หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ ผ้าพันคอราคาถูก ราคาส่ง เชียงใหม่ ลำพูน

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
การศึกษา
เว็บบอร์ด » การศึกษา
รายละเอียดของห้อง : ติวหนังสือ สอนพิเศษ หนังสือ เอ็นทรานซ์
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
"ประวัติวัดกู่เหล็ก" ที่หลายๆคนไม่เคยรู้มาก่อน [img] <a href="http://upic.me/show/59507108" target="_blank"><img border="0" src="http://upic.me/i/q5/a4112.jpg"></a>[/img] [/img] เชียงใหม่ , งาน , จัดหางานเชียงใหม่ , หางานเชียงใหม่ , หางาน , ตำแน่งงานว่าง , งานเชียงใหม่ , งานว่าง , ภาคเหนือ , ลงประกาศงาน,ประกาศงาน,เว็บบอร์ด,ฟรี,ฟรีเว็บบอร์ด,ตลาดออนไลน์,ประกาศ,ลงประกาศ"> ประวัติวัดกู่เหล็ก พญาแขนเหล็กกับเจ้าแม่จามเทวี ในสมัยพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย ชาติกำเนิดของพระนางจามเทวี มีที่มาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทั้งจากตำนาน พงศาวดารและหลักฐานอื่นๆ ในตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า พระนางเป็นธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ ได้เดินทางพร้อมพระสงฆ์ ผู้ทรงพระไตรปิฏกและช่างผู้มีฝีมือหลากหลายประเภทละ ๕๐๐ คน จากเมืองละโว้ สู่นครหริภุญไชย ในปีพุทธศักราช ๑๔๐๖ (อ้างอิงจาก จามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และมูลศาสนา สำนวนล้านนา) มีข้าราชบริพารตามเสด็จจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ พราหมณ์ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปวิทยาต่างๆ ที่จะไปสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่นั้นให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น หมู่คนทั้งหลายนั้นได้แก่ พระมหาเถระที่ทรงปิฎก ๕๐๐ รูป หมู่ปะขาวที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล ๕๐๐ คน บัณฑิต ๕๐๐ คน หมู่ช่างแกะสลัก ๕๐๐ คน ช่างแก้วแหวน ๕๐๐ คน พ่อเลี้ยง ๕๐๐ คน แม่เลี้ยง ๕๐๐ คน หมู่หมอโหรา ๕๐๐ คน หมอยา ๕๐๐ คน ช่างเงิน ๕๐๐ คน ช่างทอง ๕๐๐ คน ช่างเหล็ก ๕๐๐ คน ช่างเขียน ๕๐๐ คน หมู่ช่างทั้งหลายต่างๆ ๕๐๐ คน พระนางจามเทวีและข้าราชบริพารทั้งหมดได้เดินทางโดยกระบวนเรือขึ้นไปตามลำน้ำมุ่งสู่ดินแดนนครหริภุญไชยและสิ่งสำคัญ ๒ สิ่ง ซึ่งพระนางได้นำไปด้วย คือ พระแก้วขาว ซึ่งว่ากันว่าเป็นองค์เดียวกับ ที่ประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่เวลานี้องค์หนึ่ง กับ พระรอดหลวง ซึ่งประดิษฐานที่วัดมหาวัน จ.ลำพูน อีกองค์หนึ่ง เรียกว่าแม่พระรอด บางตำนานกล่าวไว้ว่า ระหว่างที่ยังมิได้เสด็จถึงนครหริกุญไชยนั้น พระนางได้ทรงศีลและฉลองพระองค์ขาวโดยตลอด เส้นทางที่เสด็จโดยชลมารคนั้นกินระยะเวลายาวนานกว่า ๗ เดือน โดยได้หยุดพัก ณ ตำบลต่างๆ ตามรายทาง ได้แก่ เมืองบางประบาง ว่ากันว่าจะเป็นปากบางหมื่นหาญ ใกล้ปากน้ำพุทราเวลานี้ เมืองคันธิกะ ว่ากันว่าจะเป็นนครสวรรค์ เมืองบุราณะ ยังไม่แน่ใจว่าเป็นเมืองอะไรในปัจจุบัน เมืองเทพบุรี ปัจจุบันคือ บ้านโดน เมืองบางพล ปัจจุบันอยู่ใน จ.กำแพงเพชร เมืองรากเสียด คือ เกาะรากเสียดเวลานี้ หาดแห่งหนึ่ง เกิดน้ำรั่วเข้าเรือพระที่นั่ง จึงเรียกกันต่อมาว่า หาดเชียงเรือตำบลหนึ่ง พระนางจามเทวีทรงมีรับสั่งให้พระพี่เลี้ยงและข้าราชบริพารนำสิ่งของทั้งหลายอันเปียกชุ่มน้ำขึ้นตาก จึงเรียกสถานที่นี้ต่อมาว่า บ้านตาก ตำบลหนึ่ง เป็นที่รวมน้ำแม่วังต่อกับแม่ระมิงค์ รี้พลทั้งหลายพากันง่วงเหงาอยู่ พระนางเองก็ดูเหงาๆ ไป จึงได้เรียกต่อมาว่า จามเหงา หรือ ยามเหงา ครั้นต่อมาจึงเพี้ยนเป็นสามเงาในทุกวันนี้ ตำนานว่าพระนางโปรดให้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระสาวกให้คนทั้งหลายสักการบูชาสรณาคมน์ ที่นั้นจึงได้ชื่อเวลาต่อมาว่า พุทธสมาคม ตำบลหนึ่ง มีแก่งน้ำมีหน้าผาชะโงกเงื้อมลงปรกแม่น้ำ ที่นั่นนางกำนัลคนหนึ่งเสียชีวิต พระนางจามเทวี จึงพระราชทานเพลิงศพและฝั่งอัฐิไว้ ต่อมาพระนางเสด็จลงสรง ทรงเสี่ยงสัตยาธิฐานว่า “ข้าน้อยจักนำพระศาสนาและราชประเพณีไปประดิษฐานยังแว่นแคว้นนครหริภุญไชยในครั้งนี้ หากเจริญรุ่งเรืองดังมโนรถ อันมุ่งหมาย ขอเทพยดาจงดลบันดาลให้มีน้ำไหลหลั่งลงมาจากเงื้อมผานี้ให้ข้าน้อยได้สรงสรีระในกาลบัดนี้เถิด พอสิ้นคำอธิษฐาน ก็บังเกิดเหตุอัศจรรย์มีอุทกธาราโปรยปรายหลั่งไหลตกลงมาจากเงื้อมผานั้นให้ พระนางได้สรงสนานเป็นที่สำราญพระหฤทัย สถานที่นั้นจึงได้ปรากฏชื่อต่อมาว่า ผาอาบนาง ยังมีน้ำตกโปรยจากผาลงมาในลำน้ำจนถึงทุกวันนี้ ตำบลหนึ่ง ปรากฏว่ามีผาตั้งขวางทางน้ำอยู่ ไม่เห็นช่องที่เรือจะผ่านไปได้ พระนางจามเทวีจึงทรงมีรับสั่งให้คนไปสำรวจพบช่องทางน้ำเลี้ยวพันหน้าผานั้นอยู่อีกด้านหนึ่ง จึงเคลื่อนกระบวนเรือไปถึงบริเวณหน้าผา ณ ที่นั่น พระนางโปรดฯ ให้ช่างเขียนทำรูปช้างแปรหน้าคืนไว้ สถานที่นั้นจึงมีนามปรากฏต่อมาว่า ผาแต้มบ้าง ผาม่านบ้าง เพราะเหตุว่ารูปทรงของหน้าผาเหมือนผ้าม่านขวางลำน้ำไว้ เมืองร้างแห่งหนึ่ง ที่นี่พระนางจามเทวีทรงให้หยุดกระบวนเรือพักแรม ปรากฏว่ามีเต่าจำนวนมากมายมารบกวนคน สถานที่นั้นจึงเรียกว่า ดอยเต่า ตำบลหนึ่ง มีชื่อว่า บ้านโทรคาม เป็นรมณียสถานอันพอพระทัยนัก พระนางโปรดฯ ให้พักแรมอยู่ ณ ที่นี้ และทรงสร้างพระสถูปขึ้นพระองค์หนึ่ง ประทานพระนามว่า วิปะสิทธิเจดีย์ เมื่อสร้างเสร็จได้มีพิธีฉลองและกระทำการสักการบูชาเป็นอันมาก ท่าเชียงทอง มีชาวบ้านหญิงชายพากันออกมาคอยรับเสด็จจำนวนมาก พระนางจึงทรงมีรับสั่งให้พระนางกำนัลผู้หนึ่งถามคนทั้งหลายนั้นว่า “ดูกร ชาวพ่อชาวแม่ทั้งหลาย แต่นี้ถึงนครหริกุญไชย ยังประมาณมากน้อยเท่าไร” คนเหล่านั้นตอบว่า “ข้าแต่มหาราชเทวีเป็นเจ้า แต่นี้ถึงนครหริกุญไชย นั้น ข้าทั้งหลายได้ยินมาว่าหนึ่งโยชน์แล”ด้วยเหตุดังกล่าว สถานที่นี้จึงได้ชื่อต่อมาว่า เมืองฮอด ได้มีการหยุดประทับแรมกันเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่าเชียงทองนั้นเอง พระนางจามเทวีทรงมีพระดำริว่าแม้จะใกล้ชานเมืองหริภุญไชยแล้ว แต่ก็ควรจะหยุดพักกระบวนเรือและตั้งเมืองเล็กขึ้นบริเวณนอกเมืองเสียก่อน ไม่ควรรีบร้อนเข้าไปในเมือง จากนั้นทรงปรึกษากับข้าราชบริพารทั้งหลายเพื่อกำหนดสถานที่ตั้งค่ายประทับแรม โหราจารย์ได้ถวายความเห็นให้ทรงเสี่ยงธนูดูตามประเพณีที่มีมาแต่ก่อน จึงโปรดฯ ให้กระทำดังนั้น ปรากฏว่านายขมังธนูน้าวคันศรส่งลูกธนูไปทางทิศเหนือด้วยกำลังแรง ลูกธนูไปตกอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิอันเหมาะสม พระสงฆ์ทั้งหลายจึงถวายพระพรว่าพระนางควรจะหยั่งรากพระศาสนาลง ณ ที่นั้นเป็นเบื้องแรก พระนางจึงโปรดฯ ให้ก่อพระอารามขึ้น พร้อมด้วยพระมหาเจดีย์ยังจุดที่ลูกธนูตก และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปเท่าพระองค์จริงบรรจุพระบรมธาตุประดิษฐานไว้ในพระอาราม นอกจากพระพุทธรูปซึ่งพระนางโปรดฯ ให้สร้างเท่าพระองค์สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั้นแล้ว บรรดาเสนามหาอำมาตย์ที่ตามเสด็จ เป็นต้นว่าพญาแขนเหล็ก และพญาบ่เพ็กก็โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างพระพุทธรูปด้วยคนละองค์สององค์ พระพุทธรูปทั้งหลายจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองเหนือตั้งแต่นั้น พระนางจามเทวีจึงทรงสถาปนาเมืองเล็กขึ้น ประกอบด้วยพระราชนิเวศน์เรือนหลวงสำหรับเสด็จประทับรวมทั้งที่พักคณะผู้ติดตามทั้งหมด พระนางและปวงเสนาประชาราษฏร์ที่ตามเสด็จต่างอาศัยอยู่ในเมืองเล็กนั้นด้วยความสุขสบาย สถานที่ดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า รมย์คาม และคนทั้งหลายเรียกกั้นสืบมาว่า บ้านระมัก จากนั้นท่านสุกทันตฤๅษีและนายควิยะได้เดินทางล่วงหน้าต่อไปยังเมืองนครหริกุญชัยเพื่อแจ้งข่าวการเสด็จมาถึง ท่านสุเทวฤๅษีรวมทั้งไพร่บ้านพลเมืองทั้งหลายพอทราบข่าวก็พากันตกแต่งพลับพลารับเสด็จไว้ทางทิศตะวันออก ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยเสด็จประทับตรัสพุทธพยากรณ์มาแต่ก่อน และสองข้างถนนที่จะเสด็จพระดำเนินด้วยราชวัตรฉัตรธงบุปผชาติต่างๆ จากนั้นท่านสุเทวฤๅษีจึงนำชาวเมืองเชิญเครื่องบูชาสักการะอย่างเต็มอัตราไปเฝ้าเตรียมรับเสด็จตั้งแต่ชานเมืองด้วยความปิติอย่างยิ่ง ไม่ช้ากระบวนเสด็จของพระนางจามเทวีก็มาถึงโดยสถลมารค พระนางเมื่อทอดพระเนตรเห็นท่านสุเทวฤๅษีซึ่งเปรียบเสมือนบิดาก็ตื้นตันพระทัยเสด็จออกจากราชยานมากราบ พระฤๅษีทั้งสองได้กราบบังคมทูลขอให้พระนางสละเพศนักพรตกลับเป็นกษัตริย์และขอให้ทรงเสวยราชย์ยังพระนครแห่งนี้ จากนั้นจึงแห่แหนพระนางไปยังพลับพลา ที่นั่นได้มีพระราชพิธีราชาภิเษก ท่านสุเทวฤๅษีกราบบังคมทูลเชิญพระนางเสด็จขึ้นประทับบนกองสุวรรณอาสน์เพื่อทรงสรงน้ำพระมูรธาภิเษกทและวันที่เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัตินั้นตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๑๒๐๒พระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา ปรากฏพระนามเมื่อทรงรับการราชาภิเษกในพระสุพรรณบัฏว่า พระนางเจ้าจามเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญไชย เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ๗ วัน พระครรภ์ได้ครบทศมาส พระนางจามเทวีจึงทรงมีประสูติกาลพระโอรส ๒ พระองค์ในวันเพ็ญเดือน ๓ ราชกุมารทั้งคู่ทรงศิริลักษณ์งามละม้ายกัน เป็นที่ปิติยินดีไปทั้งพระนคร พระนางได้พระราชทานนามพระเชษฐาว่า พระมหันตยศ และพระอนุชาว่า พระอนันตยศ พระนางจามเทวี ทรงสถาปนาความรุ่งเรืองแก่นครหริภุญไชยของพระนางมากขึ้นไปอีก จนเป็นนครในอุดมคติที่มนุษย์ทั้งหลายใฝ่ฝันอย่างแท้จริง โดยตำนานนั้นกล่าวว่าอาณาประชาราษฎร์เป็นสุขสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติโดยถ้วนหน้า เฉพาะบ้านใหญ่นั้นมีจำนวนถึง ๔๐๐๐ บ้าน บ้านน้อยอีกเป็นอันมาก มีไร่นาเรือกสวนบริบูรณ์ และพสกนิกรต่างมีใจศรัทธาสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนถึง ๒๐๐๐ แห่ง สำหรับถวายพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฎกมาจากละโว้ ๕๐๐ รูป แยกย้ายผลัดเปลี่ยนกันสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนา วัดทั้ง ๒๐๐๐ แห่งนั้นต่อมาก็มีภิกษุจำพรรษาเต็มพระอารามทุกแห่ง ยิ่งไปกว่านั้น พระนางยังโปรดฯ ให้เฟ้นหาบัณฑิตที่ชำนาญการสวดพระธรรมอีก ๕๐๐ คนสำหรับช่วยสวดพระธรรมในวัดทั้ง ๒๐๐๐ แห่งนั้นด้วย บรรดาผู้คนซึ่งตามเสด็จพระนางจามเทวีมาแต่กรุงละโว้นั้น พระนางก็โปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่กันทางทิศตะวันออกของพระนคร ชาวมิคสังครเดิมอยู่ทิศตะวันตก พวกที่รอดตายมาจาก รมยนครอยู่ทิศใต้ และตระกูลที่เกิดจากรอยเท้าสัตว์นั้นก็อยู่ภายในเมือง ในตำนานมูลศาสนาและจามเทวีวงศ์กล่าวว่า ในลำดับต่อมาพระนางจามเทวีทรงอภิเษกพระมหันตยศซึ่งมีพระชนม์มายุ ๗ พรรษาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองหริภุญไชยแทนพระนาง และมีการมหรสพสมโภชเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ต่อมาก็อภิเษกพระอนันตยศขึ้นเป็นพระอุปราช รวมเวลาที่พระนางทรงเสวยราชย์ในกรุงหริภุญไชยได้ ๗ ปี เมื่อพระมหันตยศได้เสวยราชย์แล้ว ทรงดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทแห่งพระมารดาทุกประการ นครหริภุญไชยจึงยิ่งเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรดำรงอยู่ด้วยความสุข ในเมืองไม่มีโจรผู้ร้าย มีแต่ความสงบร่มเย็นในพระศาสนา เมื่อถึงเวลานี้ พระนางจามเทวีก็เสด็จประทับอยู่ในพระราชสำนักแห่งพระนางด้วยความสุขอย่างบริบูรณ์แล้ว เช้าวันหนึ่งพระนางตื่นบรรทมขึ้นมา เป็นเวลาที่อากาศแจ่มใสน่าสบายอย่างยิ่ง พระนางยังทรงประทับอยู่ ณ ที่ไสยาสน์ ระลึกถึงห้วงเวลาทั้งหลายที่ผ่านมาแล้วบังเกิดความปิติในพระหฤทัยว่าสิ่งใดที่พระนางปรารถนาไว้เวลานี้พระนางก็ถึงพร้อมด้วยสิ่งนั้นแล้วทั้งหมด ทรงมีพระดำริว่า กัลยาณกรรมอันพระนางได้ทำมาแล้วในกาลก่อน พระนางจึงได้มาสำเร็จในชาตินี้ กรรมอันเป็นกุศล ควรที่พระนางคิดทำไว้ในอนาคตก่อนที่จะชราภาพ ด้วยพระดำริเช่นนั้นเอง พระนางก็ทรงสรงน้ำ ฉลองพระองค์แล้วนำข้าราชบริพารออกสำรวจรอบพระนคร เห็นสถานที่ต่างๆ ที่เหมาะสมพระนางก็โปรดฯ ให้สร้างพระอารามแห่งใหม่ขึ้น ๔ มุมเมืองนั้น ได้แก่ วัดอรัญญิกกรัมมการาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระนคร ทรงสร้างวิหารและพระพุทธรูป แล้วถวายให้เป็นที่อยู่แห่งสงฆ์ มีพระสังฆเถระเป็นประธาน วัดอาพัทธาราม ทางทิศเหนือของพระนคร มีวิหารหลังหนึ่ง สำหรับพระสงฆ์ผู้มาแต่ลังการาม วัดมหาวนาราม ทางทิศตะวันตกของพระนคร สร้างพระวิหาร พระพุทธรูป และกุฏิสำหรับให้พระสงฆ์จำพรรษา วัดมหารัตนาราม ทางทิศใต้ของพระนคร สร้างพระวิหาร พระพุทธรูปอย่างงดงาม ให้พระสงฆ์จำพรรษาและเลี้ยงดูด้วยข้าวด้วยน้ำ อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันอนุโมทนาและโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยการสร้างวัดเพิ่มเติม อีกเช่นกัน เมื่อถึงเทศกาลต่างๆ ก็พากันหอบลูกจูงหลานเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ไม่เว้นแม้แต่เสนามหาอำมาตย์ หริภุญไชยจึงเท่ากับเป็นพระพุทธนครอันรุ่งเรืองยิ่งนัก ความเกี่ยวข้องระหว่างพญาแขนเหล็กและวัดกู่เหล็ก จะกล่าวถึงเสนามหาอำมาตย์ที่ตามเสด็จผู้หนึ่ง ชื่อว่าพญาแขนเหล็ก ท่านเป็นทหารเอกของเมืองหริภุญไชย ท่านได้ป้องกันเมืองหริกุญไชยหลายต่อหลายครั้ง ครั้งหนึ่งท่านได้ทำสงคราม กับทัพหลวงขุนวิลังคะ อันเป็นเจ้าเมืองมิลักขะนคร ตั้งอยู่บนดอยสูงชื่ออุฉุจบรรพต มีพลโยธามากถึง ๘๐,๐๐๐ คน ที่ยกมาเพื่อตีหักเอาเมืองหริภุญไชยให้ได้ ท่านได้ร่วมทัพกับสองเจ้าชาย มหันตยศและอนันตยศ ทำการสู้รบจนได้รับชัยชนะในที่สุด ท่านได้สร้างวัดโดยเสด็จพระราชกุศล นั้นคือวัดสถิตย์ธรรมวนาราม2 (หรือวัดกู่เหล็กในปัจจุบัน) มีบรรดาพระภิกษุได้เข้ามาศึกษาพระไตรปิฎก และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสถานที่อยู่ของพระฝ่ายอรัญวาสี ถือได้เป็นยุคสมัยที่รุ่งเรื่องที่สุดของวัด หลังจากที่ท่านพญาแขนเหล็กได้ถึงแก่กรรมลงไป บริวารได้นำอัฐิท่านบรรจุกู่เพื่อระลึกถึงความกล้าหาญ ในสมัยต่อมาอาณาจักรหริกุญไชย เกิดโรคห่าระบาด(อหิวาตกโรค)ในเมืองหริกุญไชยผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ในยุคสมัยของพญากมลราชในรัชกาลที่ ๒๑ ปี พุทธศักราช ๑๕๙๐ ชาวเมืองและพระภิกษุต้องหนีโรคร้ายไปยังกรุงหงสาวดี อยู่ที่นั้นนานถึง ๖ ปี วัดสถิตย์ธรรมวนาราม จึงต้องตกเป็นวัดร้างในที่สุด เพราะขาดผู้ดูแล. เหตุการณ์ก่อนพบวัด ในสมัยโบราณร่วมพันปีมาแล้ว กู่เหล็กนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของอาณาจักรหริภุญไชย เพราะที่แห่งนี้เป็นกู่ที่บรรจุอัฐิของ “พญาแขนเหล็ก” ผู้เป็นทหารเอกของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชยนคร ดังนั้น กู่เหล็กนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัตถุที่ได้ถูกขุดค้นพบในที่แห่งนี้เป็นพยาน หลักฐานที่สำคัญที่ได้ชี้ให้เห็นถึงอายุการสร้างและความเก่าแก่ที่ใกล้เคียงกับอายุของอาณาจักรหริภุญไชยเลยทีเดียว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันนี้สถานที่สำคัญแห่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนหมู่บ้านไปหมดแล้วจึงแทบจะไม่มีอะไรจะหลงเหลือในความเป็นกู่หรือเป็นเนินดินเก่าแก่ได้เห็นอีก คงจะมีเหลือยู่แต่ก็เพียงความทรงจำที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้เพียงแค่นี้เท่านั้น ยังมีโบราณสถานอีกหลายต่อหลายแห่งมากมายในเมืองลำพูน ที่ไม่ได้มีการสำรวจและขุดค้นและสถานที่ในบางแห่งได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านชาวเมืองไปแล้วการจะขุดค้นหาหลักฐานต่าง ๆ ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งเมื่อความเจริญอย่างใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลและการพัฒนาในด้านความเจริญต่าง ๆ ได้ก้าวเข้ามาก็เป็นตัวการ ที่ยิ่งทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหริภุญไชยเสียหายและสูญหายไปเกือบจะหมดสิ้นจึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างเหลือเกิน ในสมัยก่อน ๆ เมื่อสี่ห้าสิบปีก่อนนั้นไม่มีใครที่จะสนใจหรือจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริเวณที่เป็นกู่มากนักเพราะถือกันว่า กู่แห่งนี้เจ้าที่ของกู่แรงมากพูดกันง่าย ๆ ก็คือผีดุมากและเอากันถึงตายเลยทีเดียว กู่นี้จึงถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานานแสนนานโดยไม่มีใครเอาใจใส่ดูแลหรือกรายเข้าไปใกล้ เวลาผ่านไปกู่ที่สร้างสถูปสูงใหญ่ที่ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ก็ปรักหักพังผุกร่อนโดยแรงธรรมชาติและกาลเวลาที่ผ่านไปเป็นเวลายาวนานกว่าพันปี ในที่สุดก็ปรักหักพังโค่นล้มกลายเป็นเนินดินโล้น ๆ เตี้ย แต่กินบริเวณกว้างขวาง บริเวณแห่งนี้จึงถูกเรียกกันว่า “กู่ล้าน” ซึ่งความเฮี้ยนและแรงของเจ้าที่ถือกันว่า พญาแขนเหล็กซึ่งเป็นทหารเอกที่เหี้ยมหาญของพระนางจามเทวีสิงสถิตอยู่ชาวบ้านเล่าลือกันมาโดยตลอดจึงไม่กล้าที่จะเข้าไปยุ่งทั้ง ๆ ที่มีความมุ่งมาดปรารถนาในทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ในกู่นั้นอย่างมากมาย เป็นเวลานานแสนนานที่เวลาได้ผ่านไป ความเจริญต่าง ๆ ได้ค่อยๆ คืบคลานมาใกล้บริเวณโดยรอบของกู่เหล็กได้กลายเป็นทุ่งนาของทายาทเจ้าผู้ครองนครลำพูนที่ได้ให้ชาวบ้านใกล้เคียงใช้เป็นที่ทำกินโดยทำนาแบ่งคือ แบ่งข้าวให้เป็นค่าทำนา ทุ่งนาบริเวณนี้ภายหลังจึงได้ถูกเรียกกันว่า “ทุ่งกู่ล้าน” โดยมีจุดสำคัญคือเนินดินที่โล้นล้านของกู่เหล็กเป็นหัวใจของบริเวณที่น่ายำเกรงต่อ ๆ มาพวกชาวบ้านก็ค่อย ๆ คลายความกลัวลงการขยายการทำนาก็รุกล้ำเข้าไปใกล้กู่ทุกขณะมีผู้ได้แก้ว แหวน เงินทอง เครื่องถ้วยตลอดจนพระเครื่องต่าง ๆ ขึ้นมาก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านมีใจฮึกเหิมหมดความเกรงกลัวเมื่อความเจริญได้แผ่ซ่านเข้ามาในเมืองลำพูนโดยเป็นลำดับทุ่งนา บางส่วนของบริเวณนี้ได้ถูกตัดแบ่งขายไปเป็นบ้านจัดสรรในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ก็ได้มีการขุดค้นหาสมบัติและพระเครื่องกันเป็นครั้งใหญ่ของชาวบ้าน พระเครื่องที่พบ พระลือโขง หรือพระเครื่องเนื้อดินเผาที่คุณเชียร ธีระศานต์ ปรมาจารย์พระเครื่องอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้วได้เรียกชื่อให้ใหม่อย่างไพเราะเพราะพริ้งว่า “พระจามเทวีเศรษฐีเรือนแก้ว” ซึ่งก็เป็นชื่อที่ดุจะเหมาะสมมากอยู่แต่ฟังดูออกจะยาวและออกจะกระเดียดไปทางภาษากลางไปสักหน่อย เมื่อฟังให้ดีแล้วชื่อ “พระลือโขง” นั้นรู้สึกจะดีที่สุดเพราะเรียกได้ง่าย กระชับ สื่อความหมายได้ดีมากโดยเฉพาะเป็นภาษาพื้นบ้านพื้นเมืองของจังหวัดลำพูนอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระเครื่องชนิดนี้และเป็นภาษาโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ คำว่า “โขง” กับ “ขง” ไม่เหมือนกัน โขงแปลว่าซุ้ม แตกต่างกับคำว่า “ขง” ที่แปลว่า กรงที่ใช้สำกรับขังคนหรือสัตว์ ดังนั้นจึงอย่าไปเขียนเข้าเลยว่า “พระลือขง” จะหมายถึงพระลือที่อยู่ในกรงขังซึ่งมีผู้ที่เข้าใจผิดเขียนไปเช่นนั้นเข้าบาปกรรมเปล่าๆ ที่ถูกต้องก็คือ “พระลือโขง” อันหมายถึง พระลือที่ประทับอยู่ภายใต้ซุ้มนั่นเองจะเหมาะสมและมีความหมายอย่างน่าประทับใจมากกว่ากันเยอะเลย พระลือโขงจัดได้ว่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาของพระเครื่องชุดสกุลลำพูนเป็นพระเครื่องขนาดกลางไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไปขนาดขององค์พระจะมีขนาดพอ ๆ หรือใกล้เคียงกับพระสามวัดดอนแก้ว พระเปิมพิมพ์ของวัดพระธาตุหริภุญชัยจะเล็กกว่าพระสามท่ากาน พระเหลี้ยมหลวง พระสิบสอง พระสิบแปดมาก กล่าวได้ว่า พระลือโขง นั้นมีขนาดพอเหมาะซึ่งมีขนาดกว้าง ๒ พ เซนติเมตร สูง ๕ เซนติเมตร หน้า ๑ ผ เซนติเมตร “พระลือโขง” จัดได้ว่าเป็นพระเครื่องที่หายากเอามาก ๆ องค์ที่สวย ๆ สมบูรณ์ ๆ ได้ถูกอาราธนาย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างจังหวัดนอกเขตเมืองลำพูนไปเกือบหมดแล้วจะมีหลงเหลือให้เห็นภายในเมืองลำพูนจริง ๆ นั้นมีเพียงไม่กี่องค์ จะพูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือตอนนี้จะหาพระรอดแท้ ๆ หรือพระคงแท้ ๆ สักองค์หนึ่งให้ได้นั้นจะหาง่ายกว่าการหาพระลือโขง องค์ที่สวยและสมบูรณ์ให้พบเสียอีก “พระลือโขง” พิมพ์นิยมนั้นมีขึ้นและขุดได้อยู่กรุเดียวเหมือน ๆ กับพระรอด ยอดพระเครื่องและที่แห่งนั้นเป็นที่แห่งเดียวเท่านั้นที่ขุดพบพระเครื่องชนิดนี้นั้นก็คือ “กรุกู่เหล็ก” ของทุ่งกู่ล้าน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดสังฆาราม (ประตูลี้) อำเภอเมืองลำพูนมากนัก ปัจจุบัน “กรุกู่เหล็ก” นั้นจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนอรพินพิทยาและวัดกู่เหล็ก ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งรายล้อมไปด้วยชุมชน และบ้านจัดสรร “พระลือโขง” เท่าที่ได้มีการขุดพบนั้นมีอยู่หลายพิมพ์และมีหลากหลายสี เช่นเดียวกับพระในชุดสกุลลำพูนแบบชนิดอื่น ๆ สำหรับในด้านเนื้อหานั้นพระลือโขงมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พระเนื้อหยาบจะมีเม็ดแร่ขึ้นพราวอยู่ทั่วทั้งองค์พระพราวไปทั่วเนื้อจะเป็นรูพรุนด้วยศิลาแลงที่จับเกาะติดแน่นอยู่ เมื่อใช้กล้องจับตาดูจะดูงดงามและมีเสน่ห์ไปอีกแบบหนึ่งในความมีอายุเก่าแก่ขององค์พระ สำหรับพระที่มีเนื้อละเอียดนั้นจะมีเนื้อที่พอ ๆ กับพระคงหรือพระเปิมแต่ไม่ละเอียดเท่ากับเนื้อของพระรอดแห่งวัดมหาวัน เนื้อของพระลือโขงโดยส่วนใหญ่ที่ทำการขุดได้จะมีขี้กรุแน่นหนามากล้างออกยากล้างไม่ค่อยจะออกง่ายๆ ขี้กรุที่ติดอยู่แน่นนั้นจะมีลักษณะเป็นสนิมเหล็กสีน้ำตาลหรือสีแดง ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “น้ำฮาก” ซึ่งน้ำฮากนี้เอาติดแน่นกับดินขี้กรุล้างออกยากมาก “พระลือโขง” ก็ได้ขึ้นจากกรุแห่งนี้เป็นจำนวนมากในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ศิลปกรรมอันงดงามของพระลือโขงก็ได้ออกมาปรากฏโฉมให้โลกได้รับรู้ซึ่งก็เป็นที่ฮือฮากันอย่างมากในวงการนักนิยมพระเครื่องที่งดงามอลังการมากกว่าพระเครื่องของยุคใด ๆ ซึ่งจะหามาเปรียบได้ยากมาก พระลือโขงเป็นที่ยอมรับของนักเล่นพระในส่วนกลางคืนกรุงเทพฯ ว่าสวยงามที่สุดมีอายุเก่าแก่สมค่ามากที่สุด พระลือโขงจึงเป็นพระเครื่องที่เป็นที่ต้องการของนักเล่นพระที่ตาถึงโดยแท้เสียแต่ว่าออกจะหายากมากไปสักหน่อย “พระลือโขง” เท่าที่ได้พบเห็นนั้นแบ่งออกได้เป็น ๒ พิมพ์คือ พระลือโขง พิมพ์เกศ และอีกพิมพ์หนึ่งก็คือ พระลือโขง พิมพ์เศียรกลม พระลือโขงทั้ง ๒ พิมพ์นี้มีอยู่หลายขนาดและมีความแกต่างกันไปตามรูปแบบเราจะมาคุยกัน พระลือโขงพิมพ์มีเกศกันก่อน ๑. พระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นแบ่งออกเป็น พระลือโขงมีเกศแบบตัดขอบเรียบร้อยไม่มีปีกข้างหรือดินเหลือยื่นออกมาด้านข้าง ด้านหลังจะบางไม่นูนมากและมีฐานไม่ใหญ่มากจนเกินไปจะดุพอดีและงดงามเรียบร้อยพอตักจัดเป็นพิมพ์ที่ดูพิมพ์สมบูรณ์แบบและลงตัวอย่างเรียบร้อยผิดกับพิมพ์มีเกศที่ไม่ตัดขอบข้ามีดินเหลือมากล้นเป็นปีกยื่นออกมาเหมือนกับว่า ช่างไม่มีความตั้งใจในการทำพิมพ์ล้ามากจนเกินงามไป สำหรับพระลือโขงพิมพ์มีเกศนี้เกศขององค์พระจะมีลักษณะเป็นเกศตุ้มไม่ได้เป็นเกศรัศมีเปลวเพลิงอย่าง ที่บางคนเข้าใจและให้ข้อมูลไปอย่างผิด ๆ เกศจะเป็นการรวบเกล้าเป็นมวยมุ่นขึ้นไปเหมือนเกศโยคี หากเราจะดุเกศรัศมีเปลวเพลิงนั้นจะเป็นเกศของพระในรุ่นหลัง ๆ เช่น เกศ ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่มีอายุรุ่นหลังกว่าพระพุทธรูปหรือพระเครื่องศิลปหริภุญไชยหากจะนับเป็นระยะเวลาก็จะห่างกันกว่า ๗๐๐-๘๐๐ ปีเลยทีเดียว หากเราจะพิจารณาดูลักษณะเกศตุ้มของพระลือโขง พิมพ์จะมีเกศนั้นจะเห็นได้ว่ามีลักษณะของเกศเหมือน ๆ กับเกศของพระรอดพิมพ์ตื้นและพระรอดพิมพ์ต้อและจะเปรียบเทียบได้กับเกศของพระเสตังคมณีหรือพระแก้วขาวที่ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น เชียงใหม่และเหมือน ๆ กับเกศของแม่พระรอด หรือพระสิกขีปฏิมาในพระวิหารวัดมหาวัน ซึ่งจากการพิจารณาดูแล้วก็พอที่จะยืนยันได้ถึงความเกี่ยวพันทางศิลปะของกันและกันอันเป็นแนวร่วมขององค์ศิลปะในแนวทางเดียวกันอย่างเห็นได้ชัดลักษณะโดยรวมตลอดจนหน้าตาของพระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นจะดูแตกต่างกับพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมอย่างมากมายพระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นไม่มีเม็ดพระศกให้เห็น ใบหน้าจะดูดุดัน เคร่งขรึม ตาจะเป็นเม็ดนูนโปนออกมาอย่างเด่นชัด คิวจะเป็นรูปปีกกาตามลักษณะของคิ้วขอม หน้าผากจะอูมเด่น จะเห็นไรพระศกเป็นวงโค้งอย่างชัดเจน จมูกจะบานใหญ่ ปากจะเป็นฟื้นจนดูน่าเกรงขามเย็นยะเยือก หูทั้งสองข้างจะยาวจรดบ่า หูข้างซ้ายจะยาวกว่าหูข้างขวา การห่มจีวรจะเป็นการห่มดองมีสังฆาฏิพาดบ่าลงมาเกือบจะถึงท้องซึ่งจะมีเส้นรัดประคดยาวลาดผ่านท้องด้านล่างไปสุดตรงกลางช่องแขนขวา องค์กระลือโขงพิมพ์นี้จะยึดตัวตั้งตรงอย่างเป็นสง่า เอวจะกิ่วคอดอย่างได้สัดส่วนงดงาม การประทับนั่งขององค์กระจะประทับนั่งดูเด่น เป็นสง่าดูน่าเกรงขามประทับนั่งในท่าของปางมารวิชัยโดยมีมือขวาวางอยู่บนเข่าขวาให้เห็น หัวเข่าด้านขวายื่นออกมาอย่างเด่นชัด มือซ้ายวางพาดตักอย่างสบายประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์ซึ่งมีผ้าทิพย์เป็นรูปโงครึ่งวงกลมอยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้งสองที่ขัดกัน ด้านล่างของบัลลังก์ก็เป็นแอ่งโดยรอบซึ่งเว้าตรงกลางระหว่างกลางตรงด้านข้างบนจะเป็นรูปดอกบัวโยรอบ ด้านล่างจะเป็นเม็ดลุกแก้วกลม ๆ ทำเป็นแถวเป็นแนวอย่างมีระเบียบดูงดงามยิ่ง ตรงข้าม ๒ ข้างขององค์พระจะทำเป็นลายกนกดอกบัวตั้งและดอกบัวตูมหักงอพับโค้งลงมาเรียกว่าตัวเหงาชูโชว์โค้งมนลงมาดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งเป็นตัวลายประกอบที่ชูองค์พระให้ดูเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น องค์พระนั้นทรงประทับนั่งภายใต้ซุ้มโค้งหรือโขงหรือซุ้มปราสาทที่สองข้างทำเป็นลวดลายหัวพระยานาคผงกหัวงอนอ่อนช้อยดูขลังมาก เหนือซุ้มโค้งด้านบนจะเห็นเป็นก้านดอกบัวซึ่งเป็นดอกบัวตูมชูช่อพลิ้วไหวไปมาอย่างเริงร่าเมื่อคราต้องลมอันเป็นชีวิตชีวาที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในพระโพธิญาณแห่งพระพุทธองค์ทำให้เกิดความรู้สึกทึ่งในความมีจินตนาการของจิตวิญญาณในเชิงศิลป์ของเชิงช่างสมัยหริภุญไชยเป็นอย่างมาก หากท่านผู้อ่านได้เห็นและสัมผัสกับองค์พระจริง ๆ แล้วจะรู้สึกว่าพระลือโขงพิมพ์มีเกศนั้นสวยงาม สง่าเหนือรูปภาพและคำบรรยายจริง ๆ ๒. สำหรับพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนั้นแบ่งออกเป็นหลายพิมพ์เป็นต้นว่า พิมพ์หัวเอียง พิมพ์ตัวตรง พิมพ์หน้ายิ้ม พิมพ์หน้าดุ และพิมพ์เล็ก พระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนี้เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่จัดได้ว่าสวยงามมากที่สุดกว่าพระพิมพ์ชนิดใดๆ ทั้งสิ้น มีความวิจิตอลังการเป็นที่ยิ่งจัดได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมากถือได้ว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดงของศิลปหริภุญไชยแท้ ๆ เลยทีเดียว ในหน้าอันแย้มยิ้มขององค์พระได้แสดงถึงความเมตตา กรุณา ความสมบูรณ์พูนสุข ความร่มเย็นในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี พระลือโขงพิมพ์นี้จึงเป็นพระเครื่องที่มีเสน่ห์พร้อมมูล เป็นพระเครื่องที่ดีเยี่ยมในด้านเมตตามหานิยมทางค้าขาย ความสมบูรณ์พูนสุขในชีวิตความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ราชการงานธุรกิจ ถือได้ว่าเป็นยอดแห่งพระเครื่องโดยแท้มีผู้ที่ได้รับความเจริญรุ่งเรืองและอานิสงส์จากการเป็นเจ้าของพระลือโขงนี้อย่างมาก รายจนปรมาจารย์ทางพระเครื่องอาวุโสที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพระเครื่องสกุลลำพูนถึงกับยอมรับและให้ชื่อพระลือโขงนี้ใหม่ด้วยความเคารพศรัทธาว่า “พระจามเทวีเศรษฐีเรือนแก้ว” เรามาพิจารณาในรายละเอียดของพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมกันดีกว่า พระเศียรจะเป็นเศียรกลมเหมือนกับลูกมะตูมมองดูผาด ๆ เหมือนกับว่าเศียรกระจะโล้น แต่เมื่อดูให้ดีจะเห็นมีเม็ดพระศกเป็นตุ่มกลมอย่างเห็นได้ชัด หากจะไม่นับพระเปิมเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องสกุลลำพูนแล้วพระลือโขง เศียรกลมนี้จะเป็นพระเครื่องที่มีเม็ดพระศกเด่นชัดอย่างที่สุด ยิ่งกว่าพระเครื่องใด ๆ ไรพระสกของพระลือโขงพิมพ์นี้ไมได้เป็นเส้นวาดโค้งเป็นแนวเหมือนกับพระชนิดอื่นๆ เป็นเพราะด้วยฝีมือของช่างหริภุญไชยได้จัดทำให้เม็ดพระศกเรียงเป็นแนวไรพระศกมองดูงดงามมาก รูปลักษณ์ของใบหน้าจะกลมแบนปรางจะดูอิ่ม แก้มจะยุ้ย ดวงตาทั้ง ๒ ข้างจะเป็นตาแบบมนุษย์จริง เป็นเม็ดนูนงามไม่โปนเหมือนกับของพระคง ตาของพระลือโขงพิมพ์นี้จะต่างกับตาของพิมพ์มีเกศอย่างเห็นไม่เหมือนกันเลย จมูกไม่ใหญ่มากนักจมูกคล้ายกับคนธรรมดาดูเรียบร้อย ส่วนปากจะมีปากที่พอดีปากไม่กว้างไม่ยื่นออกมาไม่เป็นปื้นใหญ่เหมือนกับของพิมพ์มีเกศปากเชิดนิด ๆ ลักษณะปากจะเป็นแบบนิดจมูกหน่อยภาพโดยรวมของใบหน้าจะแสดงให้เห็นถึงความเมตตากรุณามุทิตาและอุเบกขาอย่างเต็มเปี่ยม ใบหูของพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนี้ซึ่งจะทำให้หูได้งามมากไม่ได้ทำเป็นหูเดี่ยวๆ หรือทำเป็นเส้นนูนเฉย ๆ หอของพระลือโขงพิมพ์นี้จะทำเป็นนูนคู่โค้งแนบแก้วและตวัดออก ตอนปลายของติ่งหูดูงดงามอ่อนช้อยในเชิงศิลปะอย่างยอดเยี่ยม ใบหูทั้งสองดูจะเป็นใบหูของพระพุทธรูปบุชาอย่างแท้จริงจึงดูขลังมาก ลำคอของพระลือโขงไม่ได้ทำเป็นลำเหมือนคอคนธรรมดา ด้วยเชิงศิลปะอันสูงส่งจึงวางเศียรได้เหมาะเจาะให้มีช่องกว้างระหว่างใต้คางและยอดอก จึงทำให้มองเห็นเป็นลำคอได้อย่างลงตัว หน้าอกของพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมดูนูนเด่นอกจะตั้งสวยงามน่ารักมากอกรับกับท้องที่คอดกิ่งกลมกลึงเหมือนกับเอาของเด็กสาว การครองจีวรเป็นแบบห่อดองไม่ใช่ห่มคลุมเหมือนกับพระคงหรือพระบางทำให้เห็นแนวสังฆาฏิของเส้นอย่างขัดเจน เส้นสังฆาฏินั้นได้ทำไว้อย่างอ่อนช้อยดูพลิ้วโค้งอย่างสวยงาม ขอบจีวรด้านบนจะทำเป็นเส้นนูนคมโค้งมนตลอดใต้ราวนมด้านขวาขององค์พระโดยมีด้านปลายข้างหนึ่งจรดสังฆาฏิโดยมีอีกด้านหนึ่งชอนเข้าไปในซอกแขนขวาขององค์พระ แขนขวาขององค์พระจะทิ้งตรงลงมาจากไหล่ขวาลงมาถึงศอกซึ่งวางอยู่บนตักแล้วพาดออกไปวางมือบนปลายเข่าขวาในทางสบาย ๆ นิ้วมือทั้งหมดชี้ลงด้านล่างเกือบจรดฐานบัลลังก์ เห็นนิ้วทั้ง ๕ ได้อย่างขัดเจน แขนซ้ายจะทิ้งดิ่งลงมาโดยกางแขนออกเล็กน้อยข้อศอกนิด ๆ เข้าหาตักวางมือพาดตักเข้ามาด้านใน อุ้งมือนั้นหงายขึ้นมองด้านตรงจะเห็นเป็นข้างมือ ที่ข้อมือจะเห็นเป็นเส้นจีวร ๓ เส้นจะเห็นเป็นเส้นนูนกลมคมเล็กและโค้งมนอย่างสวยงามดูคล้ายกำไรแขนแต่ไม่ใช่ สำหรับหน้าตักของพระลือโขง พิมพ์เศียรโล้นนี้จะประทับนั่งในลักษณะสมาธิเพชรตามความนิยมของศิลปะในยุคนั้นด้วยความลงตัวขององค์ประกอบแห่งศิลปะและลักษณะขององค์พระที่ได้สัดส่วนจึงทำให้ดูองค์พระจะโดดเด่นเป็นสง่านาซึ้งตาซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง หากจะพูดโดยรวมแล้วพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนี้มีความงามโดดเด่นอลังการมากที่สุดยิ่งกว่าพระพิมพ์ชนิดใดๆ ทั้งสิ้นจากขนาดองค์พระซึ่งมีความกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ความสูง ๔.๕ เซนติเมตร ส่วนหนา ๑.๕ เซนติเมตร ช่างหริภุญไชยได้บรรจุลวดลายต่าง ๆ ซึ่งเป็นลวดลายกนกที่งดงามอ่อนช้อยลงไปให้งามพร้อมได้อย่างน่าอัศจรรย์ในฝีมือ ภาพลักษณ์โดยรวมของพระลือโขงนั้นจะมีรูปลักษณะเหมือนกับรูปนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่ ตรงด้านปลายบนสุดจะเรียวแหลมนิด ๆ เหนือสุดขององค์พระจะเป็นลวดลายของก้านดอกบัวตูมที่ชูช่อบานไสวพลิ้วไปมาเริงร่าราวกับจะท้าสายลมและแสงแดดว่าความสำเร็จหลุดพ้นนั้นได้บังเกิดขึ้นแล้วเปรียบเสมือนว่าดอกบัวได้ผุดโผล่พ้นขึ้นมาจากโคลนตมอันดำมืดสนิท ก้านบัวและดอกบัวถูกวางไว้ได้อย่างลงตัวและเหมาะเจาะดูไม่ขัดตาทำให้ดูเด่นสวยงาม ซุ้มโค้งหรือเรือนแก้วนั้นสองข้างเป็นลายกนกหัวพระยานาคที่ชูคอเด่นเป็นสง่าออกไปทั้งสองข้างราวกับจะเป็นการปกป้ององค์พระให้ปราศจากเภทภัยใด ๆ มาแผ้วพาน เหนือขึ้นไปตรงบนเศียรของพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมจะต่างกับพระลือโขง พิมพ์เกศ คือจะมีลายเมฆคลุมโค้งหลายชั้นเพื่อทำให้ไมเกิดช่องว่างมากเกินไปดูอลังการไปอีกแบบหนึ่ง ด้านสองข้างขององค์พระนั้นด้านบนจะทำเป็นบัวหักงอห้อยหัวลงมาเรียกว่า ตัวเหงาทำอย่างมีศิลป์ดูอ่อนช้อยบนเสาตรงด้านล่างจะเป็นตัวตั้งชูหัวรองรับตัวเหงาด้านบนได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวใต้ขาที่ขัดสมาธิเพชรนั้นจะมีผ้าทิพย์โค้งมนกลมรองรับดูสวยงามกว่าของพระพิมพ์อื่น ๆ ฐานที่ประทับเป็นลวดลายดอกกลีบบัวค่ำบัวหงายสลับกันเป็นลักษณะของบัวเล็บข้างทำเป็นเส้นนูนเด่นคมชัดดูมีชีวิตชีวา เมื่อเราได้พิจารณาองค์จริงของพระลือโขง พิมพ์มีเกศและพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนั้นดูแล้วจะเกิดความรู้สึกอัศจรรย์ใจ ในความเป็นเอกทางศิลปของเชิงช่างศิลป์ หริภุญไชยอย่างเหลือเกิน แต่เนื่องด้วยความเป็นพระเครื่องที่มีจำนวนไม่มากและออกจะหาได้ยากมากจึงทำให้พระเครื่องชนิดนี้มีให้เห็นและนิยมชมชอบกันเพียงแค่ผู้รู้คุณค่าในวงแคบ ๆ เท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามการเสาะแสวงหาพระกรุทุกชนิดนี้มีให้เห็นและนิยมชมชอบพระเครื่องที่สวยงามและมีคุณค่าอย่างแท้จริงนั้นพระเครื่องและกรุที่ได้มานั้นจะมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งและมีโฆษณาด้วยอภินิหารต่างๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารพระเครื่องที่ออกมากันแกร่อคุณค่าของพระกรุนั้นมีคุณค่าสูงส่งทั้งในพระพุทธานุภาพ พุทธศิลป์ซึ่งเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวอย่างพร้อมมูลเราควรจะมีหลักการในการแสวงหากันให้ถูกต้องจึงจะเป็นการเชิดชูและอนุรักษ์พระกรุได้อย่างแท้จริง ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า พระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนั้นมีอยู่ ๕ พิมพ์คือ ๑. พิมพ์หัวเอียง ๒. พิมพ์หัวตรง ๓. พิมพ์หน้ายิ้ม ๔. พิมพ์หน้าดุ ๕. พิมพ์เล็กนั้น ลักษณะพิมพ์ทรงของพระลือโขงทั้ง ๕ พิมพ์นั้น จะมีลักษณะพิมพ์ทรงที่ใกล้เคียงกันมากในส่วนรายละเอียดต่าง ๆ นั้นจะมีเหมือนกันหมดจะแตกต่างกันก็แต่รูปลักษณะโดยรวมขององค์พระการพิมพ์ปีกขอบโดยรอบขององค์พระตลอดจนด้านหน้าด้านหลัง ฐานล่าง มุมบนจะนูนหนาหรือบางแตกต่างกันไปตามสภาพและความสวยงามของพระแต่ละองค์ พระลือโขง พิมพ์หัวเอียง จะเป็นพระลือโขง เศียรกลมที่สวยงามมากที่สุด ดวงหน้าจะอมยิ้มและหัวจะเอียงไปทางด้านขวามือเล็กน้อย รูปลักษณ์จะเหมือนกับคนแก่ที่กำลังครุ่นคิดและเต็มไปด้วยความเมตตาปรานีเป็นที่ยิ่ง การตัดขอบของพระพิมพ์นี้จะตัดขอบขององค์พระได้อย่างเรียบร้อยสม่ำเสมอไม่มีเนื้อเหลือนูนเป็นส่วนเกินองค์พระจะดูเรียบร้อยเอามาก ๆ องค์พระจะชัดเจนดูนูนเด่นเป็นสง่าสมบูรณ์งามพร้อมจริง ๆ เนื้อพระจะดูละเอียดมีคราบขี้กรุและคราบของสนิมเหล็กเกาะติดอยู่ซึ่งเป็นความงดงามไปอีกแบบหนึ่ง เพื่อพระจะแห้งมีความเก่าแก่อยู่ในตัวพร้อม พิมพ์นี้จะเป็นพระลือโขงที่นิยมกันเป็นอย่างมากองค์ที่สวยงามพร้อมจะนับราคาได้เป็นเรือนแสนขึ้นไปเลยทีเดียว พระลือโขง พิมพ์ตัวตรง รูปลักษณ์โดยรวมจะเหมือน ๆ กับพระลือโขงพิมพ์อื่นๆ แต่การประทับนั่งนั้นจะดูเป็นว่านั่งตรง หัวจะตั้งตรงไม่เอียงซ้ายหรือขวา วงหน้าจะวางเฉย ดวงตาจะมองตรงไปด้านหน้าเหลือบลงต่ำเล็กน้อยดูสงบเยือกเย็น หู ตา ปาก จมูกติดชัดเจนดูน่าเกรงขามยิ่ง ผิวพระจะมีขี้กรุ คราบกรุติดแน่นขี้กรุนั้นจะเป็นผงอิฐสีแดงเนื้อผางอิฐสีแดงเกาะอยู่เต็มดูงดงามไปอีกแบบหนึ่ง ขี้กรุที่ติดอยู่นี้บางคนนิยมมากเพราะเห็นว่ามีความสวยงามซึ้งดูจะมีความเก่าแก่จึงไม่นิยมที่จะเอาออกปล่อยให้ติดอยู่กับองค์พระเช่นนั้นโดยเขาบอกว่า มันจะดูเก๋าดี ซึ่งเป็นตามความชอบของนานาจิตตังและมันก็เป็นการคงสภาพของเดิม ๆ ให้เห็นเป็นของที่เก่าแก่ได้อย่างโดยแท้จริงซึ่งไม่มีใครที่จะทำขึ้นมาและเลียนแบบได้อย่างธรรมชาติ พระลือโขง พิมพ์หน้ายิ้ม พระลือโขงพิมพ์นี้ใบหน้าจะเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ดวงตาจะอ่อนโยน การวางท่าจะอยู่ในท่าที่สบายดูจะไม่เคร่งเครียดและจริงจังมาก ดูลักษณะเขององค์พระเต็มไปด้วยพระเมตตาคุณพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งดูแล้วทำให้เกิดความชื่นชมในองค์ศิลปะที่ได้บงเกิดขึ้นอย่างเปี่ยมล้นเกิดความรู้สึกศรัทธาและเย็นใจภายใต้ร่มเงาแห่งพระบวรพุทธศาสนาอย่างมากมายอันถือได้ว่าเป็นพระเครื่องแห่งเมตตามหานิยมโดยแท้จริง พระลือโขง พิมพ์หน้าดุ พระลือโขงนี้ห้าจะดูดุดันดูแล้วจะเป็นลักษณะหน้าขอมดวงตาโปนใหญ่ จมูกบาน ปากจะดูหนาดูเหมือนกับว่าจะเป็นแบบแสยะปาก การประทับนั่งดูขึงขังรับกับใบหน้าที่ดุจริงจังขึงขังแต่ก็เต็มไปด้วยความหนักแน่นไม่หวั่นไหวหรือสั่นคลอดจนในบรรดาสรรพสิ่งทุก ๆ อย่างที่จะมีมาแผ้วพาน พระพิมพ์นี้มีพระพุทธานุภาพทางข่ามคง คงกระพันชาตรี แกล้วกล้า มั่นคง หนักแน่นแต่ก็เพียบพร้อมไปด้วยพลังแก่งพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงส่งแฝงอยู่ พระลือโขงพิมพ์นี้หากจะมีสีเขียวหินครกหรือสีดำจะเป็นพระเครื่องที่มีเสน่ห์และมีอำนาจอย่างมากที่สุดซึ่งดูน่าเกรงขามเป็นที่ต้องการของบรรดาเซียนพระเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าหน้าดุเป็นหน้าขอมอันเป็นที่นิยมของชายชาตรี ที่จะต้องโลดแล่นในวงชีวิตที่ใช้กำลังอย่างกล้าแกร่ง พระลือโขง พิมพ์เล็ก พระลือโขงพิมพ์นี้มีขนาดเล็กที่สุด จริง ๆ แล้วพระลือโขงนั้นมีหลายขนาดทั้งใหญ่และเล็ก เนื่องด้วยพระเครื่องชนิดนี้มีให้เห็นน้อยมาก จึงทำให้เข้าใจว่ามีพระพิมพ์นี้อยู่เพียงพิมพ์สองพิมพ์เท่านั้น ผู้เขียนได้พบเห็นพระเครื่องชนิดนี้มามากมายมีอยู่ในความครอบครองหลายต่อหลายองค์จึงสามารถยืนยันและเปรียบเทียบให้ท่านผู้อ่านได้รู้ได้เห็นอย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้เขียนด้วยยกเมฆหรือนั่งเทียนเขียนเอาโดยไม่มีหลักฐานให้เห็น ผู้เขียนได้นำเสนอให้ท่านผูอ่านได้รู้ได้เห็นกันอย่างเต็มตาในหนังสือเล่มนี้แล้ว สำหรับพระลือโขงพิมพ์เล็กนี้มีขนาดย่อมกว่าพิมพ์ใหญ่มากลักษณะรูปร่างโดยรวมนั้นดูเล็ก กะทัดรัดพอสมควรเป็นพิมพ์ที่มีขนาดพิเศษแตกต่างจากพิมพ์ทั่วไปไม่ใช่เป็นเพราะว่าองค์พระหดตัวหรือกดพิมพ์ซ้ำนำไปทำใหม่แต่เป็นพิมพ์โดยเฉพาะที่มีพบได้น้อยมากมีขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร สูง ๔.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑ เซนติเมตร ดูก็สวยงามกะทัดรัดมากรูปลักษณะของพระลือโขงพิมพ์นี้เหมือน ๆ เช่นเดียวกันกับพระลือโขงพิมพ์ใหญ่ทั้ง ๔ พิมพ์เพราะเหมือน ๆ กันกับพระเครื่องในชุดสกุลลำพูนทุก ๆ พิมพ์ซึ่งได้ทำออกมาอย่างมากมายหลายร้อยหลายพันชนิดและหลายต่อหลายขนาด พระเครื่องที่พบร่วมกรุ พระบางที่พบที่กรุวัดกู่เหล็กนั้นจะดูด้อยเรื่องความเรียบร้อย ขนาด ความสวยงาม และความคมชัดตลอดจนถึงเม็ดแร่ พระลือแผง เป็นพระเนื้อดินที่ทำเป็นรูปพระลือหน้ามงคลเล็กๆ เรียงรายรวมอยู่ในรูปวงกลมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซม. หนาประมาณ ๒ – ๓ ซม ปัจจุบันหาพบน้อยมากถูกตัดแบ่งออกจากพระลือแผงเพื่อใช้ติดตัวในการตัด ทำให้เสียงองค์พระรอบไปด้วย เนื่องใช้เลื่อนในการตัด เป็นที่หน้าเสียอย่างยิ่ง พระหูยานแผง เป็นพระเนื้อดินที่ทำเป็นรูปพระพระหูยานเล็กๆ เรียงรายรวมกัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซม. หนาประมาณ ๓ – ๔ ซม ปัจจุบันหาพบน้อยมาก ถูกตัดแบ่งออกจากพระหูยานแผงเพื่อใช้ติดตัวในการตัด ทำให้เสียงองค์พระรอบไปด้วย เนื่องใช้เลื่อนในการตัด เป็นที่หน้าเสียอย่างยิ่ง แต่เป็นที่หน้าสังเกตว่าพระหูยานที่พบมีลักษณะใกล้ เคียงกับพระหูยานในจังหวัดลพบุรีใน อาณาจักรละโว้ พระลือหน้ามงคล เป็นพระเนื้อดินมีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม สูง ๓.๕ ซม. พระลือหน้ายักษ์ เป็นพระเนื้อดินเผาศีลปหริภุญชัย ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ ซม.สูงประมาณ ๕ ซม.หนาประมาท ๓ ซม. มีหน้าตาดุดัน พระสิบสอง เป็นพระเนื้อดินเผา ขนาดกว้างประมาณ ๘ ซม.สูงประมาณ ๑๑ ซม. พลิกฟืนวัดร้าง ที่บริเวณนี้เป็นเนินดินอยู่กลางทุ่งนา มีโบราณสถาน มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐและศิลาแลงหินทราย ฐานกว้างประมาณ ๑๐ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก เศษอิฐของเจดีย์ล้มไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๑๐ เมตรมีพระพุทธรูปหินทรายใต้ฐานเจดีย์ ขุดลงไป ประมาณ ๑.๕ เมตร พบหม้อดินเผาบรรจุกระดูก ๕ ลูก ลูกใหญ่ อยู่ตรงกลาง เป็นหม้อดินเผา ๒ ชั้น ชั้นนอก มีลวดลาย ชั้นใน เป็นแบบผิวเกลี้ยง และเครื่องมือ แกะสลักทำจากเหล็ก พบหินทราย ศิลาแลง ก้อนขนาดใหญ่ ขนาดยาว ๑ เมตร กว้าง ๒๐ ซม. หนา ๓๐ ซม มีฐานที่เชื่อได้ว่าเป็นฐานกำแพง และฐานวิหาร แต่ฐานถูกทำลายจากการขุดหาพระลือโขง และพระต่างๆ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนอรภาพิทยา(หรือโรงเรียนอรพินพิทยาในปัจจุบัน)โดยคุณ คุณอรภา เลาห์รอดพันธ์ ติดกับ ที่ดิน แปลงนี้ แต่เดิมเป็นที่ดินวัดร้าง ที่เจ้านายสกุล ณ ลำพูนได้จัดไว้เป็นที่ธรณีสงฆ์ ต่อมาเจ้าสายใจ ณ ลำพูนได้ให้อนุญาตตามที่ชาวบ้านร้องขอ จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ บูรณปฏิสังขรณ์ วัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้นมาอีกครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมีท่านพระครูโสภิตปุญญาคม (บุญมา สิกฺขาสโภ) เจ้าอาวาสวัดช้างรองและพระใบฏีบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ(จากวัดช้างรอง เป็นผู้ที่มาริเริ่มก่อตั้งวัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้น เพื่อใช้เป็นถานที่บำเพ็ญบุญกุศลของคณะศรัทธาบ้านริมกวง ๆ และได้กราบอาราธนาและแต่งตั้ง ท่านพระใบฎีกาบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ จากวัดช้างรองมาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์ ดูแลการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ เช่น กุฏิสงฆ์ศาลาการเปรียญ หอระฆัง-หอกลอง กำแพง โรงอาหาร ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น ตลอดทั้งเป็นผู้ที่อบรมสั่งสอนศีลธรรมให้แก่คณะศรัทธาบ้านริมกวงและศรัทธาสาธุชนพุทธบริษัททั่วไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทางคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ได้มีมติและได้กราบอาราธนาให้ท่านได้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้แต่งตั้งพระศักดา ธมฺมิโก เป็นเจ้าสำนักสงฆ์ วัดกู่เหล็ก (ร้าง) ทางวัดร่วมกับคณะศรัทธาได้ทำเรื่องขอยกวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา เรื่องมา และแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาเถรสมาคม กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศยกวัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้แต่งตั้ง พระศักดา ธมฺมิโก เป็นเจ้าอาวาสวัดกู่เหล็ก รูปแรก เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ รายนามเจ้าอาวาส ๑.พระใบฎีกาบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ เจ้าสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ -๒๕๔๐ ๒.พระอธิการศักดา ธมฺมิโก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน วัดกู่เหล็ก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๙ บ้านริมกวง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีที่ดินเนื้อที่ – ไร่ ๓ งาน ๘๙ เศษหกส่วนสิบตารางวา สังกัดมหานิกาย ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตกจด ติดกับโรงเรียนอรพินพิทยา ทิศตะวันออกจดติดกับถนนสาธารณะ ">

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
"ประวัติวัดกู่เหล็ก" ที่หลายๆคนไม่เคยรู้มาก่อน [img] [/img]
โพสต์โดย วัดกู่เหล็ก , วันที่ 04 ต.ค. 59 เวลา 22:18:33 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

" alt="img" width="700" /> ประวัติวัดกู่เหล็ก พญาแขนเหล็กกับเจ้าแม่จามเทวี ในสมัยพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย ชาติกำเนิดของพระนางจามเทวี มีที่มาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทั้งจากตำนาน พงศาวดารและหลักฐานอื่นๆ ในตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า พระนางเป็นธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ ได้เดินทางพร้อมพระสงฆ์ ผู้ทรงพระไตรปิฏกและช่างผู้มีฝีมือหลากหลายประเภทละ ๕๐๐ คน จากเมืองละโว้ สู่นครหริภุญไชย ในปีพุทธศักราช ๑๔๐๖ (อ้างอิงจาก จามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา และมูลศาสนา สำนวนล้านนา) มีข้าราชบริพารตามเสด็จจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ พราหมณ์ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปวิทยาต่างๆ ที่จะไปสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่นั้นให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น หมู่คนทั้งหลายนั้นได้แก่ พระมหาเถระที่ทรงปิฎก ๕๐๐ รูป หมู่ปะขาวที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล ๕๐๐ คน บัณฑิต ๕๐๐ คน หมู่ช่างแกะสลัก ๕๐๐ คน ช่างแก้วแหวน ๕๐๐ คน พ่อเลี้ยง ๕๐๐ คน แม่เลี้ยง ๕๐๐ คน หมู่หมอโหรา ๕๐๐ คน หมอยา ๕๐๐ คน ช่างเงิน ๕๐๐ คน ช่างทอง ๕๐๐ คน ช่างเหล็ก ๕๐๐ คน ช่างเขียน ๕๐๐ คน หมู่ช่างทั้งหลายต่างๆ ๕๐๐ คน พระนางจามเทวีและข้าราชบริพารทั้งหมดได้เดินทางโดยกระบวนเรือขึ้นไปตามลำน้ำมุ่งสู่ดินแดนนครหริภุญไชยและสิ่งสำคัญ ๒ สิ่ง ซึ่งพระนางได้นำไปด้วย คือ พระแก้วขาว ซึ่งว่ากันว่าเป็นองค์เดียวกับ ที่ประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่เวลานี้องค์หนึ่ง กับ พระรอดหลวง ซึ่งประดิษฐานที่วัดมหาวัน จ.ลำพูน อีกองค์หนึ่ง เรียกว่าแม่พระรอด บางตำนานกล่าวไว้ว่า ระหว่างที่ยังมิได้เสด็จถึงนครหริกุญไชยนั้น พระนางได้ทรงศีลและฉลองพระองค์ขาวโดยตลอด เส้นทางที่เสด็จโดยชลมารคนั้นกินระยะเวลายาวนานกว่า ๗ เดือน โดยได้หยุดพัก ณ ตำบลต่างๆ ตามรายทาง ได้แก่ เมืองบางประบาง ว่ากันว่าจะเป็นปากบางหมื่นหาญ ใกล้ปากน้ำพุทราเวลานี้ เมืองคันธิกะ ว่ากันว่าจะเป็นนครสวรรค์ เมืองบุราณะ ยังไม่แน่ใจว่าเป็นเมืองอะไรในปัจจุบัน เมืองเทพบุรี ปัจจุบันคือ บ้านโดน เมืองบางพล ปัจจุบันอยู่ใน จ.กำแพงเพชร เมืองรากเสียด คือ เกาะรากเสียดเวลานี้ หาดแห่งหนึ่ง เกิดน้ำรั่วเข้าเรือพระที่นั่ง จึงเรียกกันต่อมาว่า หาดเชียงเรือตำบลหนึ่ง พระนางจามเทวีทรงมีรับสั่งให้พระพี่เลี้ยงและข้าราชบริพารนำสิ่งของทั้งหลายอันเปียกชุ่มน้ำขึ้นตาก จึงเรียกสถานที่นี้ต่อมาว่า บ้านตาก ตำบลหนึ่ง เป็นที่รวมน้ำแม่วังต่อกับแม่ระมิงค์ รี้พลทั้งหลายพากันง่วงเหงาอยู่ พระนางเองก็ดูเหงาๆ ไป จึงได้เรียกต่อมาว่า จามเหงา หรือ ยามเหงา ครั้นต่อมาจึงเพี้ยนเป็นสามเงาในทุกวันนี้ ตำนานว่าพระนางโปรดให้สร้างวัดขึ้นแห่งหนึ่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระสาวกให้คนทั้งหลายสักการบูชาสรณาคมน์ ที่นั้นจึงได้ชื่อเวลาต่อมาว่า พุทธสมาคม ตำบลหนึ่ง มีแก่งน้ำมีหน้าผาชะโงกเงื้อมลงปรกแม่น้ำ ที่นั่นนางกำนัลคนหนึ่งเสียชีวิต พระนางจามเทวี จึงพระราชทานเพลิงศพและฝั่งอัฐิไว้ ต่อมาพระนางเสด็จลงสรง ทรงเสี่ยงสัตยาธิฐานว่า “ข้าน้อยจักนำพระศาสนาและราชประเพณีไปประดิษฐานยังแว่นแคว้นนครหริภุญไชยในครั้งนี้ หากเจริญรุ่งเรืองดังมโนรถ อันมุ่งหมาย ขอเทพยดาจงดลบันดาลให้มีน้ำไหลหลั่งลงมาจากเงื้อมผานี้ให้ข้าน้อยได้สรงสรีระในกาลบัดนี้เถิด พอสิ้นคำอธิษฐาน ก็บังเกิดเหตุอัศจรรย์มีอุทกธาราโปรยปรายหลั่งไหลตกลงมาจากเงื้อมผานั้นให้ พระนางได้สรงสนานเป็นที่สำราญพระหฤทัย สถานที่นั้นจึงได้ปรากฏชื่อต่อมาว่า ผาอาบนาง ยังมีน้ำตกโปรยจากผาลงมาในลำน้ำจนถึงทุกวันนี้ ตำบลหนึ่ง ปรากฏว่ามีผาตั้งขวางทางน้ำอยู่ ไม่เห็นช่องที่เรือจะผ่านไปได้ พระนางจามเทวีจึงทรงมีรับสั่งให้คนไปสำรวจพบช่องทางน้ำเลี้ยวพันหน้าผานั้นอยู่อีกด้านหนึ่ง จึงเคลื่อนกระบวนเรือไปถึงบริเวณหน้าผา ณ ที่นั่น พระนางโปรดฯ ให้ช่างเขียนทำรูปช้างแปรหน้าคืนไว้ สถานที่นั้นจึงมีนามปรากฏต่อมาว่า ผาแต้มบ้าง ผาม่านบ้าง เพราะเหตุว่ารูปทรงของหน้าผาเหมือนผ้าม่านขวางลำน้ำไว้ เมืองร้างแห่งหนึ่ง ที่นี่พระนางจามเทวีทรงให้หยุดกระบวนเรือพักแรม ปรากฏว่ามีเต่าจำนวนมากมายมารบกวนคน สถานที่นั้นจึงเรียกว่า ดอยเต่า ตำบลหนึ่ง มีชื่อว่า บ้านโทรคาม เป็นรมณียสถานอันพอพระทัยนัก พระนางโปรดฯ ให้พักแรมอยู่ ณ ที่นี้ และทรงสร้างพระสถูปขึ้นพระองค์หนึ่ง ประทานพระนามว่า วิปะสิทธิเจดีย์ เมื่อสร้างเสร็จได้มีพิธีฉลองและกระทำการสักการบูชาเป็นอันมาก ท่าเชียงทอง มีชาวบ้านหญิงชายพากันออกมาคอยรับเสด็จจำนวนมาก พระนางจึงทรงมีรับสั่งให้พระนางกำนัลผู้หนึ่งถามคนทั้งหลายนั้นว่า “ดูกร ชาวพ่อชาวแม่ทั้งหลาย แต่นี้ถึงนครหริกุญไชย ยังประมาณมากน้อยเท่าไร” คนเหล่านั้นตอบว่า “ข้าแต่มหาราชเทวีเป็นเจ้า แต่นี้ถึงนครหริกุญไชย นั้น ข้าทั้งหลายได้ยินมาว่าหนึ่งโยชน์แล”ด้วยเหตุดังกล่าว สถานที่นี้จึงได้ชื่อต่อมาว่า เมืองฮอด ได้มีการหยุดประทับแรมกันเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่าเชียงทองนั้นเอง พระนางจามเทวีทรงมีพระดำริว่าแม้จะใกล้ชานเมืองหริภุญไชยแล้ว แต่ก็ควรจะหยุดพักกระบวนเรือและตั้งเมืองเล็กขึ้นบริเวณนอกเมืองเสียก่อน ไม่ควรรีบร้อนเข้าไปในเมือง จากนั้นทรงปรึกษากับข้าราชบริพารทั้งหลายเพื่อกำหนดสถานที่ตั้งค่ายประทับแรม โหราจารย์ได้ถวายความเห็นให้ทรงเสี่ยงธนูดูตามประเพณีที่มีมาแต่ก่อน จึงโปรดฯ ให้กระทำดังนั้น ปรากฏว่านายขมังธนูน้าวคันศรส่งลูกธนูไปทางทิศเหนือด้วยกำลังแรง ลูกธนูไปตกอยู่ ณ สถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิอันเหมาะสม พระสงฆ์ทั้งหลายจึงถวายพระพรว่าพระนางควรจะหยั่งรากพระศาสนาลง ณ ที่นั้นเป็นเบื้องแรก พระนางจึงโปรดฯ ให้ก่อพระอารามขึ้น พร้อมด้วยพระมหาเจดีย์ยังจุดที่ลูกธนูตก และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปเท่าพระองค์จริงบรรจุพระบรมธาตุประดิษฐานไว้ในพระอาราม นอกจากพระพุทธรูปซึ่งพระนางโปรดฯ ให้สร้างเท่าพระองค์สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั้นแล้ว บรรดาเสนามหาอำมาตย์ที่ตามเสด็จ เป็นต้นว่าพญาแขนเหล็ก และพญาบ่เพ็กก็โดยเสด็จพระราชกุศลสร้างพระพุทธรูปด้วยคนละองค์สององค์ พระพุทธรูปทั้งหลายจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองเหนือตั้งแต่นั้น พระนางจามเทวีจึงทรงสถาปนาเมืองเล็กขึ้น ประกอบด้วยพระราชนิเวศน์เรือนหลวงสำหรับเสด็จประทับรวมทั้งที่พักคณะผู้ติดตามทั้งหมด พระนางและปวงเสนาประชาราษฏร์ที่ตามเสด็จต่างอาศัยอยู่ในเมืองเล็กนั้นด้วยความสุขสบาย สถานที่ดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า รมย์คาม และคนทั้งหลายเรียกกั้นสืบมาว่า บ้านระมัก จากนั้นท่านสุกทันตฤๅษีและนายควิยะได้เดินทางล่วงหน้าต่อไปยังเมืองนครหริกุญชัยเพื่อแจ้งข่าวการเสด็จมาถึง ท่านสุเทวฤๅษีรวมทั้งไพร่บ้านพลเมืองทั้งหลายพอทราบข่าวก็พากันตกแต่งพลับพลารับเสด็จไว้ทางทิศตะวันออก ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยเสด็จประทับตรัสพุทธพยากรณ์มาแต่ก่อน และสองข้างถนนที่จะเสด็จพระดำเนินด้วยราชวัตรฉัตรธงบุปผชาติต่างๆ จากนั้นท่านสุเทวฤๅษีจึงนำชาวเมืองเชิญเครื่องบูชาสักการะอย่างเต็มอัตราไปเฝ้าเตรียมรับเสด็จตั้งแต่ชานเมืองด้วยความปิติอย่างยิ่ง ไม่ช้ากระบวนเสด็จของพระนางจามเทวีก็มาถึงโดยสถลมารค พระนางเมื่อทอดพระเนตรเห็นท่านสุเทวฤๅษีซึ่งเปรียบเสมือนบิดาก็ตื้นตันพระทัยเสด็จออกจากราชยานมากราบ พระฤๅษีทั้งสองได้กราบบังคมทูลขอให้พระนางสละเพศนักพรตกลับเป็นกษัตริย์และขอให้ทรงเสวยราชย์ยังพระนครแห่งนี้ จากนั้นจึงแห่แหนพระนางไปยังพลับพลา ที่นั่นได้มีพระราชพิธีราชาภิเษก ท่านสุเทวฤๅษีกราบบังคมทูลเชิญพระนางเสด็จขึ้นประทับบนกองสุวรรณอาสน์เพื่อทรงสรงน้ำพระมูรธาภิเษกทและวันที่เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัตินั้นตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย พุทธศักราช ๑๒๐๒พระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา ปรากฏพระนามเมื่อทรงรับการราชาภิเษกในพระสุพรรณบัฏว่า พระนางเจ้าจามเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญไชย เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ๗ วัน พระครรภ์ได้ครบทศมาส พระนางจามเทวีจึงทรงมีประสูติกาลพระโอรส ๒ พระองค์ในวันเพ็ญเดือน ๓ ราชกุมารทั้งคู่ทรงศิริลักษณ์งามละม้ายกัน เป็นที่ปิติยินดีไปทั้งพระนคร พระนางได้พระราชทานนามพระเชษฐาว่า พระมหันตยศ และพระอนุชาว่า พระอนันตยศ พระนางจามเทวี ทรงสถาปนาความรุ่งเรืองแก่นครหริภุญไชยของพระนางมากขึ้นไปอีก จนเป็นนครในอุดมคติที่มนุษย์ทั้งหลายใฝ่ฝันอย่างแท้จริง โดยตำนานนั้นกล่าวว่าอาณาประชาราษฎร์เป็นสุขสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติโดยถ้วนหน้า เฉพาะบ้านใหญ่นั้นมีจำนวนถึง ๔๐๐๐ บ้าน บ้านน้อยอีกเป็นอันมาก มีไร่นาเรือกสวนบริบูรณ์ และพสกนิกรต่างมีใจศรัทธาสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนถึง ๒๐๐๐ แห่ง สำหรับถวายพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฎกมาจากละโว้ ๕๐๐ รูป แยกย้ายผลัดเปลี่ยนกันสั่งสอนเผยแผ่พระศาสนา วัดทั้ง ๒๐๐๐ แห่งนั้นต่อมาก็มีภิกษุจำพรรษาเต็มพระอารามทุกแห่ง ยิ่งไปกว่านั้น พระนางยังโปรดฯ ให้เฟ้นหาบัณฑิตที่ชำนาญการสวดพระธรรมอีก ๕๐๐ คนสำหรับช่วยสวดพระธรรมในวัดทั้ง ๒๐๐๐ แห่งนั้นด้วย บรรดาผู้คนซึ่งตามเสด็จพระนางจามเทวีมาแต่กรุงละโว้นั้น พระนางก็โปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่กันทางทิศตะวันออกของพระนคร ชาวมิคสังครเดิมอยู่ทิศตะวันตก พวกที่รอดตายมาจาก รมยนครอยู่ทิศใต้ และตระกูลที่เกิดจากรอยเท้าสัตว์นั้นก็อยู่ภายในเมือง ในตำนานมูลศาสนาและจามเทวีวงศ์กล่าวว่า ในลำดับต่อมาพระนางจามเทวีทรงอภิเษกพระมหันตยศซึ่งมีพระชนม์มายุ ๗ พรรษาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองหริภุญไชยแทนพระนาง และมีการมหรสพสมโภชเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ต่อมาก็อภิเษกพระอนันตยศขึ้นเป็นพระอุปราช รวมเวลาที่พระนางทรงเสวยราชย์ในกรุงหริภุญไชยได้ ๗ ปี เมื่อพระมหันตยศได้เสวยราชย์แล้ว ทรงดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทแห่งพระมารดาทุกประการ นครหริภุญไชยจึงยิ่งเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรดำรงอยู่ด้วยความสุข ในเมืองไม่มีโจรผู้ร้าย มีแต่ความสงบร่มเย็นในพระศาสนา เมื่อถึงเวลานี้ พระนางจามเทวีก็เสด็จประทับอยู่ในพระราชสำนักแห่งพระนางด้วยความสุขอย่างบริบูรณ์แล้ว เช้าวันหนึ่งพระนางตื่นบรรทมขึ้นมา เป็นเวลาที่อากาศแจ่มใสน่าสบายอย่างยิ่ง พระนางยังทรงประทับอยู่ ณ ที่ไสยาสน์ ระลึกถึงห้วงเวลาทั้งหลายที่ผ่านมาแล้วบังเกิดความปิติในพระหฤทัยว่าสิ่งใดที่พระนางปรารถนาไว้เวลานี้พระนางก็ถึงพร้อมด้วยสิ่งนั้นแล้วทั้งหมด ทรงมีพระดำริว่า กัลยาณกรรมอันพระนางได้ทำมาแล้วในกาลก่อน พระนางจึงได้มาสำเร็จในชาตินี้ กรรมอันเป็นกุศล ควรที่พระนางคิดทำไว้ในอนาคตก่อนที่จะชราภาพ ด้วยพระดำริเช่นนั้นเอง พระนางก็ทรงสรงน้ำ ฉลองพระองค์แล้วนำข้าราชบริพารออกสำรวจรอบพระนคร เห็นสถานที่ต่างๆ ที่เหมาะสมพระนางก็โปรดฯ ให้สร้างพระอารามแห่งใหม่ขึ้น ๔ มุมเมืองนั้น ได้แก่ วัดอรัญญิกกรัมมการาม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระนคร ทรงสร้างวิหารและพระพุทธรูป แล้วถวายให้เป็นที่อยู่แห่งสงฆ์ มีพระสังฆเถระเป็นประธาน วัดอาพัทธาราม ทางทิศเหนือของพระนคร มีวิหารหลังหนึ่ง สำหรับพระสงฆ์ผู้มาแต่ลังการาม วัดมหาวนาราม ทางทิศตะวันตกของพระนคร สร้างพระวิหาร พระพุทธรูป และกุฏิสำหรับให้พระสงฆ์จำพรรษา วัดมหารัตนาราม ทางทิศใต้ของพระนคร สร้างพระวิหาร พระพุทธรูปอย่างงดงาม ให้พระสงฆ์จำพรรษาและเลี้ยงดูด้วยข้าวด้วยน้ำ อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันอนุโมทนาและโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยการสร้างวัดเพิ่มเติม อีกเช่นกัน เมื่อถึงเทศกาลต่างๆ ก็พากันหอบลูกจูงหลานเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ไม่เว้นแม้แต่เสนามหาอำมาตย์ หริภุญไชยจึงเท่ากับเป็นพระพุทธนครอันรุ่งเรืองยิ่งนัก ความเกี่ยวข้องระหว่างพญาแขนเหล็กและวัดกู่เหล็ก จะกล่าวถึงเสนามหาอำมาตย์ที่ตามเสด็จผู้หนึ่ง ชื่อว่าพญาแขนเหล็ก ท่านเป็นทหารเอกของเมืองหริภุญไชย ท่านได้ป้องกันเมืองหริกุญไชยหลายต่อหลายครั้ง ครั้งหนึ่งท่านได้ทำสงคราม กับทัพหลวงขุนวิลังคะ อันเป็นเจ้าเมืองมิลักขะนคร ตั้งอยู่บนดอยสูงชื่ออุฉุจบรรพต มีพลโยธามากถึง ๘๐,๐๐๐ คน ที่ยกมาเพื่อตีหักเอาเมืองหริภุญไชยให้ได้ ท่านได้ร่วมทัพกับสองเจ้าชาย มหันตยศและอนันตยศ ทำการสู้รบจนได้รับชัยชนะในที่สุด ท่านได้สร้างวัดโดยเสด็จพระราชกุศล นั้นคือวัดสถิตย์ธรรมวนาราม2 (หรือวัดกู่เหล็กในปัจจุบัน) มีบรรดาพระภิกษุได้เข้ามาศึกษาพระไตรปิฎก และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นสถานที่อยู่ของพระฝ่ายอรัญวาสี ถือได้เป็นยุคสมัยที่รุ่งเรื่องที่สุดของวัด หลังจากที่ท่านพญาแขนเหล็กได้ถึงแก่กรรมลงไป บริวารได้นำอัฐิท่านบรรจุกู่เพื่อระลึกถึงความกล้าหาญ ในสมัยต่อมาอาณาจักรหริกุญไชย เกิดโรคห่าระบาด(อหิวาตกโรค)ในเมืองหริกุญไชยผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ในยุคสมัยของพญากมลราชในรัชกาลที่ ๒๑ ปี พุทธศักราช ๑๕๙๐ ชาวเมืองและพระภิกษุต้องหนีโรคร้ายไปยังกรุงหงสาวดี อยู่ที่นั้นนานถึง ๖ ปี วัดสถิตย์ธรรมวนาราม จึงต้องตกเป็นวัดร้างในที่สุด เพราะขาดผู้ดูแล. เหตุการณ์ก่อนพบวัด ในสมัยโบราณร่วมพันปีมาแล้ว กู่เหล็กนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของอาณาจักรหริภุญไชย เพราะที่แห่งนี้เป็นกู่ที่บรรจุอัฐิของ “พญาแขนเหล็ก” ผู้เป็นทหารเอกของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชยนคร ดังนั้น กู่เหล็กนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัตถุที่ได้ถูกขุดค้นพบในที่แห่งนี้เป็นพยาน หลักฐานที่สำคัญที่ได้ชี้ให้เห็นถึงอายุการสร้างและความเก่าแก่ที่ใกล้เคียงกับอายุของอาณาจักรหริภุญไชยเลยทีเดียว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันนี้สถานที่สำคัญแห่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนหมู่บ้านไปหมดแล้วจึงแทบจะไม่มีอะไรจะหลงเหลือในความเป็นกู่หรือเป็นเนินดินเก่าแก่ได้เห็นอีก คงจะมีเหลือยู่แต่ก็เพียงความทรงจำที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้เพียงแค่นี้เท่านั้น ยังมีโบราณสถานอีกหลายต่อหลายแห่งมากมายในเมืองลำพูน ที่ไม่ได้มีการสำรวจและขุดค้นและสถานที่ในบางแห่งได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านชาวเมืองไปแล้วการจะขุดค้นหาหลักฐานต่าง ๆ ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งเมื่อความเจริญอย่างใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลและการพัฒนาในด้านความเจริญต่าง ๆ ได้ก้าวเข้ามาก็เป็นตัวการ ที่ยิ่งทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหริภุญไชยเสียหายและสูญหายไปเกือบจะหมดสิ้นจึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างเหลือเกิน ในสมัยก่อน ๆ เมื่อสี่ห้าสิบปีก่อนนั้นไม่มีใครที่จะสนใจหรือจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริเวณที่เป็นกู่มากนักเพราะถือกันว่า กู่แห่งนี้เจ้าที่ของกู่แรงมากพูดกันง่าย ๆ ก็คือผีดุมากและเอากันถึงตายเลยทีเดียว กู่นี้จึงถูกทิ้งร้างไปเป็นเวลานานแสนนานโดยไม่มีใครเอาใจใส่ดูแลหรือกรายเข้าไปใกล้ เวลาผ่านไปกู่ที่สร้างสถูปสูงใหญ่ที่ไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ก็ปรักหักพังผุกร่อนโดยแรงธรรมชาติและกาลเวลาที่ผ่านไปเป็นเวลายาวนานกว่าพันปี ในที่สุดก็ปรักหักพังโค่นล้มกลายเป็นเนินดินโล้น ๆ เตี้ย แต่กินบริเวณกว้างขวาง บริเวณแห่งนี้จึงถูกเรียกกันว่า “กู่ล้าน” ซึ่งความเฮี้ยนและแรงของเจ้าที่ถือกันว่า พญาแขนเหล็กซึ่งเป็นทหารเอกที่เหี้ยมหาญของพระนางจามเทวีสิงสถิตอยู่ชาวบ้านเล่าลือกันมาโดยตลอดจึงไม่กล้าที่จะเข้าไปยุ่งทั้ง ๆ ที่มีความมุ่งมาดปรารถนาในทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ในกู่นั้นอย่างมากมาย เป็นเวลานานแสนนานที่เวลาได้ผ่านไป ความเจริญต่าง ๆ ได้ค่อยๆ คืบคลานมาใกล้บริเวณโดยรอบของกู่เหล็กได้กลายเป็นทุ่งนาของทายาทเจ้าผู้ครองนครลำพูนที่ได้ให้ชาวบ้านใกล้เคียงใช้เป็นที่ทำกินโดยทำนาแบ่งคือ แบ่งข้าวให้เป็นค่าทำนา ทุ่งนาบริเวณนี้ภายหลังจึงได้ถูกเรียกกันว่า “ทุ่งกู่ล้าน” โดยมีจุดสำคัญคือเนินดินที่โล้นล้านของกู่เหล็กเป็นหัวใจของบริเวณที่น่ายำเกรงต่อ ๆ มาพวกชาวบ้านก็ค่อย ๆ คลายความกลัวลงการขยายการทำนาก็รุกล้ำเข้าไปใกล้กู่ทุกขณะมีผู้ได้แก้ว แหวน เงินทอง เครื่องถ้วยตลอดจนพระเครื่องต่าง ๆ ขึ้นมาก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านมีใจฮึกเหิมหมดความเกรงกลัวเมื่อความเจริญได้แผ่ซ่านเข้ามาในเมืองลำพูนโดยเป็นลำดับทุ่งนา บางส่วนของบริเวณนี้ได้ถูกตัดแบ่งขายไปเป็นบ้านจัดสรรในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ก็ได้มีการขุดค้นหาสมบัติและพระเครื่องกันเป็นครั้งใหญ่ของชาวบ้าน พระเครื่องที่พบ พระลือโขง หรือพระเครื่องเนื้อดินเผาที่คุณเชียร ธีระศานต์ ปรมาจารย์พระเครื่องอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้วได้เรียกชื่อให้ใหม่อย่างไพเราะเพราะพริ้งว่า “พระจามเทวีเศรษฐีเรือนแก้ว” ซึ่งก็เป็นชื่อที่ดุจะเหมาะสมมากอยู่แต่ฟังดูออกจะยาวและออกจะกระเดียดไปทางภาษากลางไปสักหน่อย เมื่อฟังให้ดีแล้วชื่อ “พระลือโขง” นั้นรู้สึกจะดีที่สุดเพราะเรียกได้ง่าย กระชับ สื่อความหมายได้ดีมากโดยเฉพาะเป็นภาษาพื้นบ้านพื้นเมืองของจังหวัดลำพูนอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระเครื่องชนิดนี้และเป็นภาษาโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ คำว่า “โขง” กับ “ขง” ไม่เหมือนกัน โขงแปลว่าซุ้ม แตกต่างกับคำว่า “ขง” ที่แปลว่า กรงที่ใช้สำกรับขังคนหรือสัตว์ ดังนั้นจึงอย่าไปเขียนเข้าเลยว่า “พระลือขง” จะหมายถึงพระลือที่อยู่ในกรงขังซึ่งมีผู้ที่เข้าใจผิดเขียนไปเช่นนั้นเข้าบาปกรรมเปล่าๆ ที่ถูกต้องก็คือ “พระลือโขง” อันหมายถึง พระลือที่ประทับอยู่ภายใต้ซุ้มนั่นเองจะเหมาะสมและมีความหมายอย่างน่าประทับใจมากกว่ากันเยอะเลย พระลือโขงจัดได้ว่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาของพระเครื่องชุดสกุลลำพูนเป็นพระเครื่องขนาดกลางไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไปขนาดขององค์พระจะมีขนาดพอ ๆ หรือใกล้เคียงกับพระสามวัดดอนแก้ว พระเปิมพิมพ์ของวัดพระธาตุหริภุญชัยจะเล็กกว่าพระสามท่ากาน พระเหลี้ยมหลวง พระสิบสอง พระสิบแปดมาก กล่าวได้ว่า พระลือโขง นั้นมีขนาดพอเหมาะซึ่งมีขนาดกว้าง ๒ พ เซนติเมตร สูง ๕ เซนติเมตร หน้า ๑ ผ เซนติเมตร “พระลือโขง” จัดได้ว่าเป็นพระเครื่องที่หายากเอามาก ๆ องค์ที่สวย ๆ สมบูรณ์ ๆ ได้ถูกอาราธนาย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างจังหวัดนอกเขตเมืองลำพูนไปเกือบหมดแล้วจะมีหลงเหลือให้เห็นภายในเมืองลำพูนจริง ๆ นั้นมีเพียงไม่กี่องค์ จะพูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือตอนนี้จะหาพระรอดแท้ ๆ หรือพระคงแท้ ๆ สักองค์หนึ่งให้ได้นั้นจะหาง่ายกว่าการหาพระลือโขง องค์ที่สวยและสมบูรณ์ให้พบเสียอีก “พระลือโขง” พิมพ์นิยมนั้นมีขึ้นและขุดได้อยู่กรุเดียวเหมือน ๆ กับพระรอด ยอดพระเครื่องและที่แห่งนั้นเป็นที่แห่งเดียวเท่านั้นที่ขุดพบพระเครื่องชนิดนี้นั้นก็คือ “กรุกู่เหล็ก” ของทุ่งกู่ล้าน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดสังฆาราม (ประตูลี้) อำเภอเมืองลำพูนมากนัก ปัจจุบัน “กรุกู่เหล็ก” นั้นจะอยู่ในบริเวณโรงเรียนอรพินพิทยาและวัดกู่เหล็ก ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งรายล้อมไปด้วยชุมชน และบ้านจัดสรร “พระลือโขง” เท่าที่ได้มีการขุดพบนั้นมีอยู่หลายพิมพ์และมีหลากหลายสี เช่นเดียวกับพระในชุดสกุลลำพูนแบบชนิดอื่น ๆ สำหรับในด้านเนื้อหานั้นพระลือโขงมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด พระเนื้อหยาบจะมีเม็ดแร่ขึ้นพราวอยู่ทั่วทั้งองค์พระพราวไปทั่วเนื้อจะเป็นรูพรุนด้วยศิลาแลงที่จับเกาะติดแน่นอยู่ เมื่อใช้กล้องจับตาดูจะดูงดงามและมีเสน่ห์ไปอีกแบบหนึ่งในความมีอายุเก่าแก่ขององค์พระ สำหรับพระที่มีเนื้อละเอียดนั้นจะมีเนื้อที่พอ ๆ กับพระคงหรือพระเปิมแต่ไม่ละเอียดเท่ากับเนื้อของพระรอดแห่งวัดมหาวัน เนื้อของพระลือโขงโดยส่วนใหญ่ที่ทำการขุดได้จะมีขี้กรุแน่นหนามากล้างออกยากล้างไม่ค่อยจะออกง่ายๆ ขี้กรุที่ติดอยู่แน่นนั้นจะมีลักษณะเป็นสนิมเหล็กสีน้ำตาลหรือสีแดง ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “น้ำฮาก” ซึ่งน้ำฮากนี้เอาติดแน่นกับดินขี้กรุล้างออกยากมาก “พระลือโขง” ก็ได้ขึ้นจากกรุแห่งนี้เป็นจำนวนมากในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ศิลปกรรมอันงดงามของพระลือโขงก็ได้ออกมาปรากฏโฉมให้โลกได้รับรู้ซึ่งก็เป็นที่ฮือฮากันอย่างมากในวงการนักนิยมพระเครื่องที่งดงามอลังการมากกว่าพระเครื่องของยุคใด ๆ ซึ่งจะหามาเปรียบได้ยากมาก พระลือโขงเป็นที่ยอมรับของนักเล่นพระในส่วนกลางคืนกรุงเทพฯ ว่าสวยงามที่สุดมีอายุเก่าแก่สมค่ามากที่สุด พระลือโขงจึงเป็นพระเครื่องที่เป็นที่ต้องการของนักเล่นพระที่ตาถึงโดยแท้เสียแต่ว่าออกจะหายากมากไปสักหน่อย “พระลือโขง” เท่าที่ได้พบเห็นนั้นแบ่งออกได้เป็น ๒ พิมพ์คือ พระลือโขง พิมพ์เกศ และอีกพิมพ์หนึ่งก็คือ พระลือโขง พิมพ์เศียรกลม พระลือโขงทั้ง ๒ พิมพ์นี้มีอยู่หลายขนาดและมีความแกต่างกันไปตามรูปแบบเราจะมาคุยกัน พระลือโขงพิมพ์มีเกศกันก่อน ๑. พระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นแบ่งออกเป็น พระลือโขงมีเกศแบบตัดขอบเรียบร้อยไม่มีปีกข้างหรือดินเหลือยื่นออกมาด้านข้าง ด้านหลังจะบางไม่นูนมากและมีฐานไม่ใหญ่มากจนเกินไปจะดุพอดีและงดงามเรียบร้อยพอตักจัดเป็นพิมพ์ที่ดูพิมพ์สมบูรณ์แบบและลงตัวอย่างเรียบร้อยผิดกับพิมพ์มีเกศที่ไม่ตัดขอบข้ามีดินเหลือมากล้นเป็นปีกยื่นออกมาเหมือนกับว่า ช่างไม่มีความตั้งใจในการทำพิมพ์ล้ามากจนเกินงามไป สำหรับพระลือโขงพิมพ์มีเกศนี้เกศขององค์พระจะมีลักษณะเป็นเกศตุ้มไม่ได้เป็นเกศรัศมีเปลวเพลิงอย่าง ที่บางคนเข้าใจและให้ข้อมูลไปอย่างผิด ๆ เกศจะเป็นการรวบเกล้าเป็นมวยมุ่นขึ้นไปเหมือนเกศโยคี หากเราจะดุเกศรัศมีเปลวเพลิงนั้นจะเป็นเกศของพระในรุ่นหลัง ๆ เช่น เกศ ของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยที่มีอายุรุ่นหลังกว่าพระพุทธรูปหรือพระเครื่องศิลปหริภุญไชยหากจะนับเป็นระยะเวลาก็จะห่างกันกว่า ๗๐๐-๘๐๐ ปีเลยทีเดียว หากเราจะพิจารณาดูลักษณะเกศตุ้มของพระลือโขง พิมพ์จะมีเกศนั้นจะเห็นได้ว่ามีลักษณะของเกศเหมือน ๆ กับเกศของพระรอดพิมพ์ตื้นและพระรอดพิมพ์ต้อและจะเปรียบเทียบได้กับเกศของพระเสตังคมณีหรือพระแก้วขาวที่ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น เชียงใหม่และเหมือน ๆ กับเกศของแม่พระรอด หรือพระสิกขีปฏิมาในพระวิหารวัดมหาวัน ซึ่งจากการพิจารณาดูแล้วก็พอที่จะยืนยันได้ถึงความเกี่ยวพันทางศิลปะของกันและกันอันเป็นแนวร่วมขององค์ศิลปะในแนวทางเดียวกันอย่างเห็นได้ชัดลักษณะโดยรวมตลอดจนหน้าตาของพระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นจะดูแตกต่างกับพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมอย่างมากมายพระลือโขง พิมพ์มีเกศนั้นไม่มีเม็ดพระศกให้เห็น ใบหน้าจะดูดุดัน เคร่งขรึม ตาจะเป็นเม็ดนูนโปนออกมาอย่างเด่นชัด คิวจะเป็นรูปปีกกาตามลักษณะของคิ้วขอม หน้าผากจะอูมเด่น จะเห็นไรพระศกเป็นวงโค้งอย่างชัดเจน จมูกจะบานใหญ่ ปากจะเป็นฟื้นจนดูน่าเกรงขามเย็นยะเยือก หูทั้งสองข้างจะยาวจรดบ่า หูข้างซ้ายจะยาวกว่าหูข้างขวา การห่มจีวรจะเป็นการห่มดองมีสังฆาฏิพาดบ่าลงมาเกือบจะถึงท้องซึ่งจะมีเส้นรัดประคดยาวลาดผ่านท้องด้านล่างไปสุดตรงกลางช่องแขนขวา องค์กระลือโขงพิมพ์นี้จะยึดตัวตั้งตรงอย่างเป็นสง่า เอวจะกิ่วคอดอย่างได้สัดส่วนงดงาม การประทับนั่งขององค์กระจะประทับนั่งดูเด่น เป็นสง่าดูน่าเกรงขามประทับนั่งในท่าของปางมารวิชัยโดยมีมือขวาวางอยู่บนเข่าขวาให้เห็น หัวเข่าด้านขวายื่นออกมาอย่างเด่นชัด มือซ้ายวางพาดตักอย่างสบายประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์ซึ่งมีผ้าทิพย์เป็นรูปโงครึ่งวงกลมอยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้งสองที่ขัดกัน ด้านล่างของบัลลังก์ก็เป็นแอ่งโดยรอบซึ่งเว้าตรงกลางระหว่างกลางตรงด้านข้างบนจะเป็นรูปดอกบัวโยรอบ ด้านล่างจะเป็นเม็ดลุกแก้วกลม ๆ ทำเป็นแถวเป็นแนวอย่างมีระเบียบดูงดงามยิ่ง ตรงข้าม ๒ ข้างขององค์พระจะทำเป็นลายกนกดอกบัวตั้งและดอกบัวตูมหักงอพับโค้งลงมาเรียกว่าตัวเหงาชูโชว์โค้งมนลงมาดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งเป็นตัวลายประกอบที่ชูองค์พระให้ดูเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้น องค์พระนั้นทรงประทับนั่งภายใต้ซุ้มโค้งหรือโขงหรือซุ้มปราสาทที่สองข้างทำเป็นลวดลายหัวพระยานาคผงกหัวงอนอ่อนช้อยดูขลังมาก เหนือซุ้มโค้งด้านบนจะเห็นเป็นก้านดอกบัวซึ่งเป็นดอกบัวตูมชูช่อพลิ้วไหวไปมาอย่างเริงร่าเมื่อคราต้องลมอันเป็นชีวิตชีวาที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในพระโพธิญาณแห่งพระพุทธองค์ทำให้เกิดความรู้สึกทึ่งในความมีจินตนาการของจิตวิญญาณในเชิงศิลป์ของเชิงช่างสมัยหริภุญไชยเป็นอย่างมาก หากท่านผู้อ่านได้เห็นและสัมผัสกับองค์พระจริง ๆ แล้วจะรู้สึกว่าพระลือโขงพิมพ์มีเกศนั้นสวยงาม สง่าเหนือรูปภาพและคำบรรยายจริง ๆ ๒. สำหรับพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนั้นแบ่งออกเป็นหลายพิมพ์เป็นต้นว่า พิมพ์หัวเอียง พิมพ์ตัวตรง พิมพ์หน้ายิ้ม พิมพ์หน้าดุ และพิมพ์เล็ก พระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนี้เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่จัดได้ว่าสวยงามมากที่สุดกว่าพระพิมพ์ชนิดใดๆ ทั้งสิ้น มีความวิจิตอลังการเป็นที่ยิ่งจัดได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่ยอดเยี่ยมเป็นอย่างมากถือได้ว่าเป็นงานชิ้นโบว์แดงของศิลปหริภุญไชยแท้ ๆ เลยทีเดียว ในหน้าอันแย้มยิ้มขององค์พระได้แสดงถึงความเมตตา กรุณา ความสมบูรณ์พูนสุข ความร่มเย็นในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี พระลือโขงพิมพ์นี้จึงเป็นพระเครื่องที่มีเสน่ห์พร้อมมูล เป็นพระเครื่องที่ดีเยี่ยมในด้านเมตตามหานิยมทางค้าขาย ความสมบูรณ์พูนสุขในชีวิตความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่ราชการงานธุรกิจ ถือได้ว่าเป็นยอดแห่งพระเครื่องโดยแท้มีผู้ที่ได้รับความเจริญรุ่งเรืองและอานิสงส์จากการเป็นเจ้าของพระลือโขงนี้อย่างมาก รายจนปรมาจารย์ทางพระเครื่องอาวุโสที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพระเครื่องสกุลลำพูนถึงกับยอมรับและให้ชื่อพระลือโขงนี้ใหม่ด้วยความเคารพศรัทธาว่า “พระจามเทวีเศรษฐีเรือนแก้ว” เรามาพิจารณาในรายละเอียดของพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมกันดีกว่า พระเศียรจะเป็นเศียรกลมเหมือนกับลูกมะตูมมองดูผาด ๆ เหมือนกับว่าเศียรกระจะโล้น แต่เมื่อดูให้ดีจะเห็นมีเม็ดพระศกเป็นตุ่มกลมอย่างเห็นได้ชัด หากจะไม่นับพระเปิมเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องสกุลลำพูนแล้วพระลือโขง เศียรกลมนี้จะเป็นพระเครื่องที่มีเม็ดพระศกเด่นชัดอย่างที่สุด ยิ่งกว่าพระเครื่องใด ๆ ไรพระสกของพระลือโขงพิมพ์นี้ไมได้เป็นเส้นวาดโค้งเป็นแนวเหมือนกับพระชนิดอื่นๆ เป็นเพราะด้วยฝีมือของช่างหริภุญไชยได้จัดทำให้เม็ดพระศกเรียงเป็นแนวไรพระศกมองดูงดงามมาก รูปลักษณ์ของใบหน้าจะกลมแบนปรางจะดูอิ่ม แก้มจะยุ้ย ดวงตาทั้ง ๒ ข้างจะเป็นตาแบบมนุษย์จริง เป็นเม็ดนูนงามไม่โปนเหมือนกับของพระคง ตาของพระลือโขงพิมพ์นี้จะต่างกับตาของพิมพ์มีเกศอย่างเห็นไม่เหมือนกันเลย จมูกไม่ใหญ่มากนักจมูกคล้ายกับคนธรรมดาดูเรียบร้อย ส่วนปากจะมีปากที่พอดีปากไม่กว้างไม่ยื่นออกมาไม่เป็นปื้นใหญ่เหมือนกับของพิมพ์มีเกศปากเชิดนิด ๆ ลักษณะปากจะเป็นแบบนิดจมูกหน่อยภาพโดยรวมของใบหน้าจะแสดงให้เห็นถึงความเมตตากรุณามุทิตาและอุเบกขาอย่างเต็มเปี่ยม ใบหูของพระลือโขงพิมพ์เศียรกลมนี้ซึ่งจะทำให้หูได้งามมากไม่ได้ทำเป็นหูเดี่ยวๆ หรือทำเป็นเส้นนูนเฉย ๆ หอของพระลือโขงพิมพ์นี้จะทำเป็นนูนคู่โค้งแนบแก้วและตวัดออก ตอนปลายของติ่งหูดูงดงามอ่อนช้อยในเชิงศิลปะอย่างยอดเยี่ยม ใบหูทั้งสองดูจะเป็นใบหูของพระพุทธรูปบุชาอย่างแท้จริงจึงดูขลังมาก ลำคอของพระลือโขงไม่ได้ทำเป็นลำเหมือนคอคนธรรมดา ด้วยเชิงศิลปะอันสูงส่งจึงวางเศียรได้เหมาะเจาะให้มีช่องกว้างระหว่างใต้คางและยอดอก จึงทำให้มองเห็นเป็นลำคอได้อย่างลงตัว หน้าอกของพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมดูนูนเด่นอกจะตั้งสวยงามน่ารักมากอกรับกับท้องที่คอดกิ่งกลมกลึงเหมือนกับเอาของเด็กสาว การครองจีวรเป็นแบบห่อดองไม่ใช่ห่มคลุมเหมือนกับพระคงหรือพระบางทำให้เห็นแนวสังฆาฏิของเส้นอย่างขัดเจน เส้นสังฆาฏินั้นได้ทำไว้อย่างอ่อนช้อยดูพลิ้วโค้งอย่างสวยงาม ขอบจีวรด้านบนจะทำเป็นเส้นนูนคมโค้งมนตลอดใต้ราวนมด้านขวาขององค์พระโดยมีด้านปลายข้างหนึ่งจรดสังฆาฏิโดยมีอีกด้านหนึ่งชอนเข้าไปในซอกแขนขวาขององค์พระ แขนขวาขององค์พระจะทิ้งตรงลงมาจากไหล่ขวาลงมาถึงศอกซึ่งวางอยู่บนตักแล้วพาดออกไปวางมือบนปลายเข่าขวาในทางสบาย ๆ นิ้วมือทั้งหมดชี้ลงด้านล่างเกือบจรดฐานบัลลังก์ เห็นนิ้วทั้ง ๕ ได้อย่างขัดเจน แขนซ้ายจะทิ้งดิ่งลงมาโดยกางแขนออกเล็กน้อยข้อศอกนิด ๆ เข้าหาตักวางมือพาดตักเข้ามาด้านใน อุ้งมือนั้นหงายขึ้นมองด้านตรงจะเห็นเป็นข้างมือ ที่ข้อมือจะเห็นเป็นเส้นจีวร ๓ เส้นจะเห็นเป็นเส้นนูนกลมคมเล็กและโค้งมนอย่างสวยงามดูคล้ายกำไรแขนแต่ไม่ใช่ สำหรับหน้าตักของพระลือโขง พิมพ์เศียรโล้นนี้จะประทับนั่งในลักษณะสมาธิเพชรตามความนิยมของศิลปะในยุคนั้นด้วยความลงตัวขององค์ประกอบแห่งศิลปะและลักษณะขององค์พระที่ได้สัดส่วนจึงทำให้ดูองค์พระจะโดดเด่นเป็นสง่านาซึ้งตาซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง หากจะพูดโดยรวมแล้วพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนี้มีความงามโดดเด่นอลังการมากที่สุดยิ่งกว่าพระพิมพ์ชนิดใดๆ ทั้งสิ้นจากขนาดองค์พระซึ่งมีความกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ความสูง ๔.๕ เซนติเมตร ส่วนหนา ๑.๕ เซนติเมตร ช่างหริภุญไชยได้บรรจุลวดลายต่าง ๆ ซึ่งเป็นลวดลายกนกที่งดงามอ่อนช้อยลงไปให้งามพร้อมได้อย่างน่าอัศจรรย์ในฝีมือ ภาพลักษณ์โดยรวมของพระลือโขงนั้นจะมีรูปลักษณะเหมือนกับรูปนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่ ตรงด้านปลายบนสุดจะเรียวแหลมนิด ๆ เหนือสุดขององค์พระจะเป็นลวดลายของก้านดอกบัวตูมที่ชูช่อบานไสวพลิ้วไปมาเริงร่าราวกับจะท้าสายลมและแสงแดดว่าความสำเร็จหลุดพ้นนั้นได้บังเกิดขึ้นแล้วเปรียบเสมือนว่าดอกบัวได้ผุดโผล่พ้นขึ้นมาจากโคลนตมอันดำมืดสนิท ก้านบัวและดอกบัวถูกวางไว้ได้อย่างลงตัวและเหมาะเจาะดูไม่ขัดตาทำให้ดูเด่นสวยงาม ซุ้มโค้งหรือเรือนแก้วนั้นสองข้างเป็นลายกนกหัวพระยานาคที่ชูคอเด่นเป็นสง่าออกไปทั้งสองข้างราวกับจะเป็นการปกป้ององค์พระให้ปราศจากเภทภัยใด ๆ มาแผ้วพาน เหนือขึ้นไปตรงบนเศียรของพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมจะต่างกับพระลือโขง พิมพ์เกศ คือจะมีลายเมฆคลุมโค้งหลายชั้นเพื่อทำให้ไมเกิดช่องว่างมากเกินไปดูอลังการไปอีกแบบหนึ่ง ด้านสองข้างขององค์พระนั้นด้านบนจะทำเป็นบัวหักงอห้อยหัวลงมาเรียกว่า ตัวเหงาทำอย่างมีศิลป์ดูอ่อนช้อยบนเสาตรงด้านล่างจะเป็นตัวตั้งชูหัวรองรับตัวเหงาด้านบนได้อย่างเหมาะเจาะลงตัวใต้ขาที่ขัดสมาธิเพชรนั้นจะมีผ้าทิพย์โค้งมนกลมรองรับดูสวยงามกว่าของพระพิมพ์อื่น ๆ ฐานที่ประทับเป็นลวดลายดอกกลีบบัวค่ำบัวหงายสลับกันเป็นลักษณะของบัวเล็บข้างทำเป็นเส้นนูนเด่นคมชัดดูมีชีวิตชีวา เมื่อเราได้พิจารณาองค์จริงของพระลือโขง พิมพ์มีเกศและพระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนั้นดูแล้วจะเกิดความรู้สึกอัศจรรย์ใจ ในความเป็นเอกทางศิลปของเชิงช่างศิลป์ หริภุญไชยอย่างเหลือเกิน แต่เนื่องด้วยความเป็นพระเครื่องที่มีจำนวนไม่มากและออกจะหาได้ยากมากจึงทำให้พระเครื่องชนิดนี้มีให้เห็นและนิยมชมชอบกันเพียงแค่ผู้รู้คุณค่าในวงแคบ ๆ เท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามการเสาะแสวงหาพระกรุทุกชนิดนี้มีให้เห็นและนิยมชมชอบพระเครื่องที่สวยงามและมีคุณค่าอย่างแท้จริงนั้นพระเครื่องและกรุที่ได้มานั้นจะมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งและมีโฆษณาด้วยอภินิหารต่างๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารพระเครื่องที่ออกมากันแกร่อคุณค่าของพระกรุนั้นมีคุณค่าสูงส่งทั้งในพระพุทธานุภาพ พุทธศิลป์ซึ่งเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวอย่างพร้อมมูลเราควรจะมีหลักการในการแสวงหากันให้ถูกต้องจึงจะเป็นการเชิดชูและอนุรักษ์พระกรุได้อย่างแท้จริง ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า พระลือโขง พิมพ์เศียรกลมนั้นมีอยู่ ๕ พิมพ์คือ ๑. พิมพ์หัวเอียง ๒. พิมพ์หัวตรง ๓. พิมพ์หน้ายิ้ม ๔. พิมพ์หน้าดุ ๕. พิมพ์เล็กนั้น ลักษณะพิมพ์ทรงของพระลือโขงทั้ง ๕ พิมพ์นั้น จะมีลักษณะพิมพ์ทรงที่ใกล้เคียงกันมากในส่วนรายละเอียดต่าง ๆ นั้นจะมีเหมือนกันหมดจะแตกต่างกันก็แต่รูปลักษณะโดยรวมขององค์พระการพิมพ์ปีกขอบโดยรอบขององค์พระตลอดจนด้านหน้าด้านหลัง ฐานล่าง มุมบนจะนูนหนาหรือบางแตกต่างกันไปตามสภาพและความสวยงามของพระแต่ละองค์ พระลือโขง พิมพ์หัวเอียง จะเป็นพระลือโขง เศียรกลมที่สวยงามมากที่สุด ดวงหน้าจะอมยิ้มและหัวจะเอียงไปทางด้านขวามือเล็กน้อย รูปลักษณ์จะเหมือนกับคนแก่ที่กำลังครุ่นคิดและเต็มไปด้วยความเมตตาปรานีเป็นที่ยิ่ง การตัดขอบของพระพิมพ์นี้จะตัดขอบขององค์พระได้อย่างเรียบร้อยสม่ำเสมอไม่มีเนื้อเหลือนูนเป็นส่วนเกินองค์พระจะดูเรียบร้อยเอามาก ๆ องค์พระจะชัดเจนดูนูนเด่นเป็นสง่าสมบูรณ์งามพร้อมจริง ๆ เนื้อพระจะดูละเอียดมีคราบขี้กรุและคราบของสนิมเหล็กเกาะติดอยู่ซึ่งเป็นความงดงามไปอีกแบบหนึ่ง เพื่อพระจะแห้งมีความเก่าแก่อยู่ในตัวพร้อม พิมพ์นี้จะเป็นพระลือโขงที่นิยมกันเป็นอย่างมากองค์ที่สวยงามพร้อมจะนับราคาได้เป็นเรือนแสนขึ้นไปเลยทีเดียว พระลือโขง พิมพ์ตัวตรง รูปลักษณ์โดยรวมจะเหมือน ๆ กับพระลือโขงพิมพ์อื่นๆ แต่การประทับนั่งนั้นจะดูเป็นว่านั่งตรง หัวจะตั้งตรงไม่เอียงซ้ายหรือขวา วงหน้าจะวางเฉย ดวงตาจะมองตรงไปด้านหน้าเหลือบลงต่ำเล็กน้อยดูสงบเยือกเย็น หู ตา ปาก จมูกติดชัดเจนดูน่าเกรงขามยิ่ง ผิวพระจะมีขี้กรุ คราบกรุติดแน่นขี้กรุนั้นจะเป็นผงอิฐสีแดงเนื้อผางอิฐสีแดงเกาะอยู่เต็มดูงดงามไปอีกแบบหนึ่ง ขี้กรุที่ติดอยู่นี้บางคนนิยมมากเพราะเห็นว่ามีความสวยงามซึ้งดูจะมีความเก่าแก่จึงไม่นิยมที่จะเอาออกปล่อยให้ติดอยู่กับองค์พระเช่นนั้นโดยเขาบอกว่า มันจะดูเก๋าดี ซึ่งเป็นตามความชอบของนานาจิตตังและมันก็เป็นการคงสภาพของเดิม ๆ ให้เห็นเป็นของที่เก่าแก่ได้อย่างโดยแท้จริงซึ่งไม่มีใครที่จะทำขึ้นมาและเลียนแบบได้อย่างธรรมชาติ พระลือโขง พิมพ์หน้ายิ้ม พระลือโขงพิมพ์นี้ใบหน้าจะเต็มไปด้วยรอยยิ้ม ดวงตาจะอ่อนโยน การวางท่าจะอยู่ในท่าที่สบายดูจะไม่เคร่งเครียดและจริงจังมาก ดูลักษณะเขององค์พระเต็มไปด้วยพระเมตตาคุณพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งดูแล้วทำให้เกิดความชื่นชมในองค์ศิลปะที่ได้บงเกิดขึ้นอย่างเปี่ยมล้นเกิดความรู้สึกศรัทธาและเย็นใจภายใต้ร่มเงาแห่งพระบวรพุทธศาสนาอย่างมากมายอันถือได้ว่าเป็นพระเครื่องแห่งเมตตามหานิยมโดยแท้จริง พระลือโขง พิมพ์หน้าดุ พระลือโขงนี้ห้าจะดูดุดันดูแล้วจะเป็นลักษณะหน้าขอมดวงตาโปนใหญ่ จมูกบาน ปากจะดูหนาดูเหมือนกับว่าจะเป็นแบบแสยะปาก การประทับนั่งดูขึงขังรับกับใบหน้าที่ดุจริงจังขึงขังแต่ก็เต็มไปด้วยความหนักแน่นไม่หวั่นไหวหรือสั่นคลอดจนในบรรดาสรรพสิ่งทุก ๆ อย่างที่จะมีมาแผ้วพาน พระพิมพ์นี้มีพระพุทธานุภาพทางข่ามคง คงกระพันชาตรี แกล้วกล้า มั่นคง หนักแน่นแต่ก็เพียบพร้อมไปด้วยพลังแก่งพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงส่งแฝงอยู่ พระลือโขงพิมพ์นี้หากจะมีสีเขียวหินครกหรือสีดำจะเป็นพระเครื่องที่มีเสน่ห์และมีอำนาจอย่างมากที่สุดซึ่งดูน่าเกรงขามเป็นที่ต้องการของบรรดาเซียนพระเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าหน้าดุเป็นหน้าขอมอันเป็นที่นิยมของชายชาตรี ที่จะต้องโลดแล่นในวงชีวิตที่ใช้กำลังอย่างกล้าแกร่ง พระลือโขง พิมพ์เล็ก พระลือโขงพิมพ์นี้มีขนาดเล็กที่สุด จริง ๆ แล้วพระลือโขงนั้นมีหลายขนาดทั้งใหญ่และเล็ก เนื่องด้วยพระเครื่องชนิดนี้มีให้เห็นน้อยมาก จึงทำให้เข้าใจว่ามีพระพิมพ์นี้อยู่เพียงพิมพ์สองพิมพ์เท่านั้น ผู้เขียนได้พบเห็นพระเครื่องชนิดนี้มามากมายมีอยู่ในความครอบครองหลายต่อหลายองค์จึงสามารถยืนยันและเปรียบเทียบให้ท่านผู้อ่านได้รู้ได้เห็นอย่างเต็มปากเต็มคำไม่ได้เขียนด้วยยกเมฆหรือนั่งเทียนเขียนเอาโดยไม่มีหลักฐานให้เห็น ผู้เขียนได้นำเสนอให้ท่านผูอ่านได้รู้ได้เห็นกันอย่างเต็มตาในหนังสือเล่มนี้แล้ว สำหรับพระลือโขงพิมพ์เล็กนี้มีขนาดย่อมกว่าพิมพ์ใหญ่มากลักษณะรูปร่างโดยรวมนั้นดูเล็ก กะทัดรัดพอสมควรเป็นพิมพ์ที่มีขนาดพิเศษแตกต่างจากพิมพ์ทั่วไปไม่ใช่เป็นเพราะว่าองค์พระหดตัวหรือกดพิมพ์ซ้ำนำไปทำใหม่แต่เป็นพิมพ์โดยเฉพาะที่มีพบได้น้อยมากมีขนาดกว้าง ๒ เซนติเมตร สูง ๔.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑ เซนติเมตร ดูก็สวยงามกะทัดรัดมากรูปลักษณะของพระลือโขงพิมพ์นี้เหมือน ๆ เช่นเดียวกันกับพระลือโขงพิมพ์ใหญ่ทั้ง ๔ พิมพ์เพราะเหมือน ๆ กันกับพระเครื่องในชุดสกุลลำพูนทุก ๆ พิมพ์ซึ่งได้ทำออกมาอย่างมากมายหลายร้อยหลายพันชนิดและหลายต่อหลายขนาด พระเครื่องที่พบร่วมกรุ พระบางที่พบที่กรุวัดกู่เหล็กนั้นจะดูด้อยเรื่องความเรียบร้อย ขนาด ความสวยงาม และความคมชัดตลอดจนถึงเม็ดแร่ พระลือแผง เป็นพระเนื้อดินที่ทำเป็นรูปพระลือหน้ามงคลเล็กๆ เรียงรายรวมอยู่ในรูปวงกลมขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซม. หนาประมาณ ๒ – ๓ ซม ปัจจุบันหาพบน้อยมากถูกตัดแบ่งออกจากพระลือแผงเพื่อใช้ติดตัวในการตัด ทำให้เสียงองค์พระรอบไปด้วย เนื่องใช้เลื่อนในการตัด เป็นที่หน้าเสียอย่างยิ่ง พระหูยานแผง เป็นพระเนื้อดินที่ทำเป็นรูปพระพระหูยานเล็กๆ เรียงรายรวมกัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๕ – ๓๐ ซม. หนาประมาณ ๓ – ๔ ซม ปัจจุบันหาพบน้อยมาก ถูกตัดแบ่งออกจากพระหูยานแผงเพื่อใช้ติดตัวในการตัด ทำให้เสียงองค์พระรอบไปด้วย เนื่องใช้เลื่อนในการตัด เป็นที่หน้าเสียอย่างยิ่ง แต่เป็นที่หน้าสังเกตว่าพระหูยานที่พบมีลักษณะใกล้ เคียงกับพระหูยานในจังหวัดลพบุรีใน อาณาจักรละโว้ พระลือหน้ามงคล เป็นพระเนื้อดินมีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม สูง ๓.๕ ซม. พระลือหน้ายักษ์ เป็นพระเนื้อดินเผาศีลปหริภุญชัย ขนาดกว้างประมาณ ๒.๕ ซม.สูงประมาณ ๕ ซม.หนาประมาท ๓ ซม. มีหน้าตาดุดัน พระสิบสอง เป็นพระเนื้อดินเผา ขนาดกว้างประมาณ ๘ ซม.สูงประมาณ ๑๑ ซม. พลิกฟืนวัดร้าง ที่บริเวณนี้เป็นเนินดินอยู่กลางทุ่งนา มีโบราณสถาน มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐและศิลาแลงหินทราย ฐานกว้างประมาณ ๑๐ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก เศษอิฐของเจดีย์ล้มไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๑๐ เมตรมีพระพุทธรูปหินทรายใต้ฐานเจดีย์ ขุดลงไป ประมาณ ๑.๕ เมตร พบหม้อดินเผาบรรจุกระดูก ๕ ลูก ลูกใหญ่ อยู่ตรงกลาง เป็นหม้อดินเผา ๒ ชั้น ชั้นนอก มีลวดลาย ชั้นใน เป็นแบบผิวเกลี้ยง และเครื่องมือ แกะสลักทำจากเหล็ก พบหินทราย ศิลาแลง ก้อนขนาดใหญ่ ขนาดยาว ๑ เมตร กว้าง ๒๐ ซม. หนา ๓๐ ซม มีฐานที่เชื่อได้ว่าเป็นฐานกำแพง และฐานวิหาร แต่ฐานถูกทำลายจากการขุดหาพระลือโขง และพระต่างๆ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนอรภาพิทยา(หรือโรงเรียนอรพินพิทยาในปัจจุบัน)โดยคุณ คุณอรภา เลาห์รอดพันธ์ ติดกับ ที่ดิน แปลงนี้ แต่เดิมเป็นที่ดินวัดร้าง ที่เจ้านายสกุล ณ ลำพูนได้จัดไว้เป็นที่ธรณีสงฆ์ ต่อมาเจ้าสายใจ ณ ลำพูนได้ให้อนุญาตตามที่ชาวบ้านร้องขอ จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ บูรณปฏิสังขรณ์ วัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้นมาอีกครั้ง ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมีท่านพระครูโสภิตปุญญาคม (บุญมา สิกฺขาสโภ) เจ้าอาวาสวัดช้างรองและพระใบฏีบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ(จากวัดช้างรอง เป็นผู้ที่มาริเริ่มก่อตั้งวัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้น เพื่อใช้เป็นถานที่บำเพ็ญบุญกุศลของคณะศรัทธาบ้านริมกวง ๆ และได้กราบอาราธนาและแต่งตั้ง ท่านพระใบฎีกาบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ จากวัดช้างรองมาเป็นเจ้าสำนักสงฆ์ ดูแลการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ เช่น กุฏิสงฆ์ศาลาการเปรียญ หอระฆัง-หอกลอง กำแพง โรงอาหาร ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น ตลอดทั้งเป็นผู้ที่อบรมสั่งสอนศีลธรรมให้แก่คณะศรัทธาบ้านริมกวงและศรัทธาสาธุชนพุทธบริษัททั่วไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทางคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ได้มีมติและได้กราบอาราธนาให้ท่านได้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และได้แต่งตั้งพระศักดา ธมฺมิโก เป็นเจ้าสำนักสงฆ์ วัดกู่เหล็ก (ร้าง) ทางวัดร่วมกับคณะศรัทธาได้ทำเรื่องขอยกวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา เรื่องมา และแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มหาเถรสมาคม กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศยกวัดกู่เหล็ก (ร้าง) ขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้แต่งตั้ง พระศักดา ธมฺมิโก เป็นเจ้าอาวาสวัดกู่เหล็ก รูปแรก เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ รายนามเจ้าอาวาส ๑.พระใบฎีกาบุญญรัตน์ ปญฺญาวุฑฺโฒ เจ้าสำนักสงฆ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ -๒๕๔๐ ๒.พระอธิการศักดา ธมฺมิโก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน วัดกู่เหล็ก ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๙ บ้านริมกวง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีที่ดินเนื้อที่ – ไร่ ๓ งาน ๘๙ เศษหกส่วนสิบตารางวา สังกัดมหานิกาย ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตกจด ติดกับโรงเรียนอรพินพิทยา ทิศตะวันออกจดติดกับถนนสาธารณะ

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 1669

แสดงความคิดเห็น โดย วัดกู่เหล็ก IP: Hide ip , วันที่ 04 ต.ค. 59 เวลา 22:18:33
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี