หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
รวมกระทู้ทั้งหมด
เว็บบอร์ด » รวมกระทู้ทั้งหมด
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
“อุโมงค์รถไฟขุนตาน“ กับ “วิบากแรงงานฝิ่น“ (โดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์)

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
“อุโมงค์รถไฟขุนตาน“ กับ “วิบากแรงงานฝิ่น“ (โดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์)
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 06 ก.ค. 58 เวลา 22:55:28 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

“อุโมงค์รถไฟขุนตาน“ กับ “วิบากแรงงานฝิ่น“ (โดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์)

 

เพิ่งผ่านพ้นวันกรรมกรหรือวันแรงงานมาหมาดๆ จึงขอนำเสนอเรื่อง "แรงงาน" ที่มีส่วนช่วยให้การก่อสร้าง "อุโมงค์รถไฟขุนตาน" บรรลุผลสำเร็จ ที่น่าอัศจรรย์ใจคือแรงงานเหล่านี้หาใช่แรงงานธรรมดาทั่วไปไม่ หากเป็น "แรงงานฝิ่น" !

 

ในยุคสมัยที่สังคมไทยถูกชาวตะวันตกบังคับให้จ้องจับผิดคนจีนสูบฝิ่น กอปรกับนโยบาย "ชาตินิยมต่อต้านชาวจีน" ของรัชกาลที่ 6 ก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

แต่จะให้ทำเช่นไรได้ ในเมื่อ "แรงงานฝิ่น" เป็นทางออกสุดท้าย สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟขุนตานเมื่อ 100 กว่าปีก่อน

 

 

ปริศนานาม "ขุนตาน"- “ขุนตาล"

 

ชื่อ "ขุนตาน"- “ขุนตาล" นั้นหมายถึงอะไร และสะกดอย่างไรกันแน่ ทำไมจึงใช้ปะปนมั่วไปหมด


อุโมงค์รถไฟขุนตาน สถานีรถไฟขุนตาน

 

แต่ครั้นพอเอ่ยถึงอุทยานกับวัด ซึ่งสร้างขึ้นภายหลังจากสถานีรถไฟ กลับแผลงเป็น


อุทยานแห่งชาติขุนตาล กับ วัดดอยขุนตาลไปเสียนี่

 

อันที่จริงเรื่องนี้ได้เคยมีการจัดเวทีเสวนาหลายครั้ง ได้ข้อสรุปมานานกว่าสิบปีแล้วว่า "ขุนตาน" นั้นเป็นคำที่ถูกต้องกว่า "ขุนตาล"

 

เพราะต้นตาลไม่ใช่พันธุ์ไม้ที่เติบโตบนยอดเขาสูง

 

เพียงแต่ว่า "ตาน" ตัวนี้จะมาจากความหมายใดเท่านั้นเองระหว่าง

 

นัยแรก "ขุนธาร" มาจากขุนเขา+ลำธาร แล้วเรียกแบบภาษาเหนือกลายเป็นขุนตาน โดยมีน้ำแม่ตาน อยู่ไม่ไกลกัน

 

หรือจะหมายถึง "ขุนต้าน" ตามที่พงศาวดารโยนก กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนที่ "พระญาเบิก" กษัตริย์องค์สุดท้ายของเขลางค์นคร ผู้เป็นพระราชโอรสของพระญาญีบา กษัตริย์องค์สุดท้ายของหริภุญไชยนครไ ด้สร้างวรีกรรม "ต้านกองทัพ" ของขุนครามโอรสพระญามังรายที่ยกมาตีนครหริภุญไชยในปี 1824 อย่างแข็งขัน

 

พระญาเบิกอาสาต้านทัพจนตัวตาย เปิดทางให้พระญาญีบาผู้พ่อซมซานหนีตายรอดชีวิตไปได้

 

พระญามังรายจึงให้ขุนครามปลงศพ "พระญาเบิก" เพื่อถวาย "ทาน" แด่ขุนเขา "ทาน" ตัวนี้คนเหนือออกเสียงว่า "ตาน" นั่นเอง

 

ทุกวันนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อขุนตานซึ่งชาวลำพูน-ลำปาง เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตดวงวิญญาณของพระญาเบิกและพระญาญีบา

 

ไม่ว่า "ขุนตาน" จะมีที่มาจากชื่อใดกันแน่..."ขุนธาร" "ขุนต้าน" หรือ"ขุนทาน" แต่เห็นได้ว่าไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ "ต้นตาล" อย่างแน่นอน

 

เป็นความเข้าใจผิดของเหล่าข้าราชการจากส่วนกลางที่ชอบดูถูกชาวบ้าน คิดเองเออเองว่า "ตาน" ไม่เห็นมีความหมายอะไรเลย นอกจาก "ตานขโมย" สงสัยชาวบ้านจะตกภาษาไทย อย่ากระนั้นเลย จึงขอเปลี่ยน ใหม่ให้เป็น "ขุนตาล" ดีกว่า

 

อนึ่ง ในตำนานการสร้างพระธาตุผาเงา เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ยังมีการกล่าวถึงวีรบุรุษในท้องถิ่นที่มีชื่อนำหน้าว่า "ขุน" เริ่มจาก "ขุนรัง" ผู้สร้างเจดีย์ดอยชัน หรือพระธาตุผาเงา มีทายาทสืบเชื้อวงศา  12 ขุน ได้แก่ ขุนผาพิงค์ ขุนรัว ขุนช้าง ขุนลาน ขุนตาน ขุนตง ขุนแตง ฯลฯ ทั้งหมดเรียกว่าขุนกินเมือง

 

"ขุนตาน" ได้ยกทัพขยายไปประชิดติดเมืองลำปางเพื่อเข้าสู่ลำพูน จนไปพบถ้ำๆ หนึ่ง และถ้ำนั้นได้ชื่อว่าถ้ำขุนตานมาจนเดี๋ยวนี้

 

 ทว่า ตำนานหน้านี้ออกจะขัดแย้งกับการรับรู้ดั้งเดิมของชาวลำพูน-ลำปางอยู่สักหน่อย อีกทั้งไม่ระบุศักราชของเรื่องราวว่าตรงกับรัชกาลใด ของราชวงศ์จามเทวีหรือราชวงศ์มังราย

 



โศกนาฏกรรมแห่งแรงงานทาสแรงงานฝิ่น

 

จุดเด่นของอุโมงค์รถไฟขุนตาน คือนอกจากจะมีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และสร้างบนที่สูงที่สุดในประเทศไทยแล้ว ยังต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างนานที่สุดอีกด้วยคือนานถึง 14 ปี

 

ถือเป็นทางรถไฟสายวิบากยากเข็ญที่สุดในตำนานการรถไฟไทยก็ว่าได้ ซึ่งคงไม่ง่ายนักสำหรับเทคโนโลยีอันจำกัดของชาวสยามเมื่อยุค 100 ปีก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงต้องจ้างวิศวกรชาวเยอรมันนามว่า "เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์" มาควบคุมและวางแผนการก่อสร้าง

 

คนในท้องถิ่นเรียกเขาย่อๆว่า "โฮเฟอร์" บุรุษผู้มีความรักในแผ่นดินขุนตานอย่างสุดซึ้ง เพราะแม้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี2560 เขาจักเคยถูกส่งตัวกลับประเทศเยอรมนีไปแล้วในฐานะที่ไทยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร

 

แต่เมื่อสิ้นสุดสงคราม ปี 2472 เขายังอุตส่่าห์เดินทางกลับมาใช้ชีวิตที่แม่ทาอีกครั้ง ปัจจุบันอัฐิของเขายังคงสถิตในอนุสาวรีย์เล็กๆ อยู่ ณ ปากอุโมงค์ขุนตานทางด้านทิศเหนือเขตแม่ทา ลำพูนด้วย

 

การก่อสร้างอุโมงค์มาราธอนนี้มีขึ้นระหว่างปลายรัชกาลที่ 5-รัชกาลที่ 7 คือเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2450 ไปเสร็จสิ้นในปี 2564 ถือเป็นทางรถไฟสามแผ่นดิน

 


ความยากเข็ญในการก่อสร้าง คือต้องทะลวงภูเขาอันทึบตัน โดยไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน

 

อุปกรณ์หลักมีเพียงค้อน สิ่ว เสียม ชะแลง พลั่ว ต้องใช้แรงคนเป็นส่วนใหญ่ ใช้เวลาขุดเจาะกันนานถึง 8 ปี จึงทะลุถึงปลายทาง

 

ปริมาณหินที่ได้จากการขุดเจาะมากกว่า 60,000 ลูกบาศก์เมตร ถูกขนออกมาถมลำห้วยปากถ้ำจนกลายเป็นที่ตั้งของตัวสถานีรถไฟขุนตานที่ราบเรียบในปัจจุบัน

 

แรงงานก่อสร้างต่อจากขั้นตอนการขุดเจาะ คือการผูกเหล็กและเทคอนกรีต กรรมกรในขั้นตอนหลังนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ (มักถูกเรียกอย่างเหยียดหยามว่าเงี้ยว) และคนอีสาน เนื่องจากยุคนั้นมีทางรถไฟสายกรุงเทพ-โคราชแล้ว ทำให้แรงงานอีสานหลั่งไหลเข้ามาสมัครทำงานเพื่อแลกค่าตัวไปไถ่อิสรภาพให้พ้นจากความเป็นทาส

 

การเลิกทาสแม้จะมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว แต่สำหรับชนบทรอบนอกดังเช่นมณฑลพายัพนั้น เพิ่งจะเริ่มประกาศในสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วยการออก “พระราชบัญญัติลักษณะทาษศก 124” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455เป็นต้นไป

 

ผลของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้ทาสที่มีอยู่จะลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาทจนหมดค่าตัว และค่อยๆ  หมดไป เห็นได้ว่า ปี 2455 เป็นปีเดียวกันกับที่เริ่มต้นเอาแรงงานทาสมาสร้างอุโมงค์ขุนตาน

 

ในขณะที่ ขั้นตอนการขุดเจาะช่องภูเขาในอุโมงค์ต้องใช้กรรมกรชาวจีน และไม่ใช่ชาวจีนธรรมดา หากแต่ต้องเป็นจีนติดฝิ่นเท่านั้น!

 

การจ้างแรงงานฝิ่นครั้งนี้ มิได้ทำไปด้วยความชื่นชอบ แต่เพราะความจำเป็นด้วยไม่มีทางเลือกอื่น เหตุที่คนสูบฝิ่นนั้นจะมีธรรมชาติพิเศษ นั่นคือมีความอดทนทรหดต่อการขาดอากาศหายใจได้นาน ไม่ต้องพึ่งพาอ็อกซิเจนในปริมาณที่มากเท่ากับคนปกติธรรมดา จึงสามารถทำงานในอุโมงค์ได้นานถึงวันละ 8 ชั่วโมง

 

ควบคูู่ไปกับ "หน้าฉาก" ที่มีการจัดตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นเพื่อเยียวยาจิตใจแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ แต่หลังฉากนั้น ไอเซนโฮเฟอร์ได้ติดต่อกับรัฐบาลสยาม ให้จัดส่ง "ฝิ่น" มาจำหน่ายแก่แรงงานอย่างเปิดเผย โดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย เพื่อให้แรงงานไม่ต้องพะว้าพะวังว่าจะไม่มีฝิ่นสูบ แล้วหันเข้าหาการพนันแทน

 

 

เพื่อสะดวกแก่การขนเศษหินออกและเพื่อระบายอากาศ เมื่อตกถึงกลางคืน มีการแจกโคมไฟให้กรรมกร 2 คนต่อโคม 1 ดวงเรียกว่า "โคมเป็ด"

 

มีลักษณะเป็นเครื่องมืออัดลมสั่งตรงมาจากเยอรมนี สำหรับช่วยดูดควันพิษออกมา และช่วยสูบน้ำเข้าไปในอุโมงค์ ให้คนงานใช้อาบลดอุณหภูมิความร้อนอีกโสดหนึ่งด้วย

 

โคมเป็ดมีรูปร่างคล้ายเป็ด แต่ไม่มีหัว-ไม่มีขา คอเป็ดมีรูใส่ไส้ตะเกียงยื่นออกมา บนหลังมีห่วงเพื่อให้ลวดหรือเชือกร้อยได้ ใช้แขวน-หิ้วได้ เชื้อเพลิงที่ใช้คือน้ำมันก๊าดผสมน้ำมันมะพร้าว เมื่อกรรมกรเจาะลึกเข้าไปในถ้ำมากขึ้น การขนเศษหินดินก็ไม่สะดวกตามไปด้วย

 

 เมื่อกรรมกรอยู่ในอุโมงค์เป็นจำนวนมาก การใช้โคมก็มากตามไปด้วย ทำให้อากาศมีน้อย มีการตั้งเครื่องเป่าอากาศที่ปากอุโมงค์ ถ้าหากตอนใดที่อุโมงค์ไม่หนาก็จะเจาะปล่องทะลุขึ้นไปบนหลังเขา

 

วิธีแก้ไขเรื่องอากาศไม่พอหายใจในอุโมงค์ ทำได้ด้วยการขุดปล่องทะลุถึงตอนบนหลายๆ ปล่อง แล้วใช้ ไม้ตีประกบกันเป็นรูปโรงสีไฟ จากนั้นก็ขนเศษไม้ฟืนจุดไฟในอุโมงค์เพื่อไล่อากาศอับทึบออกไปตอนบนและปล่องก็จะดูดอากาศเข้ามาถ่ายเท ทำให้คนงานสามารถเจาะอุโมงค์ได้ลึกไปเรื่อยๆ 

 

การขุดเจาะดำเนินตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ทุกเดือน เป็นเวลาถึง 8 ปีกว่าที่อุโมงค์มาบรรจบกันระหว่างฝั่งลำปางกับลำพูน

 

 

กว่าอุโมงค์จักสำเร็จ โครงการนี้ต้องสังเวยแรงงานทาสแรงงานฝิ่นไปหลายร้อยศพ โดยเฉพาะกลุ่มของกรรมกรฝิ่นที่ยอมอุทิศตน เหตุเพราะกรรมกรอื่นๆ ไม่ยอมเสี่ยงตายเข้าไปทำงานในอุโมงค์

 

 

สิ่งที่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบแรงงานทางชนชั้น ก็คือหากกรรมกรฝิ่นไม่ยอมทำงาน พวกเขาก็จะต้องทนทรมานตัวเองด้วยการไม่มีฝิ่นสูบ เพราะก่อนที่จะเข้าอุโมงค์ในแต่ละผลัด เจ้าหน้าที่รัฐจะให้กรรมกรยืนรอเบิกฝิ่นที่จะจ่ายให้คนละหลอด พร้อมด้วยเทียนไข

 

และอีกครั้งหนึ่งจ่ายในเวลาเย็น ทุกครั้งที่มีการเบิกฝิ่นก็จะหักเงินค่าแรงงานจากบัญชีของแรงงานผู้นั้น

ส่วนฝิ่นที่ได้ก็มาจากการส่งส่วยของชาวบ้านแถบลำพูน-ลำปางในละแวกนั้นเอง

 

ครั้นอุโมงค์สร้างเสร็จ กลุ่มเจ้านายฝ่ายเหนือเมืองลำพูนลำปาง เชียงใหม่ กลับรู้สึกไม่ค่อยพอใจนัก เพราะมันย่อมหมายถึง การขนไม้สักลงไปเพื่อส่งส่วยรัฐบาลสยามก็จักสะดวกดายยิ่งขึ้น ทางรถไฟสายนี้จึงไม่ต่างอะไรไปจาก "โบกี้ไม้ซุง"

 

เก็บเกร็ดมุขปาฐะเล็กๆ น้อยๆ มาเล่าให้ฟัง จะได้เห็นเบื้องหลังการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟขุนตาน ว่าต้องฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนามอะไรมาบ้าง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

 

 

วิญญาณของไอเซนโฮเฟอร์และแรงงานฝิ่นชาวจีนคงสะเทือนใจไม่น้อย หากรับรู้ว่าประเทศไทยกำลังจะมีนโยบายโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยยุคนี้คงไม่ต้องเหนื่อยยากหลอกล่อกรรมกรให้ต้องสูบฝิ่นเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว

 

แต่น่าสังเวชใจยิ่งนักที่โปรเจคท์หลายอย่างกลับถูกแช่แข็งด้วยเกมทางการเมืองมานานหลายปีแล้ว

 

 

ปริศนาโบราณคดีตอนที่ 129 มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1708

 

 

แสดงโฆษณา

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 274

แสดงความคิดเห็น โดย ตนข่าว IP: Hide ip , วันที่ 06 ก.ค. 58 เวลา 22:55:28
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี