น้ำท่วมเกือบมิดหัวช้างกว่า70เชือกที่อยุธยา (ไอเอ็นเอ็น)
น้ำท่วมทำ ช้างกว่า70เชือกใน วังช้างแลเพนียด อยุธยา เกือบทั้งตัว แถมยังต้องยืนแช่น้ำ อดอาหาร มาหลายวัน
ซึ่งล่าสุดสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ได้รายงานไปแล้วเมื่อวานนี้ว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ระดมนำอาหารใส่รถบรรทุกช่วย ชีวิตช้างไปบ้างแล้ว โดย นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ พร้อมคณะสัตวแพทย์ โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.ลำปาง ได้ทำการ มอบอาหารช้าง หญ้าแห้ง และอาหารเม็ด จำนวน 2 คันรถบรรทุก ให้กับวังช้างอยุธยา แล เพนียดช้าง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนช้างจำนวนกว่า 70 เชือก ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์น้ำท่วมทั่วพื้นที่จังหวัด
ทั้งนี้ หลังเกิดเหตุน้ำท่วม ในพื้นที่ปลูกพืชอาหารช้าง และพื้นที่ผูกมัดช้างได้รับความเสียหาย ทำให้ช้างไม่มีอาหารกิน และไม่มีพื้นที่ในการหลับนอน ช้างจะต้องยืนหลับ หากว่า
มีผู้ประสงค์จะขอบริจาคสามารถบริจาคผ่านธนาคารกรุงไทย สาขาลำปาง ชื่อบัญชี กองทุนศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เลขที่ 503-1-84611-9
ด้าน วังช้างแลเพนียด อยุธยา ต้องการอาหารสำหรับช้างกว่าร้อยเชือก ขอพี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ หรือหน่วยงานใดที่มีความสามารถ ส่งรถบรรทุกอาหารช้าง พร้อมกับโฟมขนาดใหญ่เพื่อวางอาหารให้ช้าง เข้ามาที่บริเวณอนุสาวรีย์พระนเรศวร อยุธยา หรือติดต่อ คุณนัน วังช้าง 086 901 3981
[11 ตุลาคม] อยุธยายังวิกฤต! น้ำท่วมสูง-โรจนะ จม 200 แห่ง
จ.อยุธยา ยังคงวิกฤต ระดับน้ำยังคงท่วมสูง ประชาชนแห่จอดรถหนีน้ำ กว่า 100 คัน บนสะพานปรีดี หวั่นล่ม ด้านนิคมฯ โรจนะ พังยับแล้ว 200 แห่ง สูญกว่า 5 หมื่นล้าน
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ล่าสุด เขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา หรือ เกาะเมืองอยุธยา ยังวิกฤตหนัก รพ.พระนครศรีอยุธยา ต้องทยอยขนคนไข้ออกไปรักษายังโรงพยาบาลใกล้เคียง ตลอดทั้งวัน เนื่องจาก ระดับน้ำยังสูงขึ้น และระบบไฟฟ้าถูกตัดและให้เจ้าหน้าที่ช่วยอพยพประชาชน ที่ต้องการออกจากเกาะเมือง และไม่ให้คนภายนอกเข้าไปในเกาะเมืองอีก เกรงว่า จะเกิดอันตราย
และที่น่าเป็นห่วงคือ มีประชาชนนำรถยนต์ไปจอดไว้บนสะพานปรีดี-ธำรง นับ 100 คัน เกรงว่า สะพานจะรับน้ำหนักไม่ไหว และกีดขวางการจราจรอีกด้วย โดยเจ้าหน้าที่เร่งขนย้ายรถออกไปจอดไว้บนถนนสายเอเชียให้หมดก่อนเกิดอันตราย และเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยใช้ศูนย์ราชการประชุมทุก 08.00 น. และสรุปสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด เวลา 19.00 น. ของทุกวัน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างทันท่วงที
ขณะที่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ที่พยายามรักษาพื้นที่เฟส 2 และเฟส 3 ด้วยการเสริม คันกั้นน้ำสูง 4.5 เมตร ภายหลังน้ำท่วม เฟสที่ 1 ไปแล้วนั้น นายพากร วังศิลาบัติ ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำไหลเข้าท่วมเฟส 1 และเฟส 2 แล้ว ประมาณ 200 โรงงาน ทางนิคมฯ ได้อพยพคนออกจากพื้นที่แล้ว คงเหลือแต่เพียงเจ้าหน้าที่ รปภ. ที่เฝ้าโรงงาน ทั้งนิคมฯ สหรัตนนคร และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ถูกน้ำท่วม ทำให้มีคนงานตกงานแล้ว ประมาณ 1 แสนคน และค่าความเสียหายทั้ง 2 นิคม ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท และสถานการณ์น้ำ ยังน่าเป็นห่วง นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค (บ้านหว้า) อ.บางปะอิน น้ำเจ้าพระยา ได้ไหลจ่อด้านหลังนิคม แล้ว ทางนิคม ได้ทำคันป้องกันเสริมเพิ่มขึ้นสูงเป็น 5.5 เมตรแล้ว
[10 ตุลาคม] แจง 10 ศพที่อยุธยา ไม่ได้ตาย ขณะรอหนีน้ำท่วม
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
ครอบครัวข่าว 3
พล.ต.อ.ประชา ผอ. ศปภ. แจง 10 ศพผู้เสียชีวิต ที่อยุธยา ไม่ได้เสียชีวิตขณะรอหนีน้ำท่วม ขณะที่เทศบาลอยุธยาจม 100% แล้ว ขาดเรืออพยพ-กระสอบทราย
จากกรณีที่ น.พ.วีระพล ธีระพันธ์เจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กล่าวยอมรับว่า มีผู้ป่วยที่เข้ามาทำการรักษาตัวกับทางโรงพยาบาลเสียชีวิต 10 ราย ระหว่างรอการอพยพจริง พร้อมกับชี้แจงว่า ตามปกติ หากไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วม ทางโรงพยาบาลเองก็จะมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตวันละ 5 - 6 รายอยู่แล้ว แต่ผู้เสียชีวิตทั้ง 10 ราย ที่รอการขนย้ายผู้ป่วยนั้นก็ไม่ได้เสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุน้ำท่วม หรือไฟดับ แต่เป็นเพราะมีอาการหนักอยู่แล้ว เพราะก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาลเองก็มีความพร้อมทั้งไฟฟ้า ออกซิเจน และเครื่องช่วยหายใจ
ส่วนผู้ป่วยของทางโรงพยาบาลล่าสุดนั้น ถูกขนย้ายออกจากโรงพยาบาลไปจนหมดแล้ว สำหรับสถานการณ์ที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาในขณะนี้ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อย บริเวณลานจอดรถด้านหน้าโรงพยาบาล ระดับน้ำอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ส่วนด้านหลังโรงพยาบาล ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกกว่า 2 เมตรแล้ว
ด้าน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ยืนยันว่า จำนวนผู้เสียชีวิต 7 ศพ จากทั้งหมด 10 ศพ นั้น ไม่ได้เสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วม แต่เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนย้ายศพออกมาได้ จึงต้องรอเคลื่อนย้ายพร้อมกัน ทั้ง 10 ศพ
นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกว่า ศปภ. ยังขาดกระสอบทรายอีกจำนวน 1,200,000 กระสอบ พร้อมขอรับสิ่งบริจาคเครื่องใช้ จากประชาชน โดยเฉพาะน้ำดื่ม ถุงดำ ส้วมพลาสติก และ อาหารแห้ง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยอีกด้วย
เทศบาลอยุธยาจม 100 % แล้วขาดเรืออพยพ
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา วิกฤติ จมบาดาล 100 % สูง 1.80 เมตร ล่าสุด เริ่มขาดแคลนยานพาหนะเข้าพื้นที่เพื่ออพยพผู้ประสบภัย
ว่าที่ ร.ต.สมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรี เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ล่าสุด ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานเล็กน้อย เจ้าหน้าที่เร่งอพยพประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดเเคลนพาหนะในการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ จนถึงขณะนี้ น้ำทะลักเข้าท่วมเต็มพื้นที่ในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 100 % แล้ว ระดับน้ำสูงกว่า 1.80 เมตร
ทั้งนี้ จึงขอสนับสนุนเรือ พาหนะเพื่อเข้าอพยพ ประชาชนที่ยังติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยโดยด่วน
ผู้ประสบภัยรับของบริจาคที่อยุธยาแน่น
บรรดาผู้ประสบภัยเข้าคิวรอรับของบริจาคที่ศาลากลาง จ.พระนครศรีอยุธยา อย่างคับคั่งตั้งแต่เช้า ระดับน้ำยังสูงขึ้นต่อเนื่อง
บรรยากาศ ล่าสุดที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนี้ ผู้ประสบอุทกภัยที่มาพักอาศัยอยู่ในสถานที่แห่งนี้ กำลังเข้าแถวเพื่อขอรับอาหารและเครื่องดื่ม ที่ส่วนราชการและภาคเอกชนเตรียมไว้ให้ได้รับประทานกันในช่วงเช้า และมีบางส่วนยังคงพักผ่อนอยู่ภายในอาคารด้วยความอ่อนเพลีย
ขณะที่ระดับน้ำด้านหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในช่วงนี้ แม้ว่าจะมีการทำคันกั้นน้ำด้านหน้า แต่ก็ยังมีระดับน้ำเอ่อสูงขึ้นมาท่วมพื้นผิวการจราจรมากขึ้นกว่าเมื่อวาน ส่วนเส้นทางถนนวังน้อย-พระนครศรีอยุธยา ที่จะมุ่งหน้าไปสู่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ รถเล็กไม่สามารถที่จะผ่านไปได้ เนื่องจากมีระดับน้ำท่วมขังสูง แต่ก็ยังมีชาวบ้านเดินออกมารับของบริจาคที่บริเวณศาลากลางจังหวัดกันตั้งแต่ ช่วงเช้า
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[9 ตุลาคม] อ่วมหนัก! ที่ว่าการอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จม 2 เมตร
ที่ว่าการอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จม 2 เมตร (ไอเอ็นเอ็น)
กรุงเก่าวิกฤติหนักต่อเนื่อง ล่าสุด น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่เร่งเก็บของอลหม่าน
นาย เผด็จ แนบเนียน นายอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ขณะนี้บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงประมาณ 2 เมตร และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางเจ้าหน้าที่ราชการที่อาศัยในบ้านพักในบริเวณที่ว่าการอำเภอ ต่างเร่งเข้าพื้นที่เพื่อขนข้าวของออกจากบ้านพักอย่างอลหม่าน
เริ่มแล้ว! ภารกิจอพยพคนไข้ ร.พ.อยุธยา
อพยพ ผู้ป่วย ร.พ.พระนครศรีอยุธยา ชุดแรกทุลักทุเล เหตุน้ำท่วมสูง เจ้าหน้าที่ส่งเรือเข้ารับ ก่อนนำขึ้นจีเอ็มซี ส่งรักษาต่อโรงพยาบาลอื่น
ภารกิจ ในการขนย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เริ่มดำเนินการขึ้นแล้ว โดยรถจีเอ็มซีของทหาร และเรือ ได้ทำการขนย้ายผู้ป่วยทยอยออกจากโรงพยาบาล โดยมี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ควบคุมสั่งการด้วยตนเอง
สำหรับผู้ป่วยชุดแรกจำนวน 100 คน ในกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เจ้าหน้าที่ได้ทยอยขนขึ้นรถของ ทหารที่เตรียมมารับผู้ป่วย หลังจากได้มีการประสานจากทางโรงพยาบาลให้ทางจังหวัด เข้ามาขนย้ายผู้ป่วย จำนวน 250 คน ออกไป เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูง 2 เมตร จึงมีความจำเป็นที่ต้องย้ายผู้ป่วยออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย ซึ่งภารกิจในการขนย้ายผู้ป่วยครั้งนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูง จึงต้องมีการใช้เรือเข้าไปรับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลออกมาขึ้นรถที่จอดรออยู่ บริเวณสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วส่งต่อไปยังาลากลางจังหวัด เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่างๆ
อยุธยา เร่งอพยพผู้ป่วยมาศลก.แล้ว100 คน
ผู้ว่าฯพระนครศรีอยุธยา เผย เร่งอพยพผู้ป่วยมาศาลากลางจังหวัดแล้ว 100 คน ก่อนเข้าช่วยประชาชนในนิคมโรจนะ ต่อไป
นาย วิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า สำหรับการอพยพผู้ป่วยจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โดยรถจีเอ็มซีในพื้นที่น้ำท่วม ช่วงเช้าสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มายังศาลากลาง จังหวัดจำนวน 100 คน แต่เกิดการล่าช้าเนื่องจากเส้นทางการสัญจรมีประชาชนอพยพมาอาศัยบริเวณไหล่ ทางเป็นจำนวนมาก จึงประสานกับกรมทางหลวงชนบทในการจัดการจราจร
อย่างไรก็ตาม สำหรับในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ได้มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด นำอาหารและน้ำดื่มมาแจกจ่ายให้ประชาชน และเมื่อทำการขนย้ายผู้ป่วยเสร็จสิ้น จะดำเนินการเข้าไปรับทันที
ร.พ.อยุธยาอพยพคนป่วย และปชช.นับพัน
พระนครศรีอยุธยาวิกฤติ! สั่งปิด ร.พ.พระนครศรีอยุธยา เร่งอพยพคนป่วยและประชาชนกว่า 1,000 คนออก ขณะระดับน้ำขึ้นต่อเนื่อง ชั้น 1 ท่วมหมด สูงกว่า 1.5 - 2.0 ม. ทางจนท.ขอรัฐนำเรือเข้าช่วยโดยด่วน
แพทย์โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจ.พระนครศรีอยุธยา ล่าสุด ยังอยู่ในขั้นวิฤกติ โดยในส่วนของโรงพยาบาล ขณะนี้มีน้ำท่วมขังสูงกว่า 1.5 - 2.0 ม. เจ้าหน้าที่ต้องสั่งปิดโรงพยาบาล และทางเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการอพยพคนป่วยออกจากโรงพยาบาลไปยังศูนย์อพยพ และโรงพยาบาลราชธานี
ทั้ง นี้ สำหรับประชาชนที่ติดค้างอยู่ภายในโรงพยาบาลเฉพาะคนไข้มีจำนวนกว่า 600 คน โดยกว่า 300 เป็นคนไข้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีอาการป่วยหนัก ขณะที่บุคลากรของทางโรงพยาบาลและประชาชนที่อพยพหนีน้ำเข้าไปอาศัยในโรง พยาบาลมีมากกว่า 1,000 คน ส่งผลให้การอพยพคนออกจากโรงพยาบาลเป็นไปได้ยาก และทางเจ้าหน้าที่ต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดหาเรือเข้าไป ช่วยอพยพโดยเร็วที่สุด เนื่องจากการเดินทางเข้า - ออกโรงพยาบาลนั้น หากไม่นั่งเรือหรือว่ายน้ำออกมาก็ไม่สามารถออกมาได้ เพราะเป็นอันตรายมาก ขณะที่กระแสไฟฟ้าบางอาคารได้ตัดไฟแล้ว ส่งผลสถานการณ์ขณะนี้ค่อนข้างเลวร้ายมากขึ้น
ล่าสุด นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ส่งทีมกู้ชีพเข้าไปช่วยอพยพประชาชนออกจากโรงพยาบาลแล้ว
[8 ตุลาคม] เตือนประชาชนเกาะเมือง อยุธยาเร่งอพยพด่วน
[8 ตุลาคม 2554, 22.35 น.] ศปภ.เตือนปชช.เกาะเมืองกรุงเก่าเร่งอพยพ (ไอเอ็นเอ็น)
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แจ้งเตือนประชาชนที่ประสบอุทกภัย บริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เร่งอพยพด่วน
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. เปิด เผยว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ขอความร่วมมือให้เปิดประตูระบายน้ำพระอินทร์เป็น 50 ซ.ม. เพื่อให้เร่งระบายน้ำให้ทัน เพื่อป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ โดยเบื้องต้นกำลังทหารได้นำแท่งเหล็กไปวางเป็นแนวสะพานกั้นบริเวณด้านหน้า โรงงานฮอนด้า หลังจากแนวคันกั้นน้ำพังลงมา
อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือประชาชนเป็นไปได้ยาก เพราะว่าประชาชนไม่ยอมย้ายออกจากบ้านเรือน ขณะเดียวกันประชาชนก็นำรถยนต์ส่วนตัวไปจอดปิดพื้นผิวจราจร ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือเป็นไปได้ยากลำบาก จึงขอให้ประชาชนที่อยู่บริเวณเกาะเมือง เร่งอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากในคืนนี้ปริมาณน้ำจะสูงขึ้น 4 เมตร หรือ เทียบเท่าตึก 2 ชั้น จึง ขอให้ประชาชนอพยพไปที่ศูนย์ราชการใหม่ ที่จะสามารถรองรับประชาชนได้ถึง 10,000 คน และเร่งย้ายออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย โดยไม่ต้องเป็นห่วง บ้านเรือน และทรัพย์สิน กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารเรือ จะลาดตระเวนเข้าไปดูแลในเรื่องดังกล่าวให้
ทั้งนี้ล่าสุด เมิ่อเวลา 20.00 น. ศปภ. ได้ออกประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่ประสบอุทกภัย จำนวน 3 ฉบับ ว่าให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยบริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากระดับน้ำ อยู่ในขั้นวิกฤติ เร่งอพยพออกจากพื้นที่ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
[8 ตุลาคม 2554, 11.30 น.] ผู้ว่าฯอยุธยา เผยน้ำท่วมเกาะเมืองหลายจุด (ไอเอ็นเอ็น)
ผู้ว่าฯอยุธยา เผย สถานการณ์ล่าสุด น้ำเข้าท่วมเกาะเมืองอยุธยาแล้วหลายจุด เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน อยู่ที่สูงเเล้ว
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณเกาะเมือง อ.พระนครศรีอยุธยา แล้ว หลายจุด รวมถึง บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทางโรงพยาบาล ได้ทำคันกั้นน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 จุด และเริ่มขนย้ายอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ รวมถึง ผู้ป่วยขึ้นที่สูงแล้ว ซึ่งอยากให้ประชาชนมั่นใจ โดยหากมีผู้ป่วยอาการหนัก ก็สามารถขนย้ายไปยังโรงพยาบาลในกรุงเทพได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเกาะเมืองนั้น เกือบทั้งหมดไม่ยอมย้ายออกมาจากบ้านพัก เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินภายในบ้าน จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้อยู่บนที่สูง เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ หากประชาชน ต้องการความช่วยเหลือ หรือ การขนย้ายสิ่งของ ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันที
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
ระดับน้ำที่บางปะอิน-อยุธยา ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2554
"ยิ่ง ลักษณ์" รับหนักอกหนักใจอุทกภัย ระทึก! รับพายุอีก 2 ลูกที่พัดเข้า ยังกั๊กประกาศภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขอศึกษาก่อน หวั่นกระทบความเชื่อมั่น! "ธีระ" รับวิตกหลังเขื่อนภูมิพลระบายน้ำ ชี้ "นครสวรรค์-ชัยนาท-สิงห์บุรี" เสี่ยง วิทยาเผยอยุธยาจมน้ำแล้ว 80% โรงพยาบาลย้ายผู้ป่วย คุกย้ายนักโทษจ้าละหวั่น ถนนสายเอเชียอัมพาตยาวกว่า 30 กม. นิคมอุตสาหกรรมประกาศปิดพรึ่บ
คาดเสียหายหลายหมื่นล้าน ซ่อมยาว 5 เดือน กทม.รู้รสชาติน้ำท่วมบ้าง เขตมีนบุรีอ่วม
ปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ซึ่งยังไม่สามารถแก้ไขได้เริ่มขยายวงเพิ่มมาก ขึ้น โดยเฉพาะฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องเมื่อช่วงค่ำวันที่ 5 ตุลาคม ก็ส่งผลให้หลายพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครเจอภาวะน้ำท่วมแล้ว ในขณะที่หลายจังหวัดที่น้ำท่วมอยู่ก็ต้องเผชิญกับอุทกภัยที่รุนแรงขึ้น
โดยนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รองผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ระบุถึงสถานการณ์อุทกภัยล่าสุดว่า ยังมีพื้นที่ประสบเหตุ 28 จังหวัด รวม 201 อำเภอ 1,486 ตำบล 11,208 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 826,377 ครัวเรือน 2,604,220 คน ผู้เสียชีวิต 244 ราย สูญหาย 3 ราย
นายวิบูลย์กล่าวต่อว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำ ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปริมาณน้ำมากและระดับน้ำล้นตลิ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำสะแกกรัง และลุ่มน้ำท่าจีน ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาปริมาณน้ำไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ 4,578 ลบ.ม.ต่อวินาที เขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณไหลผ่าน 3,622 ลบ.ม.ต่อวินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,930 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำใน 10 จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งที่มีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ยังอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 98%, เขื่อนสิริกิติ์ 99%, เขื่อนแควน้อย 98% และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 136%
นายวิบูลย์ กล่าวว่า ในระยะ 1-2 วันนี้ยังมีฝนตกกระจายเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกหนัก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยที่ลาดเชิงเขา ในขณะที่เขื่อนภูมิพลและป่าสักชลสิทธิ์จะมีการระบายน้ำออกต่อเนื่อง จึงขอเตือนให้จังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อนทั้งสองแห่งเตรียมรับ มือด้วย โดยเฉพาะช่วงวันที่ 13-16 ต.ค. ซึ่งน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางไปที่กรมชลประทาน เพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำท่วมภาพรวมทั่วประเทศ ซึ่งนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทานได้รายงานว่า สถานการณ์น้ำในภาพรวมอยู่ในภาวะวิกฤติ ปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้วเฉลี่ยถึง 48% และในระหว่างการหารือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้กำชับให้นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเตรียมรับมือพายุ ลูกใหม่ที่จะเข้ามาในอีกไม่กี่วัน โดยให้เพิ่มแนวคันกั้นน้ำและเคลื่อนย้ายประชาชนไปที่ปลอดภัย
"ขณะ นี้อยู่ในขั้นวิกฤติและรู้สึกหนักใจกับสถานการณ์ เนื่องจากจะมีพายุลูกใหม่เข้ามาอีก แต่หากสามารถระบายน้ำได้ก็เชื่อว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะทุกฝ่ายทำงานอย่างเต็มที่" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยอมรับก่อนขึ้นเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กจากกองพลทหารม้า ที่ 2 รักษาพระองค์ เพื่อตรวจสถานการณ์น้ำที่ อ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
และภายหลังลงพื้นที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้ทุกฝ่ายดูแลเต็มที่ทั้งเรื่องการอพยพประชาชน ส่วนเรื่องโรงงานอุตสาหกรรมก็มอบให้ รมว.อุตสาหกรรมดูแล ส่วนการจะประกาศภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือไม่นั้น หลักการการประกาศต้องขอเวลาไปศึกษา เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประกาศ เพื่อให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งทุกวันนี้เราก็ทำงานเป็นทีมและทุกหน่วยงานก็ทำงานอย่างเต็มที่ การประกาศเร็วเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่าง ๆ ด้วย
เมื่อถามถึงการเตรียมแผนรับมือน้ำที่จะไหลมาจากเขื่อนภูมิพล น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า จะทำทุกทาง สิ่งแรกคือเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลทั้ง 2 ทาง ทั้งใช้เครื่องสูบน้ำ เครื่องผันน้ำ และเรือ ขณะเดียวกันก็จะมีบางพื้นที่ที่เราต้องขุดลอกคูคลอง รวมทั้งเร่งป้องกันในพื้นที่ และกำชับผู้ว่าให้ดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ ส่วนพายุลูกใหม่นั้นเรายังไม่ทราบปริมาณที่แน่นอน ต้องขอประเมินก่อน วันนี้เราประเมินถึงช่วงกลางเดือน ต.ค.นี้ก่อน
รอลุ้นพายุอีก 2 ลูก
"น้ำเยอะจริง ๆ วันนี้เราเจอพายุมา 5 ลูกแล้ว จะมาอีก 2 ลูก ถือว่าบางพื้นที่น้ำสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป็นเรื่องที่ลำบากมากที่ว่าน้ำต่าง ๆ ไม่มีทางออก เราจึงอาศัยจังหวะที่ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุนสูง เพื่อเร่งระบายน้ำออก" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
สำหรับพื้นที่ กทม. จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมหรือไม่ นายกฯ ตอบว่า
อธิบดีกรมชลฯ ยืนยันว่ายังปลอดภัยอยู่ ส่วนความคืบหน้าการซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรีนั้นคืบหน้าไปแล้วกว่า 40%
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำจากเขื่อนภูมิพลที่จะปล่อยลงมาจะทำให้วันที่ 13-14 ต.ค.ประมาณน้ำใน จ.นครสวรรค์จะอยู่ที่ 5,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที จากเดิมที่อยู่ระดับ 4,500 ลบ.ม.ต่อวินาที จากนั้นวันที่ 14-15 ต.ค.ปริมาณน้ำจะเริ่มมาถึง จ.ชัยนาท และวันที่ 16-17 ต.ค.จะมาถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
นายธีระ กล่าวต่อว่า หาก ปริมาณน้ำไหลเข้ามามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้ปริมาณน้ำอาจแผ่กระจายในพื้นที่ 3 ส่วน กลุ่มแรกคือสิงห์บุรี ขึ้นไปข้างบนพื้นที่อาจขยายวงน้ำท่วม กลุ่มสองพื้นที่จังหวัดที่น้ำท่วมอยู่แล้วจะดูแลอย่างไร และส่วนพื้นที่ที่สามคือพื้นที่ชายทะเล ส่วนพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิไม่น่ามีปัญหา เพราะโครงการระบายน้ำรอบบริเวณสุวรรณภูมิเสร็จเรียบร้อยแล้ว
"ผม ห่วง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี ที่เป็นปัญหาอยู่ เพราะอยุธยาเป็นจุดรวมของแม่น้ำหลายสาย ซึ่งเมื่อก่อนแม่น้ำลพบุรีไม่มากขนาดนี้ แต่ขณะนี้แม่น้ำลพบุรีมีมากขึ้น ส่วนประตูระบายน้ำบางโฉมศรีคาดว่าจะซ่อมให้เสร็จไม่เกิน 10 วัน แต่หากสถานการณ์ฝนไม่ตกอีกจะเสร็จเร็วขึ้น" นายธีระ กล่าว
สำหรับสถานการณ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยานั้น ปริมาณน้ำยังคงไหลเข้าจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ยอมรับว่า วิกฤติหนัก โดยได้สั่งให้อพยพประชาชนในหลายพื้นที่แล้ว ในขณะที่นิคมอุตสาหกรรมก็ต้องเร่งเสริมแนวป้องกันให้มากที่สุด ส่วนโรงพยาบาลหลายแห่งก็มีการอพยพคนไข้แล้วทั้ง รพ.บางปะหัน, รพ.พระนครศรีอยุธยา และ รพ.ชุมชนต่าง ๆ
ขณะเดียวกัน ปภ.ได้ประกาศยกเลิกการอพยพประชาชนไปยังสนามกีฬาจังหวัด ที่ ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยาแล้ว เนื่องจากน้ำไหลทะลักเข้าท่วมบริเวณรอบนอก และจ่อทะลักเข้าท่วมภายในสนามกีฬา ซึ่งพื้นที่ทั้งจังหวัดถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 80% ขณะเดียวกันน้ำได้เอ่อล้นทะลักเข้าท่วมตลาดน้ำอโยธยา และไหลเข้าท่วมถนนสายเอเชียช่วงบางปะหัน-อ่างทอง ทำให้รถติดยาวเหยียดกว่า 30 กิโลเมตรทั้งขาเข้าและออก จนต้องแนะให้ผู้ที่ต้องสัญจรไปทางเหนือเลี่ยงไปใช้เส้นทางวงแหวนตะวันตกผ่าน สุพรรณบุรีและอ่างทองแทน ในขณะที่เรือนจำกลางจังหวัดก็ต้องอพยพนักโทษเช่นกัน เนื่องจากมีระดับน้ำสูงถึง 1.50-2 เมตร
สภาพการจราจรบนถนนสายเอเชีย
สายเอเชียอัมพาตหนัก
พ.ต.อ.ดิเรก ปลั่งดี ผู้กำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจทางหลวงชี้ว่า ถ.สายเอเชีย ช่วง อ.บางปะหัน เป็นอัมพาตยาวกว่า 10 กิโลเมตร เนื่องจากการจราจรขาออกสามารถใช้ได้เพียง 1 ช่องจราจรเท่านั้น อีกทั้งมีปริมาณรถสะสมตั้งแต่เมื่อช่วงเช้า ส่วนกลับกันขาเข้ากรุงเทพฯ ยังใช้การไม่ได้ เนื่องจากถนนมีน้ำท่วมขังสูง จึงจำเป็นต้องปิดการจราจรเพื่อไม่ให้รถไปสะสมเพิ่ม จึงฝากไปยังประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
บขส.เดินรถไปเหนือแล้ว ใช้สายบางบัวทองแทน
ในขณะที่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) หลังจากได้ประกาศหยุดการเดินรถไปภาคเหนือทุกเส้นทางวานนี้ (6 ตุลาคม) ล่าสุดวันนี้ (7 ตุลาคม) ทาง บขส. ได้เปิดเดินรถโดยสาร เฉพาะ 99 เส้นทาง ไปสู่จังหวัดในภาคเหนือ ตามปกติแล้ว แต่จะไม่ใช้เส้นทางถนนสายเอเชีย เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมสูง โดยจะเลี่ยงไปเดินรถในเส้นทางสายบางบัวทอง-สุพรรณบุรี-อ่างทอง แทน ทั้งนี้เพื่อการอำนวยความสะดวก และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องการเดินทางระยะยาว
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่หมายเลข 1490 เรียก บขส. ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าฯ พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ช่วง วิกฤติน้ำท่วมจริง ๆ ของจังหวัดจะมาถึงในอีก 3-7 วันข้างหน้า เพราะได้รับมวลน้ำหลักมาจากแม่น้ำลพบุรีที่ไหลเข้ามามากที่สุด นอกจากนี้ยังมีมวลน้ำรองที่มาจากแม่น้ำป่าสัก และมีน้ำจากเจ้าพระยาเข้ามาสบทบด้วย คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
ส่วนผลกระทบต่อนิคมอุตสาหกรรมนั้น นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ยอมรับว่า เริ่มได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะกรณีนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเป็นโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่งป้อนให้ค่ายโตโยต้าและ ฮอนด้า ส่วนค่ายรถยนต์อื่นๆ อยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะได้รับผลหรือไม่
นายถาวร ชลัษเฐียร โฆษกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า กระทบต่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ราว 5-6 บริษัท หรือคิดเป็นสัดส่วน 10% ของผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งระบบ และคาดว่าจะกระทบต่อการผลิตชิ้นส่วนและรถยนต์ราว 1 สัปดาห์เท่านั้น เพราะเชื่อว่าโรงงานจะเร่งนำแม่พิมพ์ต่างๆ ไปให้โรงงานอื่นผลิตชิ้นส่วนแทน
ล่า สุด เขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรมโรจนะได้ประกาศให้โรงงาน 198 แห่งปิดโรงงานชั่วคราว 2-3 วัน เพราะเกรงว่าน้ำจะทะลักเข้ามาในนิคมฯ จนทำให้โรงงานได้รับความเสียหายได้ ส่งผลให้ต้องอพยพแรงงานประมาณ 90,000 คนกลับบ้านไปก่อน ส่วนโรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนะ 3 แห่งที่ส่งป้อนให้ค่ายฮอนด้าก็ปิดดำเนินการ 5 วัน ทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ของฮอนด้าหายไป 5,000 คัน
แหล่ง ข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเผยว่า ความรุนแรงของเหตุการณ์น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร การฟื้นฟูทั้งหมดอาจขยายเป็น 5 เดือน จากเดิมประเมินไว้ที่ 3 เดือน และมูลค่าความเสียหายน่าจะมากกว่า 3 หมื่นล้านบาทแน่นอน
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า
เบื้องต้นประเมินความเสียหายอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นความเสียหายทั้งโดยตรงและอ้อม
ส่วนที่สระบุรีนั้น น้ำจากแม่น้ำป่าสักได้เอ่อไหลทะลักเข้าท่วมเขตพื้นที่ อ.ดอนพุด โดยในบางหมู่บ้านสูงถึง 3 เมตรแล้ว ซึ่งผู้ว่าฯ ก็ได้สั่งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินรีบอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ให้มาอาศัยที่ บริเวณอาคารของโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค อ.เฉลิมพระเกียรติ และล่าสุดก็ได้สั่งปิดการจราจรในสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักกลางจังหวัดแล้ว
เขตมีนฯ รับรู้รสน้ำท่วม
ด้านสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า เมื่อ วันที่ 5 ต.ค.ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านพื้นที่ กทม. ทำให้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักเมื่อช่วงค่ำ มีปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ที่เขตมีนบุรี 143 มิลลิเมตร น้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เจ้าหน้าที่ต้องเร่งสูบน้ำให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และคาดว่าวันนี้จะยังคงมีฝนตกเช่นเดิม ส่วนน้ำทะลนั้นโดยรวมถือว่าปกติ ยังสามารถรับมือได้ แต่จากปริมาณน้ำที่สูงขึ้น จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในทุกจุดของพื้นที่
"กทม.ได้ เตรียมการพัฒนาเรื่องน้ำมาตั้งแต่ปี 2526 โดยมีการทำโครงการและพัฒนาศึกษาวิจัยมาโดยตลอด ทำให้ปัจจุบัน กทม. สามารถรับมือสถานการณ์น้ำได้" นายสัญญา ยืนยัน
โดยเหตุการณ์น้ำท่วมที่ กทม.เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมฉบับพลัน โดยเฉพาะหมู่บ้านบัวขาว เขตมีนบุรี กทม. ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากน้ำในคลองที่พาดผ่านหมู่บ้านล้นขึ้นมาบนถนน สูงกว่า 1 เมตร แม้ตลอดทั้งวันจะระบายน้ำลงได้ แต่ปริมาณน้ำก็ยังท่วมขังสูงอยู่
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า ต้อง ดูสถานการณ์ก่อน เพราะน้ำจะลดหรือไม่ขึ้นอยู่กับฝน ถ้าฝนตกก็จะใช้เวลาเป็นเดือน แต่ต้องยอมรับว่าขณะนี้อยู่ในฤดูฝนและมรสุมเข้า ดังนั้นจึงยังไม่มีใครตอบได้ว่าฝนจะหนักขนาดไหน และนานเท่าไหร่
"เห็น ใจคนที่อยู่ด้านนอก และขณะนี้ได้เปิดคันดินต่าง ๆ เพื่อให้น้ำเข้า กทม. จากนั้นจะดึงน้ำออกทางอุโมงค์ ในกรณีที่ด้านใน กทม.ไม่มีฝนตกสามารถดึงน้ำออกได้ 10 ล้าน ลบ.ม.ต่อชั่วโมง และก็จะทำแบบนี้ไปทุกวัน"