กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
หลายสำนักระดับโลก โหวต-จัดอันดับระบบสาธารณสุขไทย โดดเด่นในภูมิภาคใช้หลักเกณฑ์ประเมิน พบมีความพร้อมทุกด้านในระดับชั้นนำ ทั้งโครงสร้าง งานวิจัย บุคลากร นวัตกรรม การันตีไทยสู่ Medical Hub ตามเป้าปี 2569
ปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา นิตยสาร Newsweek และ Statista ผู้ให้บริการข้อมูลของเยอรมนีได้ทำการจัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2566 (World’s Best Hospitals 2023) รายงานผล การจัดอันดับในปีนี้ มีโรงพยาบาลสหรัฐ ติดอันดับท็อปเท็นมากถึง 5 แห่งด้วยกัน ขณะที่โรงพยาบาลสิงคโปร์ เจเนอรัล เป็นโรงพยาบาลในเอเชียเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับท็อปเท็น ขณะที่ ‘โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์’ เป็นโรงพยาบาลของไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดโผ อยู่ที่อันดับ 182
นอกจากนี้ Newsweek และ Statista ยังได้จัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในประเทศไทยประจำปี 2566 โดย 10 อันดับแรก ได้แก่
1. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
2. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
3. โรงพยาบาลกรุงเทพ
4. โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
5. โรงพยาบาลรามาธิบดี
6. โรงพยาบาลธนบุรี
7. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
8. โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
9. โรงพยาบาลเมดพาร์ค
10. โรงพยาบาลพระราม 9
เปิดเกณฑ์พิจารณาโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก
นิตยสาร Newsweek ได้ประกาศผลการจัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2566 (World’s Best Hospitals 2023) จำนวน 250 อันดับ ผ่านทาง www.newsweek.com รพ.บำรุงราษฎร์ จัดเป็นโรงพยาบาลอันดับหนึ่งของประเทศไทย ด้วยคะแนน 93.00% จากโรงพยาบาลในประเทศ 30 แห่งเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และติดอันดับที่182 ของโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพระหว่างประเทศพิจารณา 4 ด้าน
1) การสำรวจออนไลน์จากแพทย์, ผู้บริหารโรงพยาบาล, บุคลากรทางการแพทย์ รวมกว่า 80,000 ราย จากโรงพยาบาล 2,300 แห่ง ใน 28 ประเทศ
2) ข้อมูลจากประสบการณ์ผู้ป่วย ได้แก่ ความพึงพอใจทั่วไป การแนะนำบอกต่อ ความพึงพอใจต่อการรักษาพยาบาล
3) ดัชนีคุณภาพของโรงพยาบาล ได้แก่ ข้อมูลคุณภาพการดูแลรักษาเฉพาะทาง ความปลอดภัยของผู้ป่วย มาตรการด้านสุขอนามัย และอัตราส่วนของแพทย์หรือพยาบาลต่อผู้ป่วย
4) Patient Reported Outcome Measures (PROMs) แบบประเมินผลลัพธ์ด้านการรักษาของผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการ
ดัชนีความมั่งคั่ง ไทยโดดเด่น ‘สุขภาพ’
สถาบัน Atlantic Council เผยแพร่รายงานดัชนีว่าด้วยเสรีภาพและความมั่งคั่งของ 164 ประเทศทั่วโลก ประจำปี2566 โดยวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ในปี 2565 จากสถาบันที่น่าเชื่อถือรวมกว่า 11 สถาบัน โดยดัชนีความมั่งคั่ง(Prosperity Index) ไทยได้คะแนนเฉลี่ยรวม 68.6 คะแนน (เท่ากับการประเมินประจำปี 2565) จากตัวชี้วัดสำคัญ 6 ด้าน โดย ด้านสุขภาพ (Health) เป็นด้านที่ไทยได้รับคะแนนสูงสุดถึง 90.9 คะแนน
นอกจากนี้ ยังมีรายงานดัชนีความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข หรือมีการจัดอันดับหลายแห่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็น 1 ในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อาทิ มหาวิทยาลัย John Hopkins และองค์กร Nuclear Threat Initiative รายงานปี 2019 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด
THAILAND’S MEDICAL HUB
นิตยสาร CEOWorld Magazine ประจำปี 2021 (Health Care Index) จัดไทยอยู่อันดับที่ 13 จาก 89 ประเทศทั่วโลกหรือเป็นอันดับที่ 4 ของทวีปเอเชีย (รองจาก เกาหลีใต้ ไต้หวันและญี่ปุ่น ตามลำดับ) และเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียนด้วยคะแนน 59.52 ทั้งนี้ ไทยมีความโดดเด่นที่สุดในเรื่อง ความพร้อมของยาที่จะให้บริการ และโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบบริการสุขภาพ มีปัจจัยที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์หลักๆ 5 ปัจจัย ดังนี้
1)โครงสร้างพื้นฐานของระบบบริการสุขภาพ (Infrastructure) ได้รับ 98.7 คะแนน
2) บุคลากรทางการแพทย์ (แพทย์, พยาบาล และบุคลากรทางสาธารณสุข หรือ Professionals) ได้รับ 29.05 คะแนน
3) ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปี (Cost) ได้รับ 94.99 คะแนน
4) ความพร้อมของยาที่ให้บริการ (Medicine Availability) ได้รับ 98.74 คะแนน
5)ความพร้อมของรัฐบาล (Government Readiness) ได้รับ 96.1 คะแนน
ผลจากการจัดอันดับ ดัชนีระบบบริการสุขภาพแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ดีของการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น“ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)” ภายในปี 2569 เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพในเชิงการท่องเที่ยว ต่อยอดสู่การสร้างอาชีพ
ข้อมูล: NBT-สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|