หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > โทรศัพท์ขณะขับรถ ภัยซ่อนเร้นของ อุบัติเหตุบนถนน
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > โทรศัพท์ขณะขับรถ ภัยซ่อนเร้นของ อุบัติเหตุบนถนน
โทรศัพท์ขณะขับรถ ภัยซ่อนเร้นของ อุบัติเหตุบนถนน
บทความ
 


ในทุกๆ ปีมักจะเห็นข่าวการสรุปตัวเลขของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และวันสงกรานต์ และวันหยุดยาวต่างๆ อยู่เสมอ โดยทุกครั้งตัวเลขต่างๆ ก็มีกจะมีการเพิ่ม-ลดมาเป็นลำดับ โดยจะเพิ่มหรือลดก็มักจะขึ้นอยู่กับ การเตรียมพร้อมรับมือของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ที่จะกวดขันกับผู้ใช้รถใช้ถนน การรณรงค์ขับรถโดยไม่ประมาท โครงการเมาไม่ขับ ง่วงนอนไม่ขับ เป็นต้น

หากดูสรุปตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุของ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี 2549 เทียบกับปี 2548 ที่ผ่านมานั้นพบว่า ในช่วง 12 เดือน (ม.ค. - ธ.ค.) พบว่า มีจำนวนคดีอุบัติเหตุจากการจราจรทางบกใน ปี 2548 มี122,122 คดี ส่วนปี 2549 มี 111,035 คดี ลดลง 9.08% ส่วนผู้เสียชีวิตในช่วง12 เดือนปี 2549 รวม12,609 ศพโดยปี 2548 มีผู้เสียชีวิต 12,871 ศพ ลดลง 262 คน หรือลดลง 2.04% ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัสปี 2549 รวม17,822 คน ปี 2548 รวม19,128 คน ลดลง1,306 คน หรือลดลง 6.83% ส่วนบาดเจ็บเล็กน้อยลดลง12.88%

ส่วนสาเหตุแนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุในปี 2549 เมื่อเทียบกับปี 2548 พบว่า อันดับ 1 คือ การขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ปี 2549 มีจำนวน19,036 ราย เพิ่มขึ้นจาก18,357 รายในปี 2548 อยู่จำนวน 679 รายคิดเป็น 3.70% อันดับ 2 เป็นฐานความผิดเกี่ยวกับประมาท ได้แก่ ตัดหน้ากระชั้นชิด ปี 2549 มี 14,057 ราย ลดลงจาก16,556 รายในปี 2548 จำนวน 2,499 ราย คิดเป็น 15.09% อันดับ 3 เมาสุรา ในปี 2549 มีจำนวน 8,393 ราย เพิ่มขึ้นจาก8,064 รายในปี 2548 อยู่จำนวน 329 ราย คิดเป็น 4.08%

นอกจากสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้แล้ว ภับซ่อนเร้นจากการใช้อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั่น คือ โทรศัพท์มือถือ ก็เป็นต้นเหตุสำคัญเช่นกัน ที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุด้วยรูปแบบการใช้ต่างๆ นานา ได้แก่ การพูดคุยโทรศัพท์ขณะที่ขับรถยนต์ หรือขี่รถจักรยานยนต์ การคุยโทรศัพท์ขณะที่กำลังขึ้น-ลงรถประจำทาง การคุยโทรศัพท์ขณะที่ข้ามถนน ที่มีการสัญจรของยวดยานที่พลุกพล่าน เป็นต้น

นพ.วรพงศ์ เชาวน์ชูเวชช แพทย์ผู้วิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะทีมวิจัยด้านการใช้โทรศัพท์ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ อธิบายว่า การขับขี่ยวดยานพาหนะจำเป็นจะต้องใช้ประสาทสัมผัสในการมองเห็น การได้ยินและการทรงตัว ผู้ขับขี่ควรมีสมาธิเต็มที่ในระหว่างการขับขี่เนื่องจากจะต้องใช้สมองในการประมวลผล การรับรู้เหตุการณ์แบบต่อเนื่อง ประมวลผลการรับรู้อย่างเฉียบพลันและในการตัดสินใจ ถ้าผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์ จะส่งผลให้ปฏิกิริยาในการสั่งการ และการตอบสนองช้ากว่าปกติถึง 0.5 วินาทีจะทำให้เวลาในการก่อนชนจะสั้นลงกว่าผู้ขับขี่ปกติ 1 วินาที

แพทย์ผู้วิจัยฯ ม.สงขลานครินทร์ อธิบายเสริมว่า ด้วยเวลาเพียง 1 วินาที เท่านี้ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ ถึงแม้ตัวผู้ขับขี่จะใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีและสมอลทอล์ก ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุไม่ต่างกับการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุมีถึง 1.16 เท่า อีกทั้งการขับขี่ควรจะต้องอาศัยการรับรู้อย่างน้อย 3 ด้านร่วมกับการประมวลผล และเช่นเดียวกันการโทรศัพท์จะต้องอาศัยการรับรู้อย่างน้อย 1 ด้านร่วมกับการประเมินผล ดังนั้นจึงไม่ควรโทรศัพท์ขณะที่ขับขี่หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ อีกทั้งการใช้โทรศัพท์มือถือควรคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยเช่นกัน

ด้าน นายภานุ แย้มศรี ผู้อำนวยการสำนักบูรณาการสาธารณภัย อุบัติภัย และความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาทางถนน ที่เป็นปัญหาสำคัญสร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน จึงได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนทั้งระบบ และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนน ขึ้นมาดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นรูปธรรม เพราะจากประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนพบว่า อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับขี่รถ

ผอ.สำนักบูรณาการสาธารณภัยฯ ให้ความเห็นต่อว่า ถึงแม้จำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจาก การใช้งานโทรศัพท์มือถือจะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็สร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะที่ตัวเองเป็นเลขานุการศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน ก็ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงร่วมกับเอกชนรณรงค์เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกฝ่ายในสังคม หันมาตระหนักถึงปัญหาอุบัติภัยจากการใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างกระแสและจุดประกายให้เกิดการใช้มือถืออย่างปลอดภัย อันช่วยลดความสูญเสียและสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

“สำหรับการศึกษาเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่มีสาเหตุมาจากการใช้อุปกรณ์ไร้สายบนท้องถนน คงต้องมีคณะกรรมการกลั่นกรองรายละเอียด ให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้รับทราบเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม แต่ยังไม่มั่นใจในช่วงเวลา เนื่องจากการเก็บข้อมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะมุ่งไปที่สภาพแวดล้อมทางคดีเป็นหลัก ไม่ได้สืบลงไปที่สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ต่างจากในต่างประเทศที่ตำรวจสามารถขอข้อมูล การใช้มือถือจากผู้ให้บริการได้ อีกทั้งการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกเรื่องนี้ ไม่อยากให้ภาระตกอยู่กับภาครัฐเท่านั้น แต่ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันด้วย” นายภานุ กล่าว

ผอ.สำนักบูรณาการสาธารณภัยฯ ให้ความเห็นอีกว่า หน่วยงานที่จะมาศึกษาเรื่องสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ คงต้องเป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นตรงกับกระทรวงใด อาจจะไปอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้ โดยหน่วยงานที่จะมาสนับสนุน อาจเป็นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้ามาช่วยดูแลก็ได้ ทั้งนี้ล่าสุดก็ได้บริษัทผู้จำหน่ายมือถือ “จี-เน็ต” อย่าง บริษัท ไวร์เลส แอดวานซ์ ซิสเต็ม จำกัด เข้ามาร่วมสนับสนุน ทั้งนี้ การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถจะเป็นประเด็นสาธารณะ ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำลังผลักดันในปี 2550 และสนับสนุน สตช. ในการร่างกฎหมายออกมา

ส่วน นายฑัศ เชาวนเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บ.ไวร์เลส แอดวานซ์ ซิสเต็ม จำกัด หรือ ดับบลิวเอเอส เล่าถึงสาเหตุของการร่วมกับ ปภ. ในโครงการรณรงค์ “ลดอุบัติภัยจากการใช้โทรศัพท์มือถือ” ว่า สิ่งที่จุดประกายการทำโครงการนี้ขึ้นมา เพราะเห็นคนขับรถยนต์คุยโทรศัพท์ ขี่จักรยานยนต์มือเดียวโทรศัพท์ คุยโทรศัพท์ขณะที่ข้ามถนน หรือ ระหว่างที่ขึ้น-ลงรถประจำทาง เนื่องจากความเคยชินกับการรับสาย ทำให้โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูงมาก จี-เน็ตมองว่าการขายมือถืออย่างเดียวอาจไม่ใช่สิ่งถูกต้องนัก ทั้งนี้ ผู้ขายโทรศัพท์มือถือจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในสังคมด้วย

ซีอีโอ บริษัท ดับบลิวเอเอส อธิบายเพิ่มเติมว่า จึงได้เริ่มทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 7 เดือน 2 ไตรมาส ภายใต้งบประมาณที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ประมาณ 20 ล้านบาท จี-เน็ตเชื่อว่าการแก้ปัญหาเพื่อให้คนใช้มือถืออย่างปลอดภัยนั้น การบังคับด้วยกฎหมายไม่ช่วยให้ดีขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกโดยเริ่มต้นจาการทำวิจัยในช่วงเดือน พ.ค. และดำเนินการรณรงค์ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ค.ในการไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ เดือน ส.ค.-ก.ย.จะรณรงค์ไม่ใช้มือถือขณะขี่จักรยานยนต์ ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. จะรณรงค์ไม่ใช้มือถือขณะขึ้น-ลงรถประจำทาง ส่วนรณรงค์ลดอุบัติภัยจากการใช้มือถือจะอยู่ในเดือน ธ.ค.ปีนี้

ทั้งนี้ อุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากการใช้โทรศัพท์มือถือ นับเป็นเรื่องที่น่าใส่ใจที่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรประชาชน จะมาร่วมกันดำเนินการรณรงค์ปลูกฝังให้ คนไทยรู้จักการใช้โทรศัพท์ได้ถูกวิธี ถูกกาละเทศะ และสถานที่ ไม่ต้องรอให้วัวหายแล้วค่อยล้อมคอก หรือไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา เพราะจากการที่จำนวนผู้ใช้งานมือถือของไทย ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 30 ล้านคนนี้ จะทำให้สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในอนาคตอันใกล้นี้ โทรศัพท์มือถือ อาจตัวการสำคัญก็ได้อันดับต้นๆ ก็ได้ใครจะไปรู้...

จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี