กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ความกังวลของคนต้องการกู้ซื้อบ้านมีอยู่หลายข้อด้วยกัน ซึ่งสาเหตุก็มักเกิดจากความ “ไม่รู้” เนื่องจากหลายคนเมื่อได้ลองศึกษาทำความรู้จักกับขั้นตอนและวิธีการ กู้บ้าน ได้สักระยะหนึ่งแล้ว มักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าที่จริงการ กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อคอนโด ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แต่หลักการเบื้องต้นจะเป็นอย่างไร รวมถึงเคล็ดลับของการผ่อนบ้านให้หมดไวต้องทำอย่างไรนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลย ประเมินตัวเองก่อนเป็นลำดับแรก คุณสมบัติทั่วไปของผู้กู้สินเชื่อบ้าน ได้แก่ มีรายได้ถึงเกณฑ์และมั่นคง มีอายุงานตามกำหนด และมีอายุราว 20 - 40 ปี เช่น ผู้กู้เป็นพนักงานบริษัท เงินเดือน 15,000 บาท ทำงานที่บริษัทปัจจุบันมานานกว่า 6 เดือน อายุ 29 ปี ไม่เคยมีประวัติค้างชำระหนี้ ไม่มีภาระหนี้ต่อเดือนเกิน 60% ของรายได้ เบื้องต้นถือว่า “ผ่านเกณฑ์” สรุปง่าย ๆ ว่าผู้กู้ต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้สถาบันการเงินเชื่อว่าผู้กู้มีกำลังชำระหนี้บ้านได้ตลอดอายุสัญญาซึ่งอาจยาวนานถึง 30 ปีนั่นเอง ประเมินวงเงินกู้ซื้อบ้าน โดยปกติสถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อบ้านที่ 40% ของเงินรายได้ เราจะแสดงตัวอย่างการคำนวณวงเงินกู้ของผู้กู้ที่มีเงินเดือนปัจจุบัน 15,000 บาท ดังนี้ คำนวณสินเชื่อกู้บ้าน 15,000 x 40% = 6,000 บาท สมมติอายุสัญญาเงินกู้คือ 30 ปี เราจะคำนวณต่อตามด้านล่าง (6,000 x 12) x 30 = 2,160,000 บาท ดังนั้นผู้กู้ซึ่งมีรายได้ปัจจุบัน 15,000 บาทต่อเดือน หากเลือกผ่อนชำระ 30 ปี มีแนวโน้มจะได้วงเงินกู้ซื้อบ้านเป็นจำนวน 2,160,000 บาท หากมูลค่าของบ้านที่ต้องการซื้อสูงกว่าวงเงินที่คำนวณได้ผู้กู้ควรหาบุคคลมากู้ร่วม ซึ่งมีคุณสมบัติตามเงื่อนไข/หลักเกณฑ์ที่สถาบันการเงินกำหนด เปรียบเทียบดอกเบี้ยของสถาบันการเงินต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจยื่นกู้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินซื้อบ้าน หรือ กู้เงินสร้างบ้าน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยก่อนตัดสินใจถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เนื่องจากสินเชื่อประเภทนี้เป็นสินเชื่อก้อนใหญ่ อายุสัญญายาวนานหลักสิบปี แม้อัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าเพียง 0.5% ก็จะกลายเป็นจำนวนเงินมากในอนาคต จึงควรเลือกสินเชื่อที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเท่าที่จะสามารถหาได้ในเวลานั้น ติดตามอัตราดอกเบี้ยตามรอบอายุสัญญา แล้วทำ Retention หรือ Refinance เมื่อดอกเบี้ยดีดตัวสูง สินเชื่อบ้านมีหลายประเภทเรามักพบคำว่าดอกเบี้ยคงที่หรือดอกเบี้ยลอยตัว เช่น MRR - 2.00% ปรากฎอยู่ในตารางดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน เช่น ดอกเบี้ยปีแรก 0.56% ดอกเบี้ยปีที่ 2 - 3 MRR - 2.00% ดอกเบี้ยหลังจากนั้น MRR – 1.25% ตามตัวอย่างที่ยกมา (อ้างอิงจากสินเชื่อบ้าน ธนาคารกรุงไทย) อัตราดอกเบี้ยในปีแรกเราจะเรียกว่า “ดอกเบี้ยคงที่” สำหรับดอกเบี้ยปีต่อ ๆ ไปแม้จะปรับไปตาม MRR ซึ่งถือเป็น “ดอกเบี้ยลอยตัว” แต่ธนาคารกรุงไทยก็ยังคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า MRR อยู่ดี จึงถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านที่ต่ำและน่าสนใจมาก กลับมาที่เรื่อง Retention และ Refinance โดยทั่วไปในสัญญากู้ซื้อบ้านจะระบุว่าเมื่อผู้กู้ผ่อนชำระค่าบ้านครบ 3 ปี (แล้วแต่กำหนด) จะสามารถขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม (Retention) หรือย้าย เอาบ้านเข้าธนาคาร อื่น (Refinance) ได้โดยไม่เสียค่าปรับ เมื่อกลับไปที่ตัวอย่างด้านบน หลังจากผู้กู้ผ่อนครบ 3 ปี หากผู้กู้ทำการ Retention หรือ ยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน Refinance ผู้กู้ก็มีโอกาสจะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า MRR – 1.25% จึงช่วยให้การผ่อนบ้านของผู้กู้รายนี้ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าที่ตั้งไว้ตอนแรก เพราะเป็นการผ่อนด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำตลอดเวลา ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้กู้มีกำลังชำระเกินค่างวดทุกเดือน รวมถึงการหาเงินมาโปะจ่ายค่าบ้านก็จะมีส่วนช่วยให้การผ่อนบ้านกินระยะเวลาสั้นลงได้อีกเช่นกัน อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านในยุคปัจจุบันนั้นมีหลายรูปแบบ ผู้ต้องการกู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อคอนโด กู้เงินสร้างบ้าน หรือต้องการ เอาบ้านเข้าธนาคาร เพื่อขอ สินเชื่อบ้านแลกเงิน ต่างก็สามารถขอคำปรึกษาจากสถาบันการเงินที่สะดวกได้ทุกแห่ง ขอเพียงสำรวจความต้องการของตนเองให้แน่ชัดและสามารถตอบข้อมูลสถานะการเงินของตนเองได้อย่างชัดเจน สถาบันการเงินก็จะสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้กู้ได้ง่ายขึ้น
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|