-บ้านลาน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แยกขวามาตามถนน (หมายเลข 54) บ้านแม่ใจใต้-บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นถนนลูกรังระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงบริเวณบ่อน้ำร้อนเป็นเส้นทางผ่านบ้านสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี รวมห่างจากอำเภอฝางประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นสถานที่เหมาะในการจัดตั้งเป็นสำนักงานอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
รถ ประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัดและบริษัทรถร่วมเอกชน ระหว่าง กรุงเทพ-ฝาง , เชียงใหม่-ฝาง เมื่อถึง อ.ฝาง จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อีกประมาณ 10 กม.

การเตรียมตัว
      นักเดินทางจะมีปัญหากับระบบการหายใจ ซึ่งระดับความสูงของยอดดอย ทำให้สภาพอากาศเบาบาง หายใจลำบาก จึงควรฟิตซ้อมสภาพร่างกายในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องความหนาวเย็น

เส้นทางขึ้นดอยผ้าห่มปก
      มี 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางกิ่วลม ทางปางมงคล และทางหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สาว


วัดเจดีย์งาม


                วัดเจดีย์งาม  สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อ  พ.ศ.  2021  เดิมเป็นวัดร้าง  ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.  2475  ท่านพระครูโสภณเจติยาราม  อดีตเจ้าคณะอำเภอฝาง  ได้ทำการบูรณะพัฒนาขึ้นมาเป็นวัด  เดิมชื่อว่า  วัดหัวกาด  ต่อมาชื่อว่า  วัดหนองไผ่  (จากคำบอกเล่าถวายของพระเดชพระคุณพระเทพวรสิทธาจารย์  เจ้าอาวาสวัดสำเภอ อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่)  และตั้งชื่อใหม่ว่า  วัดเจดีย์งาม  ตามองค์พระธาตุเจดีย์งาม  ได้รับพระราชทานพัทธสีมา  เมื่อวันที่  3  พฤษภาคม  พ.ศ.  2475  เขตพัทธสีมา  กว้าง  60 เมตร  ยาว  80  เมตร  และเมื่อวันที่  23  มกราคม  พ.ศ.  2541  ได้มีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ  ให้วัดเจดีย์งามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  ซึ่งมีความกว้าง  20  เมตร  ยาว  30  เมตร  ประกาศเมื่อวันที่  9  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2542

ความเป็นมาของอุโบสถไม้สักทอง

                พุทธศักราช  2536  ได้มีการสร้างอุโบสถขึ้นมา  1  หลังโดยทำการวางศิลาฤกษ์  เมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ.  2536  โดยพระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  (ช่วงวรปุญญมหาเถระ  ป.ธ.9)  เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ  เจ้าคณะใหญ่หนเนือได้เมตตาเป็นประธานวางศิลาฤกษ์  ซึ่งเป็นอุโบสถหลังนี้สร้างด้วยศิลปะแบบไทยล้านนาผสมศิลปะแบบภาคกลาง  โดยใช้ไม้สักแกะสลักลงรักปิดทองผนังด้านนอกอุโบสถเขียนลายรดน้ำ  ประกอบเป็นภาพลายรดน้ำ  พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช  ส่วนผนังด้านในอุโบสถแกะสลักเป็นภาพทศชาติ  และมหาชาติทำการลงรักปิดทอง  และเขียนภาพไตรภูมิพระร่วง  ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวล้านนาในอดีต  และวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมชาวไทยเขินเมืองเชียงตุง   พร้อมกันนี้ยังได้เขียนภาพประวัติของพ่อขุนศึกเม็งรายมหาราชผู้ปกครองเมืองฝางไว้ในอุโบสถด้วย

                 อุโบสถหลังนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างเป็นระยะเวลา  7  ปี  (2536-2542)  จึงจะแล้วเสร็จ  โดยมีช่างผู้ชำนาญการในการแกะสลักไม้สักทองจำนวน  5  ชุด  สิ้นทุนทรัพย์ในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน  22  ล้าน  5  แสนบาท


อนุสาวรีย์พระเจ้าฝาง-พระนางสามผิว


อนุสาวรีย์  พระเจ้าฝางอุดมสิน พระนางสามผิว ( บ่อน้ำซาววา )

            ตั้งอยู่ที่  สวนสุขภาพ  หน้าวัดพระบาทอุดม  ตำบลเวียง  อำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่ 

ประวัติความเป็นมา               

            ตามหลักฐานที่ค้นพบหลายๆแห่งระบุว่า  พระเจ้าฝางอุดมสิน  พระนามเดินชื่อ  พระยาเชียงแสน  เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าเมืองเชียงแสน  ได้มาปกครองเมืองฝาง  ในปี  พ.ศ.  2172  ศักราชได้  99  ตั๋ว  เดือนแปดแรม  13  ค่ำ  พระเจ้าฝางพร้อมด้วยพระชายาซึ่งมีพระนามว่า  พระนางสามผิว  ซึ่งเป็นบุตรีของเจ้าเมืองล้านช้าง  (เวียงจันทร์)  ซึ่งมีพระศิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศว่าพระองค์มีผิวพระวรกายถึงสามผิว  ในแต่ละวันคือตอนเช้าจะมีผิวขาวดังปุยฝ้าย  ในตอนบ่ายจะมีสีแดงดังลูกตำลึงสุก  และในตอนเย็นผิวพระวรกายของพระนางจะเป็นสีชมพูดุจดอกปุณฑริก (ดอกบัวขาบ)

  
           
พระเจ้าฝาง  พระนางสามผิว  ทรงมีพระราชธิดาองค์หนึ่งมีพระนามว่า 
พระนางมัลลิกา  ในขณะที่พระองค์มาปกครองเมืองฝางนั้น  เมืองฝางยังคงเป็นเมืองขึ้นของพม่า  พระเจ้าฝางจึงทรงมีความคิดที่จะกอบกู้อิสรภาพให้แก่เมืองฝาง  โดยให้ส้องสุมผู้คนและได้ตระเตรียมอาวุธเสบียงกรัง  โดยไม่ยอมส่งส่วยและขัดขืนคำสั่งของพม่า  ซึ่งทางพม่าได้ล่วงรู้ว่าเมืองฝางคิดจะแข้งข้อต่อตน  จึงได้ยกกองทัพมาปราบ  โดยกษัตริย์พม่าแห่งกรุงอังวะพระนามว่า  พระเจ้าภะวะสุทโธธรรมราชา  เป็นแม่ทัพใหญ่นำกองทัพเข้าตีเมืองฝางในปี  พ.ศ.  2176  ศักราชได้  955  ตั๋ว  พระเจ้าฝางนำกองทัพป้องกันเมืองอย่างแข็งขัน  ทำให้พระเจ้าภะวะสุทโธธรรมราชาเข้าตีเมืองไม่ได้

  
            
พระเจ้าภะวะสุทโธธรรมราชาจึงได้เปลี่ยนแผนการรบใหม่โดยนำกำลังทหารล้อมเมืองไว้  พร้อมทั้งตั้งค่ายอยู่บนเนินด้านทิศเหนือของเมืองฝาง  คือที่ตั้งศาลจังหวัดฝาง  เรือนจำจังหวัดฝาง  สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่  สาขาฝาง
  สถานีตำรวจภูธรอำเภอฝาง  หรือที่เราเรียกว่า  เวียงสุทโธ  ในปัจจุบันนี้  แล้วสั่งให้ทหารระดมยิงธนูไฟ (ปืนใหญ่)  เข้าใส่เมืองฝางทำให้บ้านเมืองฝางเกิดระส่ำระส่าย  ประชาชนเสียขวัญและทหารล้มตายลงเป็นจำนวนมาก

  
            
พระเจ้าฝาง  พระนางสามผิว  ทั้งสองพระองค์ทรงคิดว่าสาเหตุของการเกิดศึกในครั้งนี้  ต้นเหตุนั้นเกิดจากพระองค์ทั้งสองแท้ๆที่คิดจะกอบกู้อิสรภาพ  ทำให้ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อนและการกระทำครั้งนี้ก็ไม่สำเร็จ  ทั้ง สองพระองค์จึงตัดสินพระทัยสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องผู้คนเมืองฝางให้พ้นจาก ความอดอยากและการถูกเข่นฆ่าจากกองทัพของพระเจ้าภะวะสุทโธธรรมราชา
        

        
            
และในคืนนั้นคือวันขึ้น  5  ค่ำ  เดือน  6  เหนือปี  พ.ศ.  2180  ศักราชได้  999  ตั๋ว  พระเจ้าฝางพร้อมด้วยพระนางสามผิว  จึงได้สละพระชนม์ชีพ  ด้วยการกระโดดบ่อน้ำซาววา  และในตอนรุ่งสางของวันนั้น  กองทัพพระเจ้าภะวะสุทโธธรรมราชาก็ตีและบุกเข้าทางกำแพงเมืองด้านทิศเหนือของเมืองฝางได้สำเร็จ  เมื่อรำลึกถึงวีรกรรมของพระเจ้าฝาง  พระนางสามผิว  ที่ทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องประชาชนของพระองค์  พระเจ้าภะวะสุทโธธรรมราชาจึงได้ออกคำสั่งมิให้ทหารของพระองค์  ทำร้ายเข่นฆ่าชาวเมืองฝางอีก  และได้ยกกองทัพกลับไปกรุงอังวะ  ประเทศพม่า  โดยมิได้ยึดครองเมืองฝางแต่ประการใด

                 
          
เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน  คณะลูกเสือชาวบ้านพร้อมด้วยผู้ที่เคารพนับถือในสองพระองค์ท่าน  จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าฝาง-พระนางสามผิวขึ้น    ด้านหน้าบ่อน้ำซาววา  ในปี  พ.ศ.  2522  โดยก่อสร้างด้วยปูน  ต่อมาได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นใหม่โดยให้ทำการหล่อด้วยโหละ  เมื่อปลายปี  พ.ศ.  2539  ถึง  พ.ศ.  2540  เพื่อจะได้เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนตลอดปี


ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขาง 
          เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๗ สายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ ๑๓๗ จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
          ลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะทำให้อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วง เดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมา เห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้ แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร  สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๒ มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง

พรรณไม้ที่ปลูก
- ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ
- ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
- ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ

ใน พื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย

ที่สถานีฯยังเป็นแหล่งเที่ยวชม วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า "ดอยคำ" และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ

สวน บอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
 
หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน  อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว 
จุด ชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่ บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา  มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า

หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)
บริเวณหน้า หมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มี โอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วน ตัวของเขามากเกินไป  และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อ ช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย

หมู่ บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้ง ที่ ๒ และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง มีหลายอย่างที่สามารถทำได้เช่น เดินเท้าศึกษาธรรมชาติ ขี่ล่อล่องไพร เป็นต้น

 

 

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 27171

แสดงความคิดเห็น โดย ปรีญาแมนชั่น อ.ฝาง เชียงใหม่ IP: Hide ip , วันที่ 08 ก.ค. 52 เวลา 11:52:49
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี