กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
คะแนนโอเน็ต ตกทั้งประเทศ! เด็กไอคิวแย่ หรือที่แท้ ระบบห่วย…
เด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า อนาคตของชาติที่จะมาเป็นบุคลากรในการพัฒนาประเทศ ไม่เพียงแต่ไหวพริบปฏิภาณที่ต้องเฉลียวฉลาดแล้ว แต่ระดับภูมิปัญญา ก็เป็นส่วนสำคัญในการมุ่งพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง
4เมษายน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือ สทศ.ได้ประกาศ และรายงานค่าสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ยโอเน็ตของนักเรียน ม.6 จากโรงเรียน ทั่วประเทศ ซึ่งระดับความรู้ เป็นที่น่าตกใจ สำหรับผู้ใหญ่หลายๆคน เมื่อ วิชาคณิตศาสตร์-อังกฤษ เด็กนักเรียนทำได้ไม่ถึงร้อยละ 20 ส่วนวิชาหลักภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ทำได้ไม่ถึงร้อยละ 50
วิชาภาษาไทย มีผู้เข้าสอบ 351,633 คน คะแนนเฉลี่ย 42.61 คะแนน
วิชาสังคมศึกษา มีผู้เข้าสอบ 357,050 คน เฉลี่ย 46.51 คะแนน
วิชาภาษาอังกฤษ มีผู้เข้าสอบ 354,531 คน เฉลี่ย 19.22 คะแนน
วิชาคณิตศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ 356,591 คน เฉลี่ย 14.99 คะแนน
วิชาวิทยาศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ 349,210 คน เฉลี่ย 30.90 คะแนน
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา มีผู้เข้าสอบ 347,462 คน เฉลี่ย 62.86 คะแนน
วิชาศิลปะ มีผู้เข้าสอบ 347,462 คน เฉลี่ย 32.62 คะแนน
และวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีผู้เข้าสอบ 347,462 คน เฉลี่ย 43.69 คะแนน
หากมองตามผลที่รายงานแล้ว แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย เป็นเพราะเด็กนักเรียนอ่านหนังสือน้อย ขยันไม่พอ เรียนไม่เก่ง หรืออย่างไร เหตุใดสติปัญญาเด็กไทยถึงได้ต่ำลง การที่ผู้ออกข้อสอบต้องการให้เกิดการวิเคราะห์ และการออกข้อสอบที่หลากหลาย ไม่ใช่การท่องจำ เป็นตัวชี้วัดสติปัญญาได้จริงหรือไม่ ?
อย่างไรก็ตาม หากมองอีกด้านหนึ่ง เด็กนักเรียนที่ขยันหมั่นเพียร มาหลายปี มุ่งหวังกับการสอบในครั้งนี้ ส่วนใหญ่ต่างก็ต้องช็อคและตกใจยิ่งกว่า เมื่อคะแนนของตนเองต่ำลงอย่างไม่คาดคิด ปัจจัยอย่างหนึ่งหากเมื่อนำมาเทียบกับคะแนนในปีที่ผ่านมา เด็กหลายคนต่างคัดค้านว่า ข้อสอบมีการออกลักษณะที่ต่างจากปีที่ผ่านมา ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้เลย
ขณะที่ผู้ใหญ่ ได้ชี้แจงว่า เพื่อเป็นการวัดความรู้ สติปัญญา ที่แตกต่างออกไปไม่ใช่การท่องจำ แต่เป็นการเน้นเชิงวิเคราะห์ บูรณาการ ทำให้มีรูปแบบของข้อสอบที่หลายหลายมากขึ้น
เมื่อผลออกมาเช่นนี้ ซึ่งก็มีปัญหาให้เห็นมาแทบทุกปี ทำให้เกิดการถกเถียงกันว่า หากจะวัดกันถึงระดับความรู้จริงๆ“ผู้ใหญ่”ควรจะมีมาตรฐานการออกข้อสอบให้เป็นเป็นมาตรฐาน “รูปแบบ” เดียวกันทุกปี ไม่ใช่ว่า วิธีไหนไม่ดีก็ยกเลิกกันไป เพราะหากจะโทษเด็ก ก็เห็นจะเป็นการโยนบาป และดูถูกกันเกินไป
เพราะเด็กเหล่านี้ไม่ใช่หนูทดลอง ที่ยังคงงมหาหาทางออกของระบบแอดมิชชั่น ทว่า หากยังไม่มีทางออก เห็นทีระบบเอ็นทรานซ์ ที่เคยใช้มานาน คงจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้หวนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ให้รู้แล้วรู้รอดไปเสียดีกว่า
โดย Mthai news
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|