หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ถอดบทเรียนผู้บริหารเน็ตเบย์กับมุม มองด้านธุรกรรมออนไลน์
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > ถอดบทเรียนผู้บริหารเน็ตเบย์กับมุม มองด้านธุรกรรมออนไลน์
ถอดบทเรียนผู้บริหารเน็ตเบย์กับมุม มองด้านธุรกรรมออนไลน์
บทความ
 
ถอดบทเรียนผู้บริหารเน็ตเบย์กับมุม มองด้านธุรกรรมออนไลน์

ใครที่เคยปวดหัวกับกองเอกสารมหึมาในหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ หรือ เอกชน ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดปัญหาในการหาสถานที่จัดเก็บนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ผู้ใช้ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีนั้นๆ ตามสมควร

“ธุรกรรมออนไลน์” เป็นทางเลือกที่สำคัญที่องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเลือกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเอกสารที่เป็นกระดาษล้นหน่วยงาน แต่ผู้บริหารองค์กรอาจมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ดีพอ จึงอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด

มุมมองเชิงการให้ความรู้ของ “พิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด น่าจะมีส่วนสำคัญในการช่วยเปิดโลกทัศน์ด้านการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยเฉพาะด้านอี-โลจิสติกส์และการบริหารซัพพลายเชนแก่ผู้ที่ให้ความสนใจได้เป็นอย่างดี

IT Exclusive จึงไม่ลังเลใจที่จะเชิญผู้บริหารท่านนี้ มาเป็นแขกรับเชิญของเรา และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาขอเชิญทุกท่านสัมผัสแนวคิดของเขา ณ บัดนี้...

* * * * * *

IT Exclusive: เน็ตเบย์มีความเป็นมาอย่างไร และทำธุรกิจอะไรบ้าง?

พิชิต: เน็ตเบย์เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ไอเน็ต ไอเอสพีรายแรกของประเทศไทย ที่ในตอนนั้น ก่อนตั้งโดย 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย เนคเทค กสท และทีโอที เพื่อเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ของประเทศไทยให้แก่หน่วยราชการต่างๆ กับบริษัท ซอฟต์แวร์ลิงค์ จำกัด บริษัทที่พัฒนาทางด้านแอพลิเคชันและซอฟต์แวร์โปรแกรมเป็นหลัก โดยซอฟต์แวร์ที่เน้นไป คือ ซอฟต์แวร์ทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics) และซัพพลายเชน (Supply Chain Management) ทั้งหมด แต่ไม่ถนัดการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ

กล่าวถึงบริษัท ซอฟต์แวร์ลิงค์ ไม่ใช่บริษัทเอสไอทั่วไปที่มีการประมูลงานเป็นชิ้นๆ โดยทำทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยโฟกัสไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างเดียว คราวนี้ เมื่อ 2 บริษัทมาเจอกันก็ลงขันตั้งบริษัทขึ้นมาในอัตราการถือหุ้น 60 ต่อ 40 โดยเอาจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่าย คือ ไอเน็ตที่มีธุรกิจและโครงข่ายอินเทอร์เน็ตใหญ่เป็นเบอร์ 1 ของประเทศ มาบวกกับซอฟต์แวร์ลิงค์ที่มีแอพลิเคชันเซอร์วิสอยู่ และเกิดเป็นบิซิเนสออนดีมาน คือ หมาย ความว่า เพื่อให้ลูกค้าพอใจ ลูกค้าต้องการแบบไหนมีให้หมด    

บิซิเนสออนดีมานทำให้การให้บริการและทำธุรกิจกับลูกค้าง่ายขึ้น เพราะว่า ถ้าลูกค้าต้องการทั้งเทิร์นคีย์โซลูชั่นเราก็มีทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ อินฟาสตรักเจอร์ โฮสติ้ง เซิร์ฟเวอร์และแอพลิเคชัน ฯลฯ ให้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มีงบประมาณเยอะ แต่ถ้าลูกค้ามีงบประมาณจำกัดและลงทุนไม่มาก เช่น จ่ายเป็นรายเดือนก็ได้ หรือ ในลูกค้ารายย่อยลงมาหน่อยจะใช้ไปจ่ายไปก็ได้ โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ การเป็นอี-โลจิสติกส์เกตเวย์ หรือ การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์-ออนไลน์ แต่จะเน้นซัพพลายเชน เอกสารทางการค้า หรือ เรียกชิบปิ้งดอกคิวเม้นท์ 

ชิบปิ้งดอกคิวเม้นท์อาจจะจำกัดอยู่แค่ในวงการชิบปิ้ง แต่ความจริงตัวเกตเวย์กว้างกว่านั้น คือ เป็นพวกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแบบฟอร์มทั้งหลาย แต่เปลี่ยนให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ฟอร์ม และสามารถกรอกข้อมูลได้จากออฟฟิศผู้ประกอบการ ก่อนส่งเข้าสู่เกตเวย์และส่งไปยังหน่วยราชการต่างๆ โดยกรมศุลกากรเป็นแค่หนึ่งในหน่วยงานที่ส่งข้อมูลเข้าไป ซึ่งทั้งหมดนี้ ได้แก่ บริการอี-โลจิสติกส์ การบริหารห่วงโซ่อุปทานและการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมออนไลน์ สำหรับจุดแข็งนั้น อยู่ที่การพัฒนาอินฟาสตรักเจอร์ ทีมอาร์แอนด์ดีและโปรแกรมเมอร์

IT Exclusive: ภาพรวมของธุรกิจในปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไร?

พิชิต: ความจริงเน็ตเบย์เพิ่งเริ่มทำธุรกิจมาเมื่อประมาณ 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยถือว่า การเติบโตค่อนข้างดี สำหรับลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่อยู่ในโลจิสติกส์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม โลจิสติกส์ความจริงกว้างมาก ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่มชิบปิ้ง คือ บริษัทเรือ สายการเดินเรือ คาโก้แอร์ไลน์และบริษัทประกันภัย

IT Exclusive:  คู่แข่งที่สำคัญในธุรกิจนี้ เป็นผู้ประกอบการจากในหรือต่างประเทศ?

พิชิต:  ต้องเรียนว่า การที่คนจะมุ่งมายังเป้าหมายทางด้านอี-โลจิสติกส์เกตเวย์นั้น ในบ้านเราน้อยมากที่จะมีคนคิดมาตรงนี้ โดยเดิมทีมีผู้ประกอบอยู่ 2 ค่าย สำหรับเราเป็นค่ายที่ 3 และเพิ่งมาทำเกตเวย์แบบนี้ สำหรับการแข่งขันถ้าพูดถึงว่า เรามาเป็นเกตเวย์เมื่อปีที่แล้ว โดยเป็นเกตเวย์ให้กับการกรอกข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบขนสินค้า ฯลฯ ให้กับกรมศุลกากร แต่พอมาถึงปีนี้ กรมศุลกากรได้เปลี่ยนแปลงระบบจากการรับ-ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอเดิม มาเป็นระบบอี-คัสคอม (E-CUSTOM PAPER LESS) หรือ อีวีเอสเอ็มแอล

สำหรับระบบอีวีเอสเอ็มแอลเป็นการใช้คอมพิวเตอร์มทำเอกสารนำเข้า-ส่งออกผ่านคอมพิวเตอร์ออนไลน์ จากที่ทำการของผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศมายังกรมศุลกากร ที่ปรากฎว่า จากจุดแข็งของเราที่มีทีมอาร์แอนด์ดีและอื่นๆ ที่กล่าวมา ทำให้การเติบโตของเราพุ่ง สมมุติว่า ปีที่แล้วเรามีลูกค้า 100 ราย ปีนี้ เพิ่มเป็น 200 สูงขึ้นเป็น 100%

IT Exclusive: ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ธุรกิจของเน็ตเบย์เติบโตคืออะไร ระหว่างกรมศุลกากร หรือ ความตื่นตัวของผู้ใช้บริการ?

พิชิต: ที่จริงปัจจัยหลักมาจากความเปลี่ยนแปลงมากกว่า ในส่วนของกรมศุลกากรเป็นการเปลี่ยนถ่ายจากระบบเดิมมาเป็นระบบใหม่ เพราะมีวิสัยทัศน์มองว่า ต้องช่วยผู้ประกอบการให้เกิดความสะดวกมากขึ้น คือ ในอดีตการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบ ขนสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก ถึงแม้จะส่งด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบอีดีไอ แต่ผู้ ประกอบการก็ยังต้องพิมพ์ใบขนส่งสินค้าที่เป็นแบบฟอร์มกระดาษเพื่อลงนาม เซ็นชื่อ หรือ ประทับตรา แล้วจึงนำไปยื่นให้กับกรมศุลกากรเพื่อเป็นหลักฐาน กลายเป็นว่า ยังต้องใช้เอกสาร แต่พอเปลี่ยนมาใช้ระบบอีวีเอสเอ็มแอลหมายถึงไม่มีเอกสารอีกแล้ว ส่งแล้วจบเลย ต้นทุนของผู้ประกอบการก็ลดลง

สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง เพราะการใช้ระบบอีดีไอจะต้องเอาเอกสาร เช่น ใบอินวอยซ แพ็คกิ้งลิส ใบขนสินค้าขาเข้า-ขาออกและใบกำกับตู้ ฯลฯ ไม่รู้กี่ใบ ใบหนึ่ง ชุดหนึ่งราคา 10 บาท 8 บาท นอกจากนั้น ยังต้องมีพนักงานส่งเอกสารไปส่งกรมศุลกากร ดังนั้น ลองนึกภาพดูใน 1 วัน หรือ 1 ปี กรมศุลกากรมีมีเอกสารพวกนี้ เท่าไร เอาง่ายๆ เฉพาะใบขนสินค้าเข้า-ออก 1 ปี ประมาณ 6 ล้านฉบับ แต่พอมาเป็นระบบอีวิเอสเอ็มแอลสะดวกมากๆ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและกรมศุลกากร

IT Exclusive: สำหรับในปีนี้ วางแผนธุรกิจไว้อย่างไรบ้าง?

พิชิต: เราได้ทำแผนธุรกิจไว้เนื่องจากเราเริ่มต้นและคิดค่าบริการลูกค้าที่ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นทรานแซกชั่น และ 1 ทรานแซกชั่นราคาถูกมากไม่กี่บาท เช่น 10 บาท 20 บาท และ 30 บาท ฯลฯ ต่อทรานแซกชั่น สำหรับปีที่ผ่านมา ยอดขายของเราอยู่ที่ 30 ล้านบาท แต่ปีนี้ เราตั้งเป้าไว้ที่ 80 ล้านบาท ขณะที่ผู้ประกอบการแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ เพราะอุปกรณ์มีเพียงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางให้บริการการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประเทศในกลุ่มอาเซียตามนโยบายการรุกตลาดต่างประเทศ ล่าสุด เราได้ดำเนินการตามนโยบายอีอาเซียน (eASEAN Single Window) เพื่อสร้างมาตรฐานเดียวกันกับเกตเวย์ประเทศต่างๆ ในอาเชียน โดยภายในปี ค.ศ.2008 ประเทศในกลุ่มอาเซียนเดิม เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไนและไทย ฯลฯ จะเริ่มใช้งานเต็มรูปแบบ ส่วนภายในปี ค.ศ. 2012 ประเทศที่เหลือ เช่น พม่า เวียดนามและลาว ฯลฯ จะเริ่มใช้งานเต็มรูปแบบ อันจะช่วยลดขั้นตอน เวลาและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม

IT Exclusive: คิดว่า ปัจจัยที่จะทำให้เน็ตเบย์ก้าวไปถึงเป้าที่วางไว้ คืออะไร?

พิชิต: อย่างที่บอกว่า เรามีจุดแข็งทั้ง 2 ฝ่าย โดยปัจจัยหนึ่งในนั้น คือ โนฮาว ที่ทีมงานของเรามีโนฮาวตรงนี้ มาก และอยู่ในกระบวนการซัพพลายเชนมานาน ทำให้เมื่อเราวางโปรดักส์อะไรออกมาค่อนข้างไปได้เร็ว หมายความว่า เมื่อเราเปิดตัวโปรดักส์อะไรออกมาสามารถตอบสนองและตรงกับความต้องการของลูกค้า เพราะความจริงการเป็นโลจิสติกส์เกตเวย์ไม่ใช่มีทุนแล้วมาตั้ง โดยซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาทำ แต่อาจจะไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพราะมีลูกค้าบางส่วนที่มีแพลตฟอร์มเฉพาะองค์กร ดังนั้น ตรงจุดนี้ ใช้ทุนมาแก้ปัญหาไม่ได้

ธุรกิจตรงนี้ ไม่ใช่ตอบโจทย์ที่ว่า มีเงิน มีทุน หรือ เป็นเศรษฐีแล้วมาทำได้ เพราะว่า เมื่อพูดถึงโลจิสติกส์ไม่ใช่เฉพาะขบวน การขนส่งสินค้า ทั้งๆ ที่ความจริงครอบคลุมใหญ่กว่าการขนส่งสินค้ามาก เช่น ตั้งแต่ผู้ซื้อผู้ขายเจอกัน การเจรจากัน ขณะที่สินค้าบางอย่างต้องผลิต เช่น โรงงานผลิตเสื้อผ้าที่เมื่อมีลูกค้ามาสั่ง ผู้ผลิตก็ต้องซื้อวัตถุดิบมาผลิต วางแผนการผลิต  หรือบริหารจัดการ ในขณะที่การซื้อวัตถุดิลก็ต้องเข้าเกตเวย์ไหนเกตเวย์หนึ่งอย่างเช่นที่เรากำลังทำ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นขบวน การโลจิสติกส์ทั้งหมด

IT Exclusive:  แนวโน้มการใช้งานระบบ PAPERLESS ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

พิชิต: ต้องบอกตรงๆ ว่า แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกเป็นแบบนี้ แต่ประเทศไหนจะเร็ว หรือ ช้า อยู่ที่ว่า ประเทศไหนเห็นคุณค่าและได้ประโยชน์ สำหรับในประเทศไทยแล้ว กรมศุลกากรมองเห็นและพัฒนาไปตามแนวทางนี้ แต่ผู้ประกอบการยังแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ บริษัทข้ามชาติและบริษัทของคนไทย โดยในกรณีที่เป็นบริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบมาก และเมื่อมาเห็นราคาที่เราทำ 10 บาท 20 บาท 30 บาทและ 40 บาท ฯลฯ จะบอกว่า ถูกมาก แต่คนไทยเองอย่าว่าราคา 30 บาท 40 บาท แค่ราคา 10 บาท ยังไม่อยากจ่ายเลย เพราะยังยึดติดรูปแบบเดิมๆ   

สักวันหนึ่งถ้าคนไทยยังไม่เปลี่ยนแนวความคิดมาใช้ระบบอี-โลจิสติกส์ แต่ยอมเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น พนักงานส่งเอกสาร ฯลฯ ไปส่งกรมศุลกากร จะไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทจากต่างชาติได้ เพราะต้นทุนสูงกว่าบริษัทที่ใช้งานระบบอี-โล จิสติกส์ ดังนั้น ลูกค้าของเราจึงเป็นบริษัทใหญ่ๆ จากต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ แต่บริษัทคนไทยก็มีบ้าง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ เราต้องพยายามให้ความรู้และให้การศึกษาเพื่อให้บริษัทคนไทยเข้าใจว่า ถ้าไม่ทำจะลำบากนะกับการแข่งขันในอนาคต หรือง่าย ๆ คือ ทำให้มองครบทุกมิติ

IT Exclusive: คิดว่า จะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนบริษัทคนไทยจะหันมาใช้ระบบ PAPER LESS ทั้งหมด?

พิชิต:  คิดว่า คงไม่นาน เพราะจากอดีตที่กรมศุลกากรเปลี่ยนการใช้ใบขนส่งสินค้าที่เป็นเอกสารมาเป็นระบบอีดีไอก็ตั้งแต่ปี 1997 และเริ่มจริงๆ ค.ศ 2000 และตอนนี้ ก็เริ่มเข้าสู่ระบบอีดีไอกันหมดแล้ว คราวนี้ จากระบบอีดีไอมาเป็นระบบ PAPER LESS จริงๆ คิดว่า ประมาณ 1-2 ปี คงเข้าสู่ระบบกันหมด

IT Exclusive: ในฐานะที่อยู่ในวงการธุรกิจและมีการนำเอาไอซีทีมาใช้ประโยชน์ มองเรื่องนี้ อย่างไร?

พิชิต: การนำเอาไอซีทีมาใช้กับธุรกิจ ถามว่า ได้ประโยชน์หรือไม่ บอกได้เลยว่า ได้ประโยชน์มากๆ ตัวอย่างเช่น ระบบอี-โลจิสติกส์เกตเวย์ที่เชื่อมโยงเรื่องใบขนส่งสินค้ากับกรมศุลกากรที่ไม่ต้องมีกระดาษ ดังนั้น ถ้าบริษัทใดไม่เอาไอซีทีมาใช้การเชื่อมโยงข้อมูลจะไม่ทันเหตุการณ์ เพราะการใช้ไอซีทีทำให้มีข้อมูล และข้อมูลพวกนี้ จะเกิดมูลค่าได้ถ้านำมาวิเคราะห์ สามารถเก็บตรงไหนก็ได้และดึงกลับมาใช้ได้ทันที และที่สำคัญ คือ สามารถลดต้นทุน ลดการเสียเวลาและลดพื้นที่การจัดเก็บเอกสาร

IT Exclusive:  มองนโยบายของภาครัฐกับการสนับสนุนการนำไอซีทีมาใช้ประโยชน์อย่างไร?

พิชิต: ส่วนตัวให้ความสำคัญ แต่การที่จะใช้งบประมาณในการทุ่มเทลงไปจะแยกเป็นคนละเรื่อง เพราะมองว่า ถ้าคนเข้าใจการใช้ไอซีทีจะไม่มีปัญหาและได้ประโชน์จริงๆ แต่ถ้าไม่เข้าใจจะทำให้ลงทุนแพง ผิดประเภทและไม่คุ้ม โดยเฉพาะหน่วยราชการที่มุ่งเน้นการใช้ไอซีทีจริง แต่ความเข้าใจไม่ค่อยมีและตรงกันระหว่างผู้บริหารกับเจ้าหน้าที่ด้านไอซีที เช่น ผู้บริหารรู้ว่าอยากได้อะไร แต่เมื่ออธิบายให้เจ้าหน้าที่ฟังก็เหมือนเข้าใจ แต่เมื่อไปลงมือทำ เช่น พัฒนาโปรแกรม ใช้เวลา 2-3 เดือน ออกมาใช้ไม่ได้ เพราะมีช่องว่างตรงกลาง บ้านเราเสียหายตรงนี้ กันทั้งนั้น

คราวนี้ ถามว่า แล้วจะทำอย่างไรให้ทั้งสองส่วนนี้ ไปด้วยกันได้ ดังนั้น จึงต้องอาศัยความเข้าใจของธุรกิจตรงกลาง ที่เข้าใจทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ไอซีที ดังนั้น จากจุดนี้ เราจึงกล้าตั้งเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจไว้สูง เพราะเราเข้าใจในกระบวนการของธุรกิจซัพพลายเชน ในขณะที่เรื่องไอซีทีเรามีทีมพัฒนาอยู่

IT Exclusive: สุดท้ายมีอะไรที่เราไม่ได้ถาม แต่อยากสื่อไปยังผู้อ่านบ้าง?

พิชิต: อยากจะฝากไว้ให้ผู้ประกอบการคนไทยลองพิจารณาในแนวความคิดการนำเอาไอซีทีมาใช้ประโยชน์ และต้องมองให้ครบทุกมิติ โดยเฉพาะผู้บริหาตัวจริงที่ประสบความสำเร็จในขณะนี้ แต่เกิดมาไม่ทันยุคไอซีทีบูม และชอบโยภาระให้กับเจ้าหน้าที่ด้านไอซีทีให้หันมาสนใจและลงมาดูเรื่องไอซีทีบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์และทราบว่า ไอซีทีไม่แพงอย่างที่คิดถ้าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ คือ เสียเงินไปไม่ว่า แต่เสียเวลากู้ความเสียหายกลับคืนมาไม่ได้ รวมทั้งแข่งขันกับผู้ประกอบการเมืองและจากนอกไม่ได้จริงๆ 

อีกประเด็นที่อยากฝากไว้ คือ ทุกธุรกิจและทุกอาชีพล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องโลจิสติกส์และชัพพลายเชนทั้งนั้น และถ้าวาง แผนดีๆ จะสามารถลดต้นทุนได้มากโดยไม่ต้องหารายได้เพิ่ม ดังนั้น ทุกธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เช่น ธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล ขายเฟอร์นิเจอร์และขายเสื้อผ้ามีไหม ตอบได้เลยว่า มี ฉะนั้น ถ้าประเทศไทยจะแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ จะต้องสร้างนวัตกรรมซัพพลายเชนให้เกิดโดยใช้ไอซีทีมาเป็นตัวเชื่อมโยง เพราะเรายากแล้วที่จะมีงบประมาณทำอาร์แอนด์ดีเพื่อผลิตเทคโนโลยี เช่น ตัวอย่างการผลิตเสื่อผ้าตามที่กล่าวมา



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี