หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > พาไปดูโรงพยาบาลแห่งอนาคตที่ เทคโนโลยีไอซีทีเนรมิตได้
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > พาไปดูโรงพยาบาลแห่งอนาคตที่ เทคโนโลยีไอซีทีเนรมิตได้
พาไปดูโรงพยาบาลแห่งอนาคตที่ เทคโนโลยีไอซีทีเนรมิตได้
บทความ
 
พาไปดูโรงพยาบาลแห่งอนาคตที่ เทคโนโลยีไอซีทีเนรมิตได้

เมื่อพูดถึงโรงพยาบาลหลายคนอาจนึกถึงภาพของ เข็มฉีดยา แพทย์ และพยาบาลในห้องตรวจโรค บุคลากรที่เดินไปมาในแผนกต่างๆ เพื่อส่งเอกสารใบผลตรวจจากห้องแล็ป ฟิล์มภาพเอ็กซ์เรย์ ประวัติคนไข้ที่หนาเป็นตั้งๆ ท่ามกลางผู้ป่วยที่รอตรวจโรคจำนวนมาก ขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งไม่ใช่ผู้ป่วย แต่เป็นคนที่ที่เดินทางมาเยี่ยมอาการของญาติ ที่พักรักษาในโรงพยาบาลตามตึกต่างๆ รวมทั้งนักศึกษาแพทย์และพยาบาลที่เดินตามอาจารย์ไปตรวจคนไข้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นภาพที่อาจจะเห็นกันเป็นปกติ กับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศไทย  

 

บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาของ บริษัท ไอดีซี ในกรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เซนต์ โอลาฟ เมืองทรอนเดียม ประเทศนอร์เวย์ ผู้นำในด้านวิสัยทัศน์ของการเป็น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีการผสมผสานเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ จากการให้สัมภาษณ์ของ นายทอร์ อินเดอร์รัก ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รพ.เซนต์ โอลาฟ โดยแนวทางใหม่ของกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของการเป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยชั้นเลิศ  

 

 

เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้มีเจ้าหน้าที่กว่า 8,000 ราย มีเตียงผู้ป่วย 950 เตียง และสามารถรักษาคนไข้ได้กว่า 413,000 รายต่อปี การลงทุนรวมประมาณ 1.5 พันล้านยูโร ที่เทียบเท่ากับเวลาในการดำเนินการสร้าง 2 ปี โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาแพทย์กว่า 1,250 ราย มาใช้สถานที่นี้ ดังนั้นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงมีความสำคัญ และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้โรงพยาบาลสามารถปฏิบัติงานได้ และโซลูชั่นที่เติมเต็มความต้องการที่เกี่ยวข้องกับไอซีที คือ โครงการแบบเทิร์น คีย์ ที่ได้รับการคัดเลือกและจัดการโดย บริษัท เทเลนอร์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม

 

 

เทเลนอร์เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมระบบด้านไอซีที หรือ System Integrator: SI และได้จับมือกับฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) ซิสโก้ฯ และ คาร์ดีแอ็ค เพื่อนำเสนอโซลูชั่นด้านการสื่อสาร โดยเอชพีเป็นผู้รวบรวมระบบและติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโรงพยาบาล เช่น พีซี และเซิร์ฟเวอร์ ด้าน บ.ซิสโก้ฯ เป็นผู้เสนออุปกรณ์เครือข่าย ไอพีโฟน พร้อมกับโซลูชั่น Cisco Clinical Suite และ คาดิแอ็ค เป็นผู้รวบรวมระบบโรงพยาบาล (Integrated hospital Suite) ที่เป็นโซลูชั่นด้านการดูแลสุขภาพโดยผู้ให้บริการเฉพาะด้าน โซลูชั่นการสื่อสารแบบบูรณาการของโรงพยาบาลเซนต์ โอลาฟ ที่ได้ถูกนำมาใช้งาน ได้แก่

 

 

ประวัติคนไข้อีเล็คทรอนิกส์ ที่ถูกพัฒนาและนำระบบอีเล็คทรอนิกส์ที่นำเสนอฟังก์ชันทั้งหมด ของประวัติที่เป็นกระดาษในปัจจุบัน รวบรวมเอกสารทางการแพทย์ของคนไข้ ในระบบคอมพิวเตอร์มาบูรณาการเป็นหนึ่งเดียว และสนับสนุนการพัฒนากรอบการทำงาน ที่ได้มาตรฐานของแนวคิดทางการแพทย์  โดยทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น การเรียกข้อมูลมาดูได้รวดเร็วขึ้น รวมถึงการต่อเชื่อมเข้ากับประวัติคนไข้ที่ดีขึ้น ข้อมูลที่ได้มีคุณภาพมาก

 

 

ในรายงานการศึกษาฯ ระบุว่า รพ.เซนต์ โอลาฟ ใช้ประโยชน์ในด้านการวิจัย ในแผนกต่างๆ กว่า 10 แผนกที่เริ่มใช้ระบบประวัติคนไข้อีเล็คทรอนิกส์ และเมื่อมีการให้บริการอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะมีการผลิตเอกสารประมาณ 3,500 ชิ้นต่อสัปดาห์ และคิดเป็น 1 ใน 3 ของเอกสารที่ผลิตในโรงพยาบาล โรงพยาบาลยังมีแผนที่จะนำเอกสารเกี่ยวกับคนไข้ในอดีตเข้าสู่กระบวนการดิจิตอล เพื่ออำนวยความสะดวกในการปรับข้อมูลคนไข้ให้ทันสมัย, ลดความเสี่ยงเรื่องการวินิจฉัยผิด และปรับปรุงการสื่อสารระหว่างวอร์ด หน่วยงาน แผนก โรงพยาบาล บริการด้านปฐมพยาบาล และส่วนภูมิภาคอื่นๆ

 

 

พาหนะนำทางอัตโนมัติ-หุ่นยนต์โรงพยาบาล (Automated guided vehicles: AGVs) ได้มีการเปิดตัวในปี 2549 ผลิตโดย บริษัท สวิส ล็อก ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์  AGV สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนัก 500 กิโลกรัม ทั้งการเคลื่อนย้ายที่เกิดเป็นประจำ และการรับ-ส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ในเส้นทางที่ระบุ โดยถือว่า เป็นเครื่องมือที่มีค่าในการขนส่ง พัสดุ เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทำความสะอาด ชุดซักแห้งทั้งสะอาดและสกปรก อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ อาหาร เครื่องอุปโภค และอื่นๆ มีการใช้งานในอาคารหลายชั้นบนทางแคบๆ รวมถึงทางเดินสำหรับคนโดยทั่วไป  และยังช่วยบุคลากรของทางโรงพยาบาล ในการเคลื่อนย้ายของหนัก

 

 

เครื่อง AGV จะมีการใช้งานผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบไวเลสแลน (WLAN) และใช้ วิธีการ triangulation ในการกำหนดสถานที่ ระยะทาง เส้นทางที่ดีที่สุด และอื่นๆ ระบบการสื่อสารประกอบด้วยระบบเครือข่ายสายและ WLAN นอกจากนี้ยังมีอีเธอร์เน็ต LAN ที่ต่อเชื่อมเข้ากับศูนย์การควบคุมระบบกับอุปกรณ์สำนักงาน ประกอบด้วย เทอร์มินัลในการรับข้อมูลของโอเปอเรเตอร์ เสากาศย่านความถี่วิทยุ แสงไฟ และระบบเซ็นเซอร์ รวมถึงการอินเทอร์เฟซกับประตูหนีไฟ ลิฟท์ และ รถทำความสะอาด

 

 

ระบบเรียกพยาบาล ระบบสัมผัสเดียว และ การสื่อสารแบบสองทาง เพราะระบบเรียกพยาบาลถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวันในโรงพยาบาล เนื่องจากตามปกติแล้วคนไข้จะเรียกพยาบาลด้วยเหตุผลต่างๆ โดยขณะนี้ วิธีการนี้ก็ยังคงเป็นการสื่อสารของคนไข้ในการเรียกพยาบาล โดยพยาบาลจะได้รับแจ้งทางข้อความหรือแจ้งไปที่บอร์ดปฏิบัติการ นับเป็นวิธีที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพต่ำ และใช้เวลานานสำหรับเจ้าหน้าที่คาร์ดิแอ็ค จึงได้พัฒนาโซลูชั่นเฉพาะสำหรับบริการเรียกพยาบาล ที่เป็นการผสานระบบไอพีโฟนไร้สายของซิสโก้ กับพอร์ทัลสำหรับลูกค้า IMATIS ของคาร์ดิแอ็ค

 

 

ในสถานการณ์นี้ เมื่อคนไข้เรียกพยาบาล สัญญานจะถูกส่งไปยังพยาบาลที่รับผิดชอบ หากพยาบาลที่ถูกเรียกมีงานด่วนกว่า สัญญานนั้นก็จะถูกส่งไปเรียกที่พยาบาลคนอื่นในวอร์ด จนกว่าจะมีพยาบาลรับสาย พยาบาลที่รับการเรียก ก็จะเข้าถึงสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อคนไข้ได้แจ้งสาเหตุกของการเรียก บันทึกของวอร์ดจะสามารถบันทึกสถานการณ์ของสัญญาณการเรียกทั้งหมด  การตอบสนองของพยาบาล และการแจ้งจากห้องคนไข้   ในสถานการณ์ที่พยาบาลต้องการความช่วยเหลือ  พยาบาลจะตือนพยาบาลคนอื่นๆ ในวอร์ด และเรียกขอความช่วยเหลือจากห้องคนไข้ได้

 

จากรายงานการวิเคราะห์การบันทึกรายการเรียกพยาบาล  ทำให้การวางแผนเพื่อการใช้ทรัพยากรทำได้ดีขึ้น  และยังเป็นการใช้ทรัพยากรและพยาบาลในวอร์ดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มอำนาจการตัดสินใจในวอร์ดในช่วงกะดึก ระบบโทรศัพท์จะมีระบบ One-Touch ให้คนไข้ใช้ติดต่อ ไม่ว่าพยาบาลจะอยู่ที่ใดก็ตาม โดยอาจจะอยู่ในวอร์ด หรือส่วนอื่นของโรงพยาบาล ระบบการสื่อสารไร้สาย ถือเป็นความจำเป็นในโรงพยาบาลที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิต และความตายในชีวิตประจำวัน การสื่อสารทั้งแบบกดปุ่มเดียว และการสื่อสารสองทางช่วยปรับปรุงการดูแลคนไข้ และช่วยให้พยาบาลใกล้ชิดกับผู้ป่วยตลอดเวลา

 

 

รายงานฉบับนี้ระบุอีกว่า ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 โรงพยาบาลได้เริ่มให้บริการเครื่อง HP iPAQ pocket PC แบบดูอัล โหมด ที่รองรับระบบโทรศัพท์ ที่ใช้เครือข่ายไว-ไฟ ทั้งแบบในร่มและกลางแจ้ง โดยรวมถึงระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่ออยู่กลางแจ้ง หรือนอกเครือข่าย Wi-Fi และยังมีการใช้ส่งข้อความในกรณีฉุกเฉิน สำหรับทีมงานของคาร์ดิแอ็คและทีมงานพิเศษอื่นๆ ผลจากห้องแล็ป ข้อความสำหรับระบบการดูแลรักษาอัตโนมัติ การส่งสัญญาณของลูกค้า ความต้องการด้านการทดสอบ ลำดับการทำงานสำหรับการดูแลรักษา รวมถึงพนักงานขนส่ง

 

นด้านการทำคลอด คือ อีกหนึ่งบริการที่เกิดขึ้นทุกวันที่ เซนต์ โอลาฟก็ไม่อากหลีกเลี่ยงได้ การติดตั้งโซลูชั่นนวัตกรรมในส่วนงานฉุกเฉิน การคลอดแบบผ่าท้อง (Caesarean) พยาบาลหรือแพทย์จะกดปุ่มที่มีการโปรแกรมไว้บนโทรศัพท์ แล้วบุคลากรที่ต้องการ ทรัพยากร และส่วนประกอบที่จำเป็นต่อกระบวนการผ่าท้องคลอดที่อยู่ในรายชื่อ จะได้รับการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์ไร้สาย หรือข้อความบนโทรศัพท์พื้นฐาน หากไม่อยู่ในพื้นที่ ทั้งนี้การติดต่อทั้งหมดจะดำเนินการผ่านเครือข่ายไอพีของโรงพยาบาล

 

 

เมื่อบุคลากรได้วิ่งไปยังห้องผ่าตัดประตูก็จะเปิดขึ้นอัตโนมัติ  ประตูลิฟท์จะถูกสั่งให้ล๊อคเปิดอัตโนมัติ เพื่อคนไข้จะได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังห้องผ่าตัด ที่ตั้งอยู่ที่ชั้นอื่นจากห้องคลอด และในห้องผ่าตัดนั้น ก็จะต้องดึงข้อมูลทั้งหมดจากส่วนกลางได้ โดยใช้สมาร์ทการ์ดผ่านเครื่องพีซีใดๆ ก็ตาม เพื่อการล็อกอินเฉพาะกิจ โดยกระบวนการเคลื่อนย้ายของหน่วยงานฉุกเฉินแบบ Caesarean ทั้งหมด จะต้องใช้เวลาน้อยกว่า 3 นาที เพราะหากนานกว่านั้น มารดาอาจเสียชีวิต หรือสูญเสียบุตร กระบวนการดังกล่าวนี้เป็น ตัวอย่างที่บอกว่า ระบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในเครือข่ายไอพี รวมถึงระบบการสื่อสารแบบไอพี มีความสำคัญเพียงใด

 

 

เทอร์มินัลสำหรับคนไข้ ระบบนี้อาจจะเป็นโซลูชั่นที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ที่ติดตั้งที่โรงพยาบาล และมีผลกระทบมากในเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของคนไข้ อีกทั้งการปรับปรุงการดูแลคนไข้ เพราะเทอร์มินัลของคนไข้จะได้รับการจัดวางให้เหมาะสมในแต่ละห้อง โดยให้บริการ เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ดนตรี วิทยุ คอนโซล วีดีโอ เกมส์ เทเลโฟนี่ ระบบแสง เฉดสีของเตียง และการควบคุมการปรับอากาศ ระบบการเรียกพยาบาล ระบบการสั่งอาหาร ทั้งนี้ด้วยบัตรไอดีบุคลากรทางการแพทย์ จะเข้าถึงประวัติของคนไข้ได้ทั้งฟิลม์ภาพเอ็กซ์เรย์ ผลตรวจจากห้องแล็ป และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ที่อินทิเกรตเข้ากับเครือข่ายไอพี การติดตั้งเทอร์ทินัลคนไข้ จึงถือเป็นสิ่งที่สร้างความพอใจให้คนไข้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะคนไข้ที่ต้องรักษาระยะยาว

 

 

ด้านการจัดการด้านการระบุตัวตน บุคลากรและนักศึกษาที่โรงพยาบาลจะได้รับสมาร์ท การ์ด เครื่องอ่านสมาร์ท การ์ด จะติดอยู่ที่โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ตพีซี เครื่องเดสก์ท็อป เทอร์มินัลสำหรับคนไข้ และประตู โดยถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ ในการเชื่อมต่อข้อมูลจากเทอร์มินัลใดๆ ก็ตาม อาทิ แพทย์ สามารถรูดบัตบนเทอร์มินัลของคนไข้เพื่อดึงประวัติคนไข้มาดู และใช้บริการเรียกดูภาพ รวมถึงและใช้งานเทคโนโลยี ระบบสื่อสารและจัดเก็บรูปภาพ (Picture Archiving and communication system: PACS) เพื่อเรียกดูฟิล์มเอ็กซ์-เรย์ ภาพอัลตร้า ซาวน์ ในแบบดิจิตอลโดยไม่ใช้ฟิล์ม หรือสารเคมี 

 

 

ทีมงานและคนไข้สามารถเรียกดูภาพบนคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเทอร์มินัลสำหรับคนไข้และด้วยผลจากห้องทดลอง ทำให้การปรึกษาการรักษา หรือวิธีการที่ใช้ได้โดยตรงกับคนไข้  ประวัติของคนไข้จะถูกดึงออกมาจากฐานข้อมูล และจะไม่มีข้อประวัติของคนไข้ที่ทิ้งไว้บนเครื่อง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนบุคคล นอกจากนี้สมาร์ท การ์ด ยังจะใช้สำหรับการต่อเชื่อมเข้าสู่อาคารด้วยความเข้มงวด ในการต่อเชื่อมในพื้นที่พิเศษสำหรับทีมงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

 

 

ข้อมูลทั้งหมดจากรายงานฉบับนี้ สะท้อนถึงการก้าวย่างครั้งสำคัญ ของวงการบริการด้านสุขภาพ ที่ใช้ไอซีทียกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ลดความซ้ำซ้อน และเวลาในการดำเนินงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ทันท่วงที และอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา อีกทั้งยังสร้างความแปลกใหม่แก่คนไข้ที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเป้าหมายสูงสุดของความสำเร็จในธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ คือ ความรู้ความเข้าใจในเชิงธุรกิจ และความตระหนักถึงแนวโน้มของเทคโนโลยี ที่มีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่

 

 

ทั้งนี้ โรงพยาบาลเซนต์ โอลาฟได้ถูกพิจารณาให้เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานโลก ในเรื่องของแนวทางและการใช้กลยุทธ์ของเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและการรักษา เพื่อสิ่งที่ดีกว่าสำหรับคนไข้ เมื่อมองดูเรื่องนี้แล้วก็ย้อนมาดูสถานพยาบาลในเมืองไทยบ้าง ที่ระบบต่างๆ เหล่านี้ส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาใช้บ้างแล้วใน โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ขณะที่โรงพยาบาลของรัฐยังต้องรอดูความชัดเจน และศึกษาระบบที่เหมาะสม แต่เชื่อว่าไม่ช้าก็เร็วคุณหมอ และนางพยาบาลทุกคน หรือแม้แต่คนไข้คงหนีไม่พ้นสิ่งเหล่านี้แน่ และอาจเกิดโรคใหม่ คือ โรคแพ้เทคโนโลยี ขึ้นมาอีกโรคก็ได้ใครจะไปรู้...

 

 

จุลดิส รัตนคำแปง

 

itdigest@thairath.co.th

 



บทความจาก : ไทยรัฐ

 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี