• "อภิสิทธิ์"โยนบาป"นพดล"ต้นเหตุ! |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 02 ต.ค. 52 เวลา 11:33:49 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ปัญหาไทย-เขมร
ฝ่ายค้านดึงปัญหา “ปราสาทพระวิหาร” ตั้งกระทู้ถามนายกฯในสภา สับ “กษิต” เป็นโมฆะรัฐมนตรี แต่รัฐบาลยังอุ้มกระเตงจึงกลายเป็นความระหองระแหงของ 2 ประเทศ ขณะที่ “มาร์ค” โยนบาปให้ “นพดล” ไปลงนามสนับสนุนการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกคือต้นตอปัญหาของ ความตรึงเครียด ทางด้านเจ้ากรมกิจการชายแดนทหารยันผู้นำทหารไทย-เขมรยังรักกันดี ยกหูโทรฯ หากันได้
ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 1 ต.ค. นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามสดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ ซึ่งในตอนแรกนายกฯมอบหมายให้นายกษิต ภิรมย์ รมว. การต่างประเทศ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม มาตอบแทน แต่ในที่สุดนายกฯได้ตัดสินใจมาชี้แจงด้วยตนเอง
นายสุนัยกล่าวว่า ขอบคุณนายกฯ ที่มาตอบกระทู้ถามสดด้วยตนเอง เพราะนาย กษิตเป็นโมฆะรัฐมนตรีไปแล้ว ไม่มีความเหมาะสมที่จะมาตอบคำถามแทนนายกฯ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ภายหลังการประกาศกร้าวของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่าจะยิงผู้ที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรทันที และมีการส่งทหารกัมพูชามาอยู่ในพื้นที่ตรงนั้นเต็มไปหมด จึงมีความเป็นห่วงประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวว่าจะอยู่กันอย่างไร และสถานการณ์ขณะนี้เป็นอย่างไร
นายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่า การพูดของสมเด็จฮุนเซนจริง ๆ แล้วเป็นการพูดเพื่อประโยชน์ภายในกัมพูชา และเราได้ติดตามสถานการณ์โดยตลอด ส่วนสถานการณ์บริเวณชายแดนเหมือนเดิม ไม่ได้มีการเสริมกำลังทหารแต่อย่างใด มีเพียงการสลับหมุนเวียนกองกำลังเท่านั้น ส่วนพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ได้มีการตรึงกำลังตั้งแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้ว จนกว่าจะมีการเจรจากัน
นายสุนัยถามต่อว่า การตอบของนายกฯเหมือนกับที่วอลเปเปอร์ของนายกฯ พูดว่าเป็นการหาเสียงของนายกฯกัมพูชา แต่ข้อเท็จจริงคือความบาดหมางทางจิตใจ เริ่มตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา ธิปไตยประท้วง ต่อมามีการปิดสนามบิน และแกนนำประท้วงคนหนึ่งก็คือนายกษิต ไม่ทราบทำไมต้องโอบอุ้มกัน ผลที่ตามมาเป็นความระหองระแหงของ 2 ประเทศ แต่วันนี้หนักกว่าเดิม มีการล้อมรั้วลวดหนามเต็มไปหมดแล้วบนทางขึ้น และพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปไม่ได้แล้ว ต้นตอปัญหาข้อขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน คือ รมว.การต่างประเทศ นายกฯจะปรับนายกษิตออกหรือไม่
นายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่า การพูดของ นายกฯกัมพูชา จะมองว่าเป็นการพูดที่ผิดปกติคงไม่ใช่ เพราะมีการพูดลักษณะนี้หลายครั้ง ส่วนสาเหตุความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นมาเกี่ยวกับนายกษิตหรือไม่ ขอเรียนว่าหลังเข้ามาเป็นรัฐบาล นายกษิตเคยเข้าไปทำงานร่วมกับกัมพูชาหลายกรณี ไม่มีปัญหาอะไร แต่การที่อดีต รมว.การต่างประเทศ (นายนพดล ปัทมะ) ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก คือจุดที่ทำให้เกิดปัญหาและเกิดความตึงเครียดในการอยู่ร่วมกันขึ้น ความตึงเครียดเกิดขึ้นเพราะกัมพูชาจะเดินหน้าขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกฝ่าย เดียว ขณะที่มีข้อพิพาทเรื่องเขตแดน แต่เมื่อรัฐบาลขณะนั้นไปยอมรับข้อพิพาท ขณะที่มีการคัดค้านต่อต้านจากประชาชน สาเหตุตรงนั้นเป็นปัญหาที่รัฐบาลชุดนี้ตามแก้ไขอยู่
นายสุนัยถามต่อว่า การที่นายกฯ ได้พบกับนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้คุยเรื่องกัมพูชาด้วย แสดง ว่าเป็นเรื่องใหญ่และปัญหานี้จะกระทบกับปัญหาของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างไร ทราบว่าประเทศเวียดนามก็เป็นห่วง หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะลามบานปลายกับธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม และพม่า แล้วจะกระทบกับกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างไร ซึ่งนโยบายการวิพากษ์วิจารณ์ประเทศเพื่อนบ้านสมัยนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เป็น รมว.การต่างประเทศ ได้กลายเป็นตราบาปของพรรคประชาธิปัตย์
นายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่า ปัญหาของสอง ประเทศไม่ได้มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ผ่านมาตนมีโอกาสคุยกับนายกฯ กัมพูชา 4 ครั้ง ยืนยันตรงกันว่าจะไม่ให้ปัญหาเขาพระวิหารมาเป็นข้อจำกัดในการทำงานร่วมกัน ด้านอื่น ส่วนเรื่องข่าวกองกำลังมีเข้ามาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ถ้าไม่เข้ามา สมัยรัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกฯ คงไม่เสนอเรื่องการให้ถอนกำลังทั้งสองฝ่าย แต่ตนไม่ได้มองว่าน่าตำหนิ และกำลังพยายาม แก้ไขปัญหา ส่วนประเด็นเรื่องนโยบายท่าทีที่แสดงออกไปในอาเซียนไม่มีอะไรแปลกใหม่ มีการพูดคุยกัน ทำความเข้าใจกันอยู่ สามารถคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ได้
ส่วนกรณีการพบปะกับเลขาธิการ ยูเอ็น ตนยืนยันเหมือนยืนยันกับสภาว่าทั้งสองประเทศจะแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี แต่ชี้ให้เห็นกรณีองค์การยูเนสโก้ว่าตั้งแต่เข้ามาดำเนินการเรื่องปราสาทพระ วิหารได้ทำให้เกิดความตึงเครียด ซึ่งไม่ตรงวัตถุประสงค์ ขอยืนยันว่าตนไม่ได้วางใจหรือประมาท แต่ตราบที่กองกำลังทั้งสองฝ่ายยังอยู่ที่เดียวกัน ต้องยึดแนวทางเจรจาเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
ทางด้าน พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการ กองทัพไทย กล่าวภายหลังเป็นประธานวันสถาปนากรมกิจการชายแดนทหารครบรอบ 3 ปี ถึงกรณีเขาพระวิหาร ว่าที่ผ่านมา ผู้บัญชา การทหารสูงสุดได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด มีการประสานความสัมพันธ์ร่วมกับผู้นำทหารของกัมพูชาตลอด จะเห็นว่าที่ผ่านมา มีการติดต่อกันทางโทรศัพท์ เพื่อสร้างความเข้าใจ และขจัดความไม่เข้าใจที่อาจจะเกิดขึ้นจากแหล่งโน้นแหล่งนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อผู้นำทางทหารใช้วิธีการทางโทรศัพท์พูดคุยกันโดยไม่ใช้หนังสือหรือ เอกสาร แล้วติดต่อกันได้ตลอดเวลา ถือว่าเป็นหลักประกันและสร้างความสบายใจให้แก่พวกเราได้ ส่วนทหารในพื้นที่ชายแดนทั้งสองฝ่ายยังมีความสัมพันธ์กันดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการจัดประชุมในระดับคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (เจบีซี) หรือระดับอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ พล.ท. นิพัทธ์ กล่าวว่า กลไกหลักที่ทำงานครั้งนี้คือ เจบีซี ซึ่งมีความคืบหน้าในการทำงานอยู่ตลอดเวลาทั้งบนโต๊ะเจรจาและงานในสนาม โดยส่วนของกองทัพไทยก็มีกรมแผนที่ทหารเข้าไปร่วมงานด้วย.
ที่มา เดลินิวส์
http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentID=23716
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1439 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 02 ต.ค. 52
เวลา 11:33:49
|