หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ตรวจสเป็ก รมว.ไอซีทีใหม่ในฝันของคนด้านไอทีเมืองไทย
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ตรวจสเป็ก รมว.ไอซีทีใหม่ในฝันของคนด้านไอทีเมืองไทย
ตรวจสเป็ก รมว.ไอซีทีใหม่ในฝันของคนด้านไอทีเมืองไทย
บทความ
 
ตรวจสเป็ก รมว.ไอซีทีใหม่ในฝันของคนด้านไอทีเมืองไทย

ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย เริ่มเข้าที่เข้าทางภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อ 23 ม.ค.2550 ที่ผ่านมา จนวันนี้ดูเหมือนว่าภาพของการจัดตั้งรัฐบาลใกล้จะเป็นความจริงเข้าไปทุกที เชื่อว่าภายในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ม.ค.2551 น่าจะได้เห็นใบหน้าของรัฐมนตรีว่าการ ในกระทรวงต่างๆ กันแล้ว โดยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่คนในวงการนี้ ทั้งข้าราชการ ผู้ประกอบการ ต่างจับตามองว่า ใครจะมาทำหน้าที่นี้ จะเป็นคนเดิม หรือคนใหม่ถอดด้าม

เมื่อวันที่ 26 มกราคม ที่ผ่านมา ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หรือ ไอทีพีซี ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550 ที่ไร่อรุณวิทย์รีสอร์ท จ.สระบุรี โดยภายในงานนี้ได้มีการเสวนาประจำปี ในหัวข้อ “มุมมองภาคเอกชนต่อรัฐบาลใหม่” ที่นำเอาตัวแทนของสมาคมด้านไอซีที 3 ฝ่ายมานั่งพูดคุยแบ่งปันความคิดเห็น และความคาดหวังที่มีต่อ รมว.ไอซีทีคนใหม่ รวมทั้งสะท้อนปัฯหาที่ผ่านมาของทางภาคเอกชน และแนวทางในการแก้ไขในอนาคต

นายอนันต์ วรธิติพงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า อยากให้รัฐบาลใหม่ให้ความสนใจกับนโยบายด้านโทรคมนาคม ขณะที่เรามีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เข้ามากำกับกิจการโทรคมนาคม และดูแลผู้ให้บริการหลัก คือ ทีโอที และกสท ที่มีเอกชนภายใต้สัญญาร่วมการงาน อาทิ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ ดีพีซี และฮัทช์ ทว่าเจ้าของ และคนดูแลกลับอยู่คนละกระทรวง เมื่อเจ้าของเป็นกระทรวงการคลัง ขณะที่กระทรวงไอซีทีเป็นผู้ดูแล กลายเป็นปัญหาในการประสานงาน

นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ ให้ความเห็นต่อว่า สำหรับปัญหาในวงการโทรคมนาคมไทย ที่ต้องได้รับการแก้ไขหลังจากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารราชการแล้ว ขณะนี้ แบ่งเป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ 1.การส่งเสริมเรื่องการตีความข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสัมปทาน ของผู้ให้บริการเอกชนที่มีสัญญาร่วมการงานกับทาง ทีโอที และ กสท ที่ รมว.กระทรวงไอซีทีต้องมาดูแลแก้ไข 2.สิทธิประโยชน์ของประชาชนที่จะได้ใช้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือความเร็วสูง ที่เวลานี้มีแค่ไทย กับพม่าในภูมิภาคอาเซียนที่ไม่มี 3G ใช้

นายอนันต์ กล่าวเสริมว่า อีกไม่นานจะมีชาวต่างชาติเข้ามาร่วมประชุมนานาชาติที่เมืองพัทยา เชื่อว่าผู้มาร่วมงานส่วนมากจะพกมือถือระบบ 3G มาแล้วสุดท้ายก็จะเอามาใช้ที่เมืองไทยไม่ได้ เรื่องนี้อยากให้ทางคณะรัฐมนตรี กับทาง กทช.เร่งดำเนินการให้การอนุญาตให้บริการ 3G เร็วที่สุด ขณะเดียวกันประกาศต่างๆ ของ กทช.หมายเรื่องมีผลกระทบต่อการแข่งขัน อาทิ ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายทั้ง Interconnection Charge: IC และ Access Charge: AC เพราะทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการให้บริการ ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายแพงขึ้น

รมว.กระทรวงไอซีที จะต้องช่วยผลักดันให้หน่วยงานเช่น กสทช.เกิดขึ้นมา เพราะถ้าไม่มีคนผลักดัน ประเทศไทยก็จะไม่มีผู้มากำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คาดว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เมื่อมีรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว ทาง กทช.ชุดเก่าจะอยู่รักษาการไปจนถึงต้นปี 2552 จนกว่า กสทช.ชุดใหม่จะสรรหาแล้วเสร็จ ตัวผุ้ที่จะมาเป็น รมว.ไอซีทีต้องเป็นผู้ที่อยู่ในวงการ เจ้าในเทคโนโลยี มีทีมงานที่รู้เรื่องไอซีที ควบ๕กับกฎหมาย และทำงานร่วมกับ กทช.ได้ ที่สำคัญต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาให้ กสทช.เกิดโดยเร็ว อันจะนำไปสู่การแข่งขันที่เป็นธรรม” นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ กล่าว

ด้าน นายวิบูลย์ ว่องวีรชัยเดชา นายกสมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย หรือ เอทีซีเอ็ม ให้ความเห็นว่า ก่อนการเลือกตั้ง 23 ธ.ค.2550 ได้มีตัวแทนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งมาชวนไปให้ข้อมูล เพื่อที่พรรคเขาจะได้ทำแผนนโยบายด้านไอซีที ไปใช้หาเสียง จริงๆ แล้วพลังของสังคมอินเทอร์เน็ตก็นับว่ามีส่วนช่วยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้คะแนนเสียงได้ หากมองที่จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศที่อาจสร้างกระแสทางโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ รมว.ไอซีทีนั้น จะต้องมีฐานความรู้ด้านไอที เพื่อที่จะได้สนับสนุนผู้ประกอบการไทยได้ ไม่ใช่เป็นนักการเมืองมืออาชีพ ต้องสามารถคิดเพื่อต่อยอดงานต่างๆ ได้

นายกสมาคม เอทีซีเอ็ม กล่าวเพิ่มเติมว่า ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ดีที่สุดในการพัฒนาประเทศไทย ไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ 5e ได้แก่ e-Government , e-Society, e-Education, e-Commerce และ e-Industry นั้น จำเป็นที่เราต้องมีคอมพิวเตอร์ทุกครัวเรือน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรราคาพอเหมาะ ที่มียอดจำหน่ายกว่า 1.6 แสนเครื่อง แม้ว่าโครงการนี้ต่อมาจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการจนในที่สุด พีซีโลคัลแบรนด์หลายรายอยู่ไม่ได้ เพราะการจัดซื้อของภาครัฐเริ่มกีดกันผู้ประกอบการในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ทีโออาร์ที่ไม่เป็นธรรม ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่อาจแข่งขันได้แบบเท่าเทียม เป็นธรรม

“วันนี้เราที่เป็นผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์ไทย ต้องดิ้นรนหาทางรอดให้กับตัวเอง ทั้งที่จริงปัจจุบันคอมพิวเตอร์แบรนด์ไทย และของต่างประเทศแทบจะไม่มีความต่างทางเทคนิค แต่กลายเป็นว่าอะไรที่เป็นของคนไทยกลับไม่มีใครซื้อ ไปซื้อของที่มาจากเมืองจีน ทำให้ไทยต้องเสียดุลการค้าไปหมด อุตสาหกรรมจะไปได้เราต้องพึ่งพาตัวเอง ต้องทำให้ธุรกิจของคนไทยได้โอกาสในการแข่งขัน เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทย ถูกกีดกันมาตลอดทั้งทีโออาร์ ทั้งคณะกรรมการผู้พิจารณา โดยมีอุปสรรคมากมายทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ขณะนี้ กำไรของธุรกิจคอมพิวเตอร์น้อยมาก หักภาษีแล้วแทบจะไม่เหลืออะไร ดังนั้นอย่าเพิ่งคิดว่าของคนไทยใช้ไม่ได้ ให้ได้ลองแข่งดูก่อนถึงตรงนั้นถ้าแพ้ก็ไม่เสียใจ” นายวิบูลย์ กล่าว

ส่วน นายสมเกียรติ อึ้งอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ เอทีเอสไอ ให้ความเห็นว่า หลังจากที่เริ่มทำงานเป็นนายกสมาคม เอทีเอสไอ ก็มองแล้วว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในอนาคตจะมีอุปสรรคอีกมาก ทางสมาคมมองอุตสาหกรรมเป็นโครงสร้างใน 5 ส่วนหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจ รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ ภาคเอกชนเน้นสร้างผลิคตภัณฑ์ที่ใช้เงินทุนต่ำ แต่ได้งานดีๆ ออกมา และมีระบบโครงสร้างไอซีทีพื้นฐานทีดี ส่วนสุดท้าย คือ การสนับสนุนของภาคประชาชน จะต้องกลับมาคิดว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนได้เตรียมตัว เข้ามาร่วมกันดูแลการใช้ไอซีทีในยุคโลกภาภิวัฒน์ เมื่อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และคอนเทนท์ ที่มาหลอมรวมกัน

นายกสมาคม เอทีเอสไอ ให้ความเห็นอีกว่า คนไทยเราชอบเปิดรับในสิ่งที่ปรุงแต่งแล้ว ชอบความบันเทิง ชอบความสุข นั่นเป็นเหตุให้ที่ผ่านมาทุกอย่างเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนา หรือการจัดการองค์ความรู้ มาสร้างการเรียนรู้ ไทยจำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์ที่ดีอยู่บนความพอเพียง ขณะที่ซอฟต์แวร์ไทยต้องเป็นอัจฉริยะ เพราะซอฟต์แวร์เป็นเครื่องกลหลักในการพัฒนา มาจากทุนทางปัญญา จะเอาเงินมาสู่ไม่ได้ เมื่อคนไทยเข้าใจตรงนี้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโทรคมฯ ก็จะสร้างปัญญาเพื่อขับเคลื่อนสังคม ดังนั้นหากไปหยุดตัวใดตัวหนึ่งวงจรนี้จะไม่สมดุล ทั้งนี้เอกชนยังมีอีกหลายส่วนที่พึ่งพารัฐบาลอย่างเดียวไม่ได้

นายสมเกียรติ ให้ความเห็นเสริมว่า แต่ละปีภาครัฐเองมีการจัดซื้อจัดจ้างในมูลค่าสูงมาก แต่กับผู้ประกอบการไทยไม่ได้มีเวทีได้สู้แบบเป็นธรรม ที่ผ่านมาคนไทยต้องถูกอัดอยู่ในกรอบแคบๆ กลายเป็นของแถมตัวเลือก ทางสมาคมอยากให้ภาครัฐหันมาเปลี่ยนรูปแบบการจัดซื้อ เปิดให้คนไทยได้มีโอกาสแข่งขัน เราขอส่วนแบ่งแค่ 11% ที่ผ่านมาเอทีเอสไอก็พยายามเข้าไปรุกล้ำความคิดของทางสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่กล่าวมา เพื่อให้เกิดผู้ซื้อจริงๆ จะได้มีอุปทานจริงๆ

ส่วนตัวมองว่าเมืองไทยออกมาต้องหันมาทำวิจัยและพัฒนาด้านโอเพนซอร์ส ที่เป็นทางแห่งอนาคต อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดซื้อให้เลือกซื้อของคนไทยก่อน ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ของคนไทยถูกมิงและประเมินโดยความรู้สึก เข้าใจว่าหลายคนอยากได้ รมว.ไอซีทีที่เป็นคนตัดสินใจเก่ง แต่ภาคเอกชนของไทยก็ยังทำการบ้านมาน้อย มีความอ่อนแอ ขาดความจริงจัง ชอบโยนความผิดให้คนคนเดียว เหมือนการเลือกนักฟุตบอลเป็น 11 ตัวจริงลงสนาม โค้ชก็ต้องเอาประวัติ มาใช้ในการพิจารณาเลือกตัวจริง ที่ผ่านมาคนไทยเมื่อพัฒนาอะไรไปแล้วติดปัญหาจะไม่ทำต่อ ไม่กล้าที่จะเป็นผู้แพ้ กล้าตอบ หรือกล้ารู้ว่าแพ้ชนะเป็นอย่างไร

ทั้งหมดนี้ เป็นเสียงจากผู้ประกอบการไทยในทุกส่วนของอุตสาหกรรมไอซีทีเมืองไทย ที่ต่างเฝ้ารอความหวังจากรัฐบาลชุดนี้ และบางส่วนที่ไม่ได้รอความช่วยเหลือ แต่อยากให้สนับสนุน และเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ที่เท่าเทียม เสรี และเป็นธรรม เพื่อที่ผู้ประกอบการไอซีทีไทยจะได้ลืมตาอ้าปาก และอยู่รอดในธุรกิจได้

ที่สำคัญการสนับสนุนคนไทยก็เท่ากับการสร้างการพัฒนา สร้างสังคมองค์ความรู้ ที่จะช่วยให้เมืองไทยมีการต่อยอดเทคโนโลยีได้ในอนาคต ที่สำคัญพวกเขาอยากได้คนไอทีจริงๆ ที่รู้เรื่องจริงๆ ไม่ใช่เป็นแต่นักการเมือง ที่พูดเก่งให้ความหวังได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็เป็นอะไรเดิมๆ ที่ไม่รู้ว่าจะมีกระทรวงไอซีทีไปทำไมจริงๆ ก็ได้....

จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี